วุฒิสภา (สูงวัย) ในไทยกับบทบาทของสภาสูงในโลก : มองบทบาทวุฒิสภาไทยเปรียบเทียบต่างประเทศ

ภายหลังการเลือกตั้งใหญ่เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 พรรคก้าวไกลได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงล้นหลามจนทำให้เกิดคำถามว่า คุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ พรรคก้าวไกลจะได้มีโอกาสเป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่ เพราะด้วยกลไกอันแปลกประหลาดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้เปิดทางให้สมาชิกวุฒิสภาอันทรงเกียรติเข้าไปมีส่วนร่วมในการเลือกนายกรัฐมนตรีได้

การศึกษาความแตกต่างด้านสภาพบังคับของวินัยทางการคลังและวินัยทางงบประมาณและการคลัง

วินัยทางการคลังและวินัยทางงบประมาณและการคลังเป็นมโนทัศน์ในทางการคลังว่าด้วยการควบคุมการดำเนินการทางการคลังของรัฐ แม้โดยถ้อยคำแล้วมโนทัศน์ทั้งสองเหมือนจะเป็นเรื่องเดียวกัน  ทว่า เมื่อพิจารณาลงไปในรายละเอียดจะพบว่า มโนทัศน์ทั้งสองมีความแตกต่างกันในเชิงความหมาย วัตถุประสงค์ ขอบเขตการบังคับใช้ และสภาพบังคับทางกฎหมาย ซึ่งทำให้เป้าหมายในการนำมโนทัศน์ทั้งมาใช้แตกต่างกันโดยประเทศไทยได้รับเอามโนทัศน์ทั้งสองเรื่องมาบัญญัติไว้เป็นกฎเกณฑ์ของกฎหมายการคลัง  ทว่า ภายใต้มาตรา 62 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้กำหนดให้รัฐต้องรักษาวินัยทางการคลังตามกฎหมายวินัยการเงินการคลังของรัฐคือ พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561  นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีอำนาจสั่งลงโทษทางปกครองเมื่อมีการฝ่าฝืนวินัยการเงินการคลังของรัฐ โดยสภาพบังคับดังกล่าวนั้นปรากฏในบทบัญญัติมาตรา 240 วรรคหนึ่ง (5) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และมาตรา 80 ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ผลของการบัญญัติหลักการดังกล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เป็นการนำมโนทัศน์ทั้งสองเรื่องที่แตกต่างกันมากำหนดไว้ในกฎหมายฉบับเดียวกัน ทำให้เกิดปัญหาว่า การกำหนดสภาพบังคับในลักษณะดังกล่าวนั้นอาจจะไม่เหมาะสมและสอดคล้องกับมโนทัศน์ทั้งสองเรื่อง และนำมาซึ่งปัญหาในการบังคับใช้มโนทัศน์ทั้งสองเรื่อง

วิทยานิพนธ์ เรื่อง สภาพบังคับของกฎหมายวินัยทางการคลังของไทย

ในทางเศรษฐศาสตร์และทางการเมืองจะอธิบายว่า “วินัยทางการคลัง” (fiscal discipline) คือ พฤติกรรมของรัฐบาลที่มีการดำเนินนโยบายทางการคลังโดยรักษาดุลยภาพระหว่างรายได้และรายจ่าย และไม่ก่อหนี้สาธารณะโดยไม่จำเป็นเกินความสามารถ นัยดังกล่าวสะท้อนภาพของวินัยทางการคลังในอดีต  อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันขอบเขตของวินัยทางการคลังได้ขยายออกไปสู่การพิจารณาภาพของการใช้จ่ายงบประมาณระยะยาว และการใช้กลไกต่าง ๆ เพื่อรักษาเสถียรภาพและความยั่งยืนทางการคลังตามวัฏจักรเศรษฐกิจ  ดังนั้น “วินัยทางการคลัง” ในปัจจุบันเป็นหลักการกำหนดแนวทางการบริหารการคลัง เพื่อรักษาดุลยภาพระหว่างรายได้และรายจ่ายของรัฐบาล และควบคุมการก่อหนี้สาธารณะให้อยู่ในระดับเหมาะสมกับขีดความสามารถของรัฐบาล โดยไม่ก่อให้เกิดภาระทางการคลังในอนาคต รวมถึงการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมายการคลังต่าง ๆ โดยการกำหนดกรอบวินัยทางการคลังสามารถทำได้ในหลายลักษณะ ซึ่งวิธีการหนึ่งก็คือ การใช้กฎหมายวินัยทางการคลัง (fiscal discipline law) หรือกฎหมายว่าด้วยความรับผิดชอบทางการคลัง (fiscal responsibility law) ซึ่งเป็นกลไกในเชิงสถาบันที่กำหนดกรอบกฎหมายเกี่ยวกับข้อบังคับ กระบวนการ หรือข้อตกลงระหว่างสถาบันที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางการคลังและงบประมาณ เพื่อยกระดับผลการดำเนินนโยบายทางการคลัง ความโปร่งใสทางการคลัง และความรับผิดชอบทางการคลังตามกลไกที่กฎหมายกำหนดไว้

Fixing fiscal laws to have fair elections

As election campaigns are heating up, political parties are fiercely competing to win votes by offering generous cash handouts, raising concerns about their impacts on the country’s fiscal discipline for the incoming administration. It is a legitimate concern. Yet the focus on the post-election financial burden should not overshadow the outgoing administration’s last-minute budget spending for political gains, which also endangers fiscal discipline.

นักวิจัยด้านกฎหมายคืออะไร

เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมามีโอกาสได้ให้สัมภาษณ์กับ เพจ สวัสดีนี่อาจารย์ “แป้ง” เอง-It’s me “Pang” ซึ่งเป็นเพจที่ให้ข้อมูลและแนะนำเกี่ยวกับการศึกษานิติศาสตร์ โดยในบทสัมภาษณ์นี้เจ้า อ.แป้ง เจ้าของเพจอยากให้ช่วยแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับการทำงานในอาชีพนักวิจัย เนื่องจากเป็นอาชีพที่นักกฎหมายส่วนใหญ่อาจจะยังไม่ค่อยรู้จัก และไม่แน่ใจว่าอาชีพนี้เป็นอย่างไร แตกต่างกับการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยอย่างไร และเส้นทางของอาชีพนี้เป็นอย่างไร

โครงการศึกษาวิเคราะห์ทบทวนกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับและกระบวนงานที่เกี่ยวกับการอนุญาต เพื่อลดขั้นตอนการดำเนินการและการอนุญาตที่ไม่จำเป็นหรือเป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพและการดำเนินธุรกิจของประชาชน

การศึกษาวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาแนวทางในการปรับปรุงหรือยกเลิกกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพและการดำเนินธุรกิจของประชาชน อันเป็นการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย เป้าหมายหรือผลอันพึงประสงค์ที่ 2

การศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

งานวิจัยฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาแนวทางการรับรองสิทธิในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน โดยเฉพาะในประเด็นเกี่ยวกับการจัดการที่ดิน ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาประเทศไทยประสบปัญหาการจัดการสิทธิในทรัพยากรที่ดิน ซึ่งเกิดมาจากระบบที่ดินที่มีความหลากหลาย และมีกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องหลายฉบับ โดยปราศจากแนวทางการจัดการที่ดินอย่างเป็นระบบ

การปรับเปลี่ยนนโยบายทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย

ในปัจจุบันธุรกิจการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถูกจำกัดไว้กับผู้ประกอบกิจการรายใหญ่ สภาพดังกล่าวเกิดจากกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมารัฐให้ความสำคัญกับการควบคุมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยมีปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ ในฐานะแหล่งรายได้ทางภาษี และในฐานะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยเหตุผลที่สองนั้นเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้รัฐเข้ามาควบคุมในเรื่องคุณภาพการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  อย่างไรก็ตาม วิธีการควบคุมเดิมที่รัฐใช้เพื่อควบคุมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กลับกลายมาเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้อุตสาหกรรมดังกล่าวจำกัดอยู่เฉพาะผู้ผลิตรายใหญ่เพียงไม่กี่ราย ในขณะที่ผู้ประกอบกิจการรายย่อยไม่สามารถเข้าสู่ตลาดการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเมื่อเปรียบเทียบนโยบายทางกฎหมายของประเทศไทยกับประเทศในภูมิภาคอาเซียนอย่างเช่นสิงคโปร์และเวียดนามแล้วจะเห็นได้ว่านโยบายทางกฎหมายของต่างประเทศนั้นมีการผ่อนคลายและให้ความสำคัญกับการควบคุมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเชิงของการควบคุมคุณภาพการผลิตมากกว่าการขอใบอนุญาต ปัญหาดังกล่าวจึงนำมาสู่การเสนอให้มีการทบทวนนโยบายเกี่ยวกับการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยเสียใหม่ โดยอาจกำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้ได้รับใบอนุญาตให้มีความเหมาะสมและไม่สร้างอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดของผู้ประกอบธุรกิจรายใหม่ ซึ่งรวมถึงผู้ประกอบธุรกิจจากต่างประเทศ