ความรุนแรงต่อสตรีต้องยุติด้วยการแก้ไขวัฒนธรรม

ปัญหาเชิงโครงสร้างสำคัญหนึ่งของไทยที่ยังคงผลิตซ้ำความรุนแรงต่อผู้หญิง คือ สื่อบันเทิงไทย บทความนี้ต้องการนำเสนอปัญหาเกี่ยวกับการผลิตซ้ำความรุนแรงต่อผู้หญิง การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม และรัฐบาลที่พยายามผลักดันวัฒนธรรมเหล่านี้

แม่ เมีย และผู้หญิง : การเมืองไทยใน “มาลัยสามชาย”

นวนิยายเรื่อง “มาลัยสามชาย” ใช้ตัวละครผู้หญิงเป็นเครื่องมือเพื่อสะท้อนมิติทางการเมืองที่ซ่อนอยู่ในความเป็นไทย โดยตัวละครผู้หญิงเอง ก็ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองในการกำหนดตัวตนความเป็นไทยในช่วงเปลี่ยนผ่าน นวนิยายเรื่องนี้จึงไม่เพียงกล่าวถึงความรัก แต่ยังสะท้อนมิติทางการเมืองอย่างแยบยลผ่านตัวตนของตัวละครผู้หญิง

การเสริมสร้างกรอบการกำกับดูแลสำหรับเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย

กฎระเบียบของเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยมีการกระจายการกำกับดูแลระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งนำไปสู่ปัญหาการร่วมมือในการกำกับดูแลเศรษฐกิจดิจิทัลที่โจทย์ความท้าทายเปลี่ยนไป ในบทความนี้ เขมภัทร ทฤษฎิคุณ นักวิจัยอาวุโสและวิชญาดา อำพนกิจวิวัฒน์ นักวิจัยจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้สำรวจภาพรวมด้านกฎระเบียบในปัจจุบัน ช่องว่าง และเสนอแนวทางแก้ไขเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับดูแล

การขยายอำนาจรัฐสยามในอาณาบริเวณล้านนา: กรณีศึกษาการบังคับใช้กฎหมายการปกครองคณะสงฆ์

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับล้านนาในแง่นี้จึงเป็นการศึกษาการปะทะกันของกฎเกณฑ์เดิมกับกฎเกณฑ์ใหม่ภายใต้บริบทของสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งรวมไปถึงการยอมรับกฎเกณฑ์ดังกล่าวเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและวัฒนธรรม ​ อย่างไรก็ดี กฎหมายเป็นปรากฏการณ์หนึ่งในสังคมที่ลำพังแล้ว การประกาศใช้กฎหมายย่อมไม่มีผลเป็นการทำให้สังคมหนึ่งยอมรับกฎหมายนั้นเข้ามาเป็นกฎเกณฑ์ในสังคม กระบวนการยอมรับดังกล่าวจึงต้องมีปัจจัยอื่นๆ มาประกอบกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากการบังคับใช้กฎหมายเป็นเรื่องความสัมพันธ์ทางอำนาจ ปัจจัยดังกล่าวต้องสะท้อนให้เห็นความเหนือกว่าของรัฐสยามในการบังคับใช้กฎหมายเหนือล้านนา

Overcrowded prisons need reforming

Extreme overcrowding in Thai prisons forces inmates to endure deplorable conditions, stripping away their dignity and humanity. It’s a humanitarian crisis that demands immediate action.

Due to terribly cramped spaces, inmates barely have room to sleep. They also suffer poor sanity from insufficient toilets and bathing facilities, in addition to poor-quality food and substandard healthcare.

It’s crucial to reduce the unnecessary number of inmates in order to alleviate overcrowding strains and enhance inmates’ quality of life.

Statistics from the past 10 years of the Department of Corrections show that there were an average of 310,000 new inmates per year nationwide, with figures peaking at 350,000 to 360,000 between 2018 and 2020. The inmate population exceeds capacity by at least 40,000 to 50,000 people.

According to the International Federation for Human Rights, Thai prisons have a population more than double the intended capacity, based on a standard of providing 2.25m² of surface area per prisoner. Thailand also has the 6th highest prison population in the world and the highest prison population in Asean.

ความท้าทายเกี่ยวกับนโยบายทางกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2566 ที่ผ่านมาได้มีโอกาสไปร่วมงานเสวนาออนไลน์ที่จัดโดยสำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยงานเสวนานี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการพูดถึงนโยบายทางกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ควรจะเป็นไปในทิศทางใดในอนาคต ซึ่งในงานเสวนาครั้งนี้มีวิทยากรประกอบไปด้วย

บทเรียน หุ้น STARK สู่การเพิ่มคุณภาพระบบควบคุมการสอบบัญชี

4.3 หมื่นล้านบาทเป็นตัวเลขความเสียหายรวมจากกรณีหุ้น STARK ความเสียหายครั้งนี้ นับเป็นการเขย่าตลาดทุนอย่างรุนแรง มูลค่าความเสียหายมากกว่าครึ่ง หรือราว 2.5 หมื่นล้านบาท เกิดจากการ “ตกแต่งบัญชี” ซึ่งมีทั้งสร้างยอดขายปลอม และการทำธุรกรรมอำพราง

ปัญหาดังกล่าวตอกย้ำว่า บทบาทของการสอบบัญชีในตลาดหลักทรัพย์มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในฐานะผู้จัดทำรายงานทางการเงินที่บ่งบอกผลการดำเนินกิจการว่าเป็นอย่างไร ซึ่งจะส่งสัญญาณให้กับนักลงทุนในการเลือกลงทุนในกิจการนั้นๆ แต่ถ้าผู้สอบบัญชีไม่ได้แสดงความเห็นต่อรายงานทางการเงินตามมาตรฐาน หรือจริยธรรมการสอบบัญชีแล้ว ผลกระทบที่เกิดขึ้นตามมาคือ รายงานทางการเงินที่ไม่สะท้อนสภาพที่แท้จริงของกิจการ ซึ่งจะส่งผลกระทบให้นักลงทุนได้รับความเสียหายจากการลงทุนในกิจการที่มีปัญหา

แนวทางการปรับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกับกิจกรรมของรัฐที่ได้รับการยกเว้น

สิทธิความเป็นส่วนตัวได้มีการรับรองไว้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 32 โดยกำหนดหน้าที่ผูกพันให้รัฐต้องคุ้มครองรักษาสิทธิความเป็นส่วนตัวของประชาชน ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นส่วนตัวเป็นเหตุให้ในเวลาต่อมารัฐบาลจึงตราพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ขึ้นมา พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มีสถานะเป็นกฎหมายทั่วไปในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโดยกำหนดหลักการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทั้งในหน่วยงานของรัฐและเอกชนและไม่จำกัดว่า ข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวจะอยู่ในรูปแบบกระดาษหรือเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ดี พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ยกเว้นไม่นำมาใช้บังคับกับกิจกรรมที่มีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลบางประเภท ซึ่งรวมถึงกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของหน่วยงานของรัฐในเรื่องการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ และการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลและการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาคดี การบังคับคดี และการวางทรัพย์ รวมทั้งการดำเนินงานตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญาตามมาตรา 4 (2) และ (5) โดยพระราชบัญญัติเพียงแต่กำหนดว่า หน่วยงานของรัฐจะต้องกำหนดมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับกิจกรรมที่ได้รับการยกเว้น ซึ่งอาจไม่เพียงพอต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล บทความนี้ต้องการศึกษาแนวทางการปรับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กับกิจกรรมของรัฐที่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย และศึกษาแนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นต้นแบบในการยกร่างพระราชบัญญัติของไทยเพื่อนำแนวทางดังกล่าวมาเสนอแนะให้กับหน่วยงานของรัฐไทยใช้เป็นกรอบในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในกิจกรรมที่ได้รับยกเว้น

ทุน นิยาม : การใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการแก้ไขคอร์รัปชันเพียงพอหรือไม่

เรามีวิธีการแก้ไขคอร์รัปชันด้วยการเพิ่มโทษให้รุนแรงหรือไม่? เป็นคำถามที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเสมอเมื่อมีข่าวเกี่ยวกับการคอร์รัปชันปรากฏที่หน้าสื่อต่างๆ คำถามข้างต้นฟังแล้วน่าจะเป็นวิธีการหนึ่งที่ดี เพราะการเพิ่มโทษน่าจะสร้างความยำเกรงและทำให้คนไม่กล้าที่จะคอร์รัปชัน ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งที่สังคมต้องการ แต่ในความเป็นจริงเรื่องนี้ไม่ได้ง่ายดายขนาดนั้น