บทความนี้ดัดแปลงมาจากบทความชื่อเดียวกันที่เคยเผยแพร่ในเว็บไซต์ www2.fpo.go.th
“แชร์ลูกโซ่” เป็นการก่ออาชญากรรมทางเศรษฐกิจรูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นมากในประเทศไทย จากการเก็บสถิติการร้องเรียนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 – 2560 (กรกฎาคม) พบว่า มีเรื่องร้องเรียนมากกว่า 1,290 เรื่อง และมีจำนวนผู้เสียหายมากกว่า 38,000 คน รวมมูลค่าความเสียหายราวๆ 390,000,000,000 บาท (สามแสนเก้าหมื่นล้านบาท)[1] สร้างผลกระทบในทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก โดยสาเหตุของการเกิดอาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นแชร์ลูกโซ่นั้นมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน ซึ่งในบทความนี้จะนําเสนอการตัดสินใจของอาชญากรในการก่ออาชญากรรมที่เป็นแชร์ลูกโซ่ ผ่านแนวคิดแบบนิติเศรษฐศาสตร์ (Economic Analysis of law) ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ศึกษาประเด็นสำคัญทางกฎหมายต่างๆ ทฤษฎี การตีความกฎหมาย และผลกระทบของกฎหมายต่อพฤติกรรมของตัวละครที่เกี่ยวข้องและสังคม โดยใช้ระเบียบวิธีทางเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก (นีโอคลาสสิก) มาเป็นเครื่องมือวิเคราะห์
“แชร์ลูกโซ่” คืออะไร
“แชร์ลูกโซ่” หมายถึง ธุรกิจที่มีลักษณะเป็นการเชื้อเชิญให้คนเอาเงินมาลงทุน โดยอ้างว่า จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนกลับไปในอัตราที่สูงเกินกว่าความเป็นจริง แต่ตัวธุรกิจนั้น ไม่มีการประกอบกิจการที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยตัวของธุรกิจเอง ผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนนั้นมาจากการชักชวนสมาชิกคนใหม่ให้เข้ามาลงทุน เพื่อนำเงินลงทุนจากสมาชิกรายใหม่ มาหมุนเวียนจ่ายให้สมาชิกรายก่อน ๆ
ซึ่งการชักชวนให้ประชาชนมาร่วมลงทุนในธุรกิจแชร์ลูกโซ่นั้นเป็น “อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ” รูปแบบหนึ่ง โดยอาชญากรรมที่เป็นแชร์ลูกโซ่เริ่มเป็นที่รู้จักในประเทศไทยในคดีแชร์ชม้อย ซึ่งได้ระดมเงินจากประชาชนในรูปแบบการเล่นแชร์น้ำมัน เพื่อปราบปรามการกระทำความผิดดังกล่าวรัฐบาลต้องออกพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกง ประชาชน พ.ศ. 2527 กำหนดให้ผู้กระทำจะต้องรับผิดในคดีอาญาโดยถูกฟ้องร้องดำเนินคดีอาญาและเป็นคดีแพ่ง โดยการถูกฟ้องล้มละลายเพื่อนำเงินที่ได้จากการฟ้องล้มละลายมาใช้คืนให้กับผู้เสียหาย ปัจจุบันผ่านมากว่า 30 ปีแล้ว นับตั้งแต่ คดีแชร์ชม้อยถูกฟ้องเป็นคดีอาญาอาชญากรรมที่เป็นแชร์ลูกโซ่ ได้มีพัฒนารูปแบบการฉ้อโกงที่หลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น เพื่อนำมาใช้หลอกลวงประชาชน
ภาพโมเดลแชร์ลูกโซ่
การตัดสินใจก่ออาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นแชร์ลูกโซ่
นิติเศรษฐศาสตร์ได้อธิบายปัญหาการก่ออาชญากรรมโดยมุ่งเน้นไปที่การตัดสินใจของอาชญากรที่กระทำไปโดยอาศัยการเลือกอย่างมีเหตุมีผล บนข้อสมมติว่า มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเหตุผล และการตัดสินใจของมนุษย์เป็นโดยอาศัยและคำนึงเหตุผลต่างๆ มาประกอบกัน ซึ่งบนฐานคิดเช่นนี้ในทางนิติเศรษฐศาสตร์จึงอธิบายการตัดสินใจกระทำความผิดของอาชญากรมีปัจจัย 2 ประการ คือ ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ และต้นทุนที่คาดคะเนของการก่ออาชญากรรม ซึ่งอาชญากรจะชั่งน้ำหนักและถ่วงดุลระหว่างปัจจัยดังกล่าวภายในใจเสมอทุกครั้งที่จะมีการตัดสินใจ
- ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ คือ ผลสำเร็จของการก่ออาชญากรรม ซึ่งหมายถึงการได้ทรัพย์สินจากการฉ้อโกงเนื่องมาจากการก่ออาชญากรรมแชร์ลูกโซ่
- ต้นทุนที่คาดคะเนของการก่ออาชญากรรม คือ สิ่งที่อาชญากรต้องเสียไปในการก่ออาชญากรรม ซึ่งมีหลายปัจจัยภายใน ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการกระทำความผิด[2] บทลงโทษของกฎหมาย[3] ต้นทุนค่าเสียโอกาส[4] และการเพิ่มโอกาสหรือความน่าจะเป็นในการถูกจับกุมมาดำเนินคดี
ดังนั้น หากอาชญากรทบทวนแล้วเห็นว่า ผลประโยชน์ที่ได้รับน้อยกว่าต้นทุนที่เสียไป อาชญากรอาจตัดสินใจไม่กระทำความผิด แต่ถ้าอาชญากรเห็นว่าประโยชน์ที่ได้รับมากกว่าต้นทุนที่เสียไป อาชญากรอาจตัดสินใจกระทำความผิด ซึ่งการนำวิธีคิดในทางนิติเศรษฐศาสตร์มาใช้นี้มีส่วนช่วยในการปรับเพิ่มต้นทุนหรือลดทอนผลประโยชน์ที่อาชญากรเห็นว่าตนจะได้รับจากการก่ออาชญากรรมได้ เช่น การกำหนดโทษให้หนักขึ้นก็เป็นเครื่องมือในการป้องปรามการกระทำความผิดรูปแบบหนึ่ง หรือการเพิ่มต้นทุนค่าเสียโอกาสให้กับอาชญากร โดยเพิ่มมูลค่าทางเลือกอื่นๆ ซึ่งจะส่งผลต่อการตัดสินใจของอาชญากร หรือการเพิ่มโอกาสหรือความน่าจะเป็นในการถูกจับกุมของอาชญากรมาดำเนินคดี โดยการมีหน่วยงานเฉพาะที่มีจำนวนพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เหมาะสมและมีความเชี่ยวชาญ เป็นต้น ซึ่งหากต้นทุนการก่ออาชญากรรมสูงเกินกว่าประโยชน์ที่จะได้รับ ย่อมส่งผลต่อการตัดสินใจในการก่ออาชญากรรม
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยหนึ่งที่เป็นตัวแปรต่อการตัดสินใจนั้นคือ การเพิ่มโอกาสหรือความน่าจะเป็นในการถูกจับกุมมาดำเนินคดีนั้น ในปัจจุบันอาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นแชร์ลูกโซ่นั้นได้มีการสร้างรูปแบบของแชร์ลูกโซ่ให้มีความสลับซับซ้อนมากขึ้นและสร้างความยากลำบากให้กับภาครัฐในการสืบสวนและสอบสวน ทำให้ความเป็นไปได้ที่จะถูกจับลดลง โอกาสที่อาชญากรจะตัดสินใจกระทำความผิดจึงเพิ่มขึ้น ปัญหาและความท้าทายของภาครัฐในทางปฏิบัติก็คือ รัฐจะวิ่งไล่ตามการกระทำความผิดในลักษณะนี้ได้ทันท่วงทีหรือไม่
เชิงอรรถ
[1] “ตายทั้งเป็น! สถิติร้องเรียน “แชร์ลูกโซ่” ปี 2557 – ปัจจุบัน กว่า 1,200 คดีความ เหยื่อกว่า 3.8 หมื่นคน รวมเงินสูญเสีย 3.9 แสนล้าน”, เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2563, จาก www.thepowernetworknews.com/2020/07/20/แชร์ลูกโซ่-2/.
[2] ค่าใช้จ่ายในการกระทำความผิด ซึ่งอาชญากรรมที่เป็นแชร์ลูกโซ่มีต้นทุนในส่วนนี้ เช่น ค่าดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจขายตรงเพื่ออำพรางธุรกิจแชร์ลูกโซ่ เป็นต้น.
[3] บทลงโทษของกฎหมาย ได้แก่ ค่าปรับ และอัตราโทษจำคุก.
[4] ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) ซึ่งเกิดจากการเตรียมการหรือการก่ออาชญากรรมหรือการถูกจำคุก เนื่องจากทุกๆ การตัดสินใจเลือกย่อมจะเกิดต้นทุนค่าเสียโอกาสขึ้นมา การตัดสินใจก่ออาชญากรรมก็เช่นเดียวกัน.
บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง
อาชญากรรมที่เป็นแชร์ลูกโซ่มองผ่านแนวคิดแบบนิติเศรษฐศาสตร์
บทความนี้ดัดแปลงมาจากบทความชื่อเดียวกันที่เคยเผยแพร่ในเว็บไซต์ www2.fpo.go.th
“แชร์ลูกโซ่” เป็นการก่ออาชญากรรมทางเศรษฐกิจรูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นมากในประเทศไทย จากการเก็บสถิติการร้องเรียนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 – 2560 (กรกฎาคม) พบว่า มีเรื่องร้องเรียนมากกว่า 1,290 เรื่อง และมีจำนวนผู้เสียหายมากกว่า 38,000 คน รวมมูลค่าความเสียหายราวๆ 390,000,000,000 บาท (สามแสนเก้าหมื่นล้านบาท)[1] สร้างผลกระทบในทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก โดยสาเหตุของการเกิดอาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นแชร์ลูกโซ่นั้นมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน ซึ่งในบทความนี้จะนําเสนอการตัดสินใจของอาชญากรในการก่ออาชญากรรมที่เป็นแชร์ลูกโซ่ ผ่านแนวคิดแบบนิติเศรษฐศาสตร์ (Economic Analysis of law) ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ศึกษาประเด็นสำคัญทางกฎหมายต่างๆ ทฤษฎี การตีความกฎหมาย และผลกระทบของกฎหมายต่อพฤติกรรมของตัวละครที่เกี่ยวข้องและสังคม โดยใช้ระเบียบวิธีทางเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก (นีโอคลาสสิก) มาเป็นเครื่องมือวิเคราะห์
“แชร์ลูกโซ่” คืออะไร
“แชร์ลูกโซ่” หมายถึง ธุรกิจที่มีลักษณะเป็นการเชื้อเชิญให้คนเอาเงินมาลงทุน โดยอ้างว่า จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนกลับไปในอัตราที่สูงเกินกว่าความเป็นจริง แต่ตัวธุรกิจนั้น ไม่มีการประกอบกิจการที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยตัวของธุรกิจเอง ผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนนั้นมาจากการชักชวนสมาชิกคนใหม่ให้เข้ามาลงทุน เพื่อนำเงินลงทุนจากสมาชิกรายใหม่ มาหมุนเวียนจ่ายให้สมาชิกรายก่อน ๆ
ซึ่งการชักชวนให้ประชาชนมาร่วมลงทุนในธุรกิจแชร์ลูกโซ่นั้นเป็น “อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ” รูปแบบหนึ่ง โดยอาชญากรรมที่เป็นแชร์ลูกโซ่เริ่มเป็นที่รู้จักในประเทศไทยในคดีแชร์ชม้อย ซึ่งได้ระดมเงินจากประชาชนในรูปแบบการเล่นแชร์น้ำมัน เพื่อปราบปรามการกระทำความผิดดังกล่าวรัฐบาลต้องออกพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกง ประชาชน พ.ศ. 2527 กำหนดให้ผู้กระทำจะต้องรับผิดในคดีอาญาโดยถูกฟ้องร้องดำเนินคดีอาญาและเป็นคดีแพ่ง โดยการถูกฟ้องล้มละลายเพื่อนำเงินที่ได้จากการฟ้องล้มละลายมาใช้คืนให้กับผู้เสียหาย ปัจจุบันผ่านมากว่า 30 ปีแล้ว นับตั้งแต่ คดีแชร์ชม้อยถูกฟ้องเป็นคดีอาญาอาชญากรรมที่เป็นแชร์ลูกโซ่ ได้มีพัฒนารูปแบบการฉ้อโกงที่หลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น เพื่อนำมาใช้หลอกลวงประชาชน
การตัดสินใจก่ออาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นแชร์ลูกโซ่
นิติเศรษฐศาสตร์ได้อธิบายปัญหาการก่ออาชญากรรมโดยมุ่งเน้นไปที่การตัดสินใจของอาชญากรที่กระทำไปโดยอาศัยการเลือกอย่างมีเหตุมีผล บนข้อสมมติว่า มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเหตุผล และการตัดสินใจของมนุษย์เป็นโดยอาศัยและคำนึงเหตุผลต่างๆ มาประกอบกัน ซึ่งบนฐานคิดเช่นนี้ในทางนิติเศรษฐศาสตร์จึงอธิบายการตัดสินใจกระทำความผิดของอาชญากรมีปัจจัย 2 ประการ คือ ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ และต้นทุนที่คาดคะเนของการก่ออาชญากรรม ซึ่งอาชญากรจะชั่งน้ำหนักและถ่วงดุลระหว่างปัจจัยดังกล่าวภายในใจเสมอทุกครั้งที่จะมีการตัดสินใจ
ดังนั้น หากอาชญากรทบทวนแล้วเห็นว่า ผลประโยชน์ที่ได้รับน้อยกว่าต้นทุนที่เสียไป อาชญากรอาจตัดสินใจไม่กระทำความผิด แต่ถ้าอาชญากรเห็นว่าประโยชน์ที่ได้รับมากกว่าต้นทุนที่เสียไป อาชญากรอาจตัดสินใจกระทำความผิด ซึ่งการนำวิธีคิดในทางนิติเศรษฐศาสตร์มาใช้นี้มีส่วนช่วยในการปรับเพิ่มต้นทุนหรือลดทอนผลประโยชน์ที่อาชญากรเห็นว่าตนจะได้รับจากการก่ออาชญากรรมได้ เช่น การกำหนดโทษให้หนักขึ้นก็เป็นเครื่องมือในการป้องปรามการกระทำความผิดรูปแบบหนึ่ง หรือการเพิ่มต้นทุนค่าเสียโอกาสให้กับอาชญากร โดยเพิ่มมูลค่าทางเลือกอื่นๆ ซึ่งจะส่งผลต่อการตัดสินใจของอาชญากร หรือการเพิ่มโอกาสหรือความน่าจะเป็นในการถูกจับกุมของอาชญากรมาดำเนินคดี โดยการมีหน่วยงานเฉพาะที่มีจำนวนพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เหมาะสมและมีความเชี่ยวชาญ เป็นต้น ซึ่งหากต้นทุนการก่ออาชญากรรมสูงเกินกว่าประโยชน์ที่จะได้รับ ย่อมส่งผลต่อการตัดสินใจในการก่ออาชญากรรม
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยหนึ่งที่เป็นตัวแปรต่อการตัดสินใจนั้นคือ การเพิ่มโอกาสหรือความน่าจะเป็นในการถูกจับกุมมาดำเนินคดีนั้น ในปัจจุบันอาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นแชร์ลูกโซ่นั้นได้มีการสร้างรูปแบบของแชร์ลูกโซ่ให้มีความสลับซับซ้อนมากขึ้นและสร้างความยากลำบากให้กับภาครัฐในการสืบสวนและสอบสวน ทำให้ความเป็นไปได้ที่จะถูกจับลดลง โอกาสที่อาชญากรจะตัดสินใจกระทำความผิดจึงเพิ่มขึ้น ปัญหาและความท้าทายของภาครัฐในทางปฏิบัติก็คือ รัฐจะวิ่งไล่ตามการกระทำความผิดในลักษณะนี้ได้ทันท่วงทีหรือไม่
เชิงอรรถ
[1] “ตายทั้งเป็น! สถิติร้องเรียน “แชร์ลูกโซ่” ปี 2557 – ปัจจุบัน กว่า 1,200 คดีความ เหยื่อกว่า 3.8 หมื่นคน รวมเงินสูญเสีย 3.9 แสนล้าน”, เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2563, จาก www.thepowernetworknews.com/2020/07/20/แชร์ลูกโซ่-2/.
[2] ค่าใช้จ่ายในการกระทำความผิด ซึ่งอาชญากรรมที่เป็นแชร์ลูกโซ่มีต้นทุนในส่วนนี้ เช่น ค่าดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจขายตรงเพื่ออำพรางธุรกิจแชร์ลูกโซ่ เป็นต้น.
[3] บทลงโทษของกฎหมาย ได้แก่ ค่าปรับ และอัตราโทษจำคุก.
[4] ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) ซึ่งเกิดจากการเตรียมการหรือการก่ออาชญากรรมหรือการถูกจำคุก เนื่องจากทุกๆ การตัดสินใจเลือกย่อมจะเกิดต้นทุนค่าเสียโอกาสขึ้นมา การตัดสินใจก่ออาชญากรรมก็เช่นเดียวกัน.
บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง