ภาพประกอบบทความ จาก elegantthemes.com
Highlights:
- ลักษณะการประกอบกิจการที่เน้นการพัฒนานวัตกรรม ซึ่งมีความเสี่ยงทำให้เอกชนไม่สามารถขอกู้ยืมเงินจากธนาคารได้เพียงพอ
- หุ้นกู้จึงเป็นวิถีทางหนึ่งในการระดมทุนเพื่อใช้ในการพัฒนานวัตกรรม
- ในปัจจุบันประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นห้ามมิให้บริษัทจำกัดออกหุ้นกู้
- ปัจจุบันมีความพยายามแก้ไขกฎหมายอยู่บ้าง แต่ยังไม่มีความคืบหน้าในปัจจุบัน
เมื่อข้อเท็จจริงในการตรากฎหมายเปลี่ยนไป กฎหมายกฎหมายก็ควรจะต้องมีการแก้ไข สภาพดังกล่าวคือความเป็นจริงที่นักกฎหมายทุกคนควรตระหนัก กฎหมายไม่ใช่สิ่งที่สมบูรณ์และไม่แปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ในปัจจุบันการประกอบธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
การประกอบธุรกิจในปัจจุบันนั้นเน้นการพัฒนานวัตกรรมหรือที่เราเรียกว่า “กลุ่มวิสาหกิจเริ่มต้น” (Startup) ซึ่งในการเริ่มต้นประกอบธุรกิจนั้นมีความเสี่ยงที่นวัตกรรมนั้นจะไม่ประสบความสำเร็จ ทำให้ในการประกอบธุรกิจนั้นโดยลำพังไม่สามารถอาศัยเงินทุนจากธนาคารได้ เพราะธนาคารก็ไม่สามารถมั่นใจได้ว่าจะปล่อยกู้ให้ได้ตามความต้องการหรือไม่ เนื่องจากธนาคารก็ไม่สามารถแน่ใจได้ว่าการพัฒนานวัตกรรมจะสำเร็จหรือไม่ ดังนั้น อีกวิธีการหนึ่งที่เอกชนสามารถนำมาใช้เพื่อระดมเงินจึงต้องกระทำผ่านการเสนอขายหุ้นกู้ แต่อย่างไรก็ตามอุปสรรคสำคัญที่ทำให้บริษัทจำกัดไม่สามารถระดมทุนโดยอาศัยหุ้นกู้ได้นั้นก็คือ “กฎหมาย”
ความเป็นมาของการห้ามบริษัทจำกัดออกหุ้นกู้
ประมวลแพ่งและพาณิชย์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้ผ่านการแก้ไขมาแล้วหลายครั้ง ซึ่งรวมถึงบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับหุ้นส่วนและบริษัทในบรรพ 3 ลักษณะ 22 ที่ได้มีการแก้ไขครั้งใหญ่เมื่อคราวที่พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2521 ประกาศใช้ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาสาระในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หลายส่วนด้วยกัน อาทิ บทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่มีลักษณะเป็นการทั่วไปแก่ประชาชน (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ใช้คำว่า “ชี้ชวนประชาชนให้ซื้อหุ้น”) และการเสนอขายหุ้นกู้ ซึ่งในการเสนอขายหุ้นนั้นมีลักษณะพิเศษกว่าการเสนอขายหุ้นทั่วไป เพราะมีกระบวนการเพื่อป้องกันมิให้ประชาชนถูกหลอกลวง ดังนั้น เมื่อ พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2521 ประกาศใช้จึงมีการยกเลิกบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บางส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเสนอขายหุ้นกู้
ผลของการห้ามมิให้ขายหุ้นกู้แก่ประชาชน
มาตรา 1229 บัญญัติว่า “บริษัทจะออกหุ้นกู้ไม่ได้”
บทบัญญัติดังกล่าวได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมโดยอาศัยบทบัญญัติของพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2521
ผลของการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังกล่าว ทำให้บริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายนี้ไม่สามารถเสนอขายหุ้นกู้แก่ประชาชนได้ ซึ่งทำให้บริษัทจำกัดไม่สามารถนำหุ้นกู้มาใช้เป็นเครื่องมือระดมทุนระยะยาวนอกเหนือจากการเสนอขายหุ้นสามัญ และการกู้ยืมเงินจากธนาคารได้ ซึ่งในกรณีกฎหมายกลายเป็นอุปสรรคในการยับยั้งการประกอบกิจการและการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันไม่ใช่ว่ากฎหมายห้ามมิให้บริษัทจำกัดเสนอขายหุ้นกู้เสียทีเดียว โดยบริษัทจำกัดสามารถยื่นคำขออนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. ให้ออกหุ้นกู้ได้ตามบทบัญญัติในมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
แม้ว่าพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 จะบัญญัติรับรองให้บริษัทจำกัดสามารถยื่นคำขออนุญาตให้ออกหุ้นกู้ได้ก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติกระบวนการออกหุ้นกู้นั้นจะต้องจัดส่งเอกสารเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นกู้ต่อประชาชนไปให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงเนื่องจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติห้ามมิให้บริษัทจำกัดขายหุ้นกู้แก่ประชาชน แม้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 จะเปิดให้ยื่นคำขออนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. ได้ แต่เมื่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าไม่ได้มีการกำหนดแนวทางในการส่งเอกสารเอาไว้เช่นเดียวกันกับประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการจัดส่งเอกสารเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นหรือหุ้นกู้ต่อประชาชนของผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัดต่อนายทะเบียน ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2543) ทำให้ในทางปฏิบัติกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ไม่รับนำส่งเอกสารดังกล่าว
นอกจากเหนือจากปัญหาการไม่มีแนวทางในการส่งเอกสารเอาไว้แล้ว ยังมีปัญหาอื่นๆ อีก คือ กรณีที่หากบริษัทจำกัดต้องการให้หุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญเพื่อให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นกู้ได้เปลี่ยนมาเป็นผู้ถือหุ้นสามัญในกรณีที่นวัตกรรมที่พัฒนานั้นประสบความสำเร็จ ปัญหานี้ก็ยังคงมีอยู่ เพราะในปัจจุบันประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ห้ามมิให้บริษัทจำกัดออกหุ้นกู้เลย ผลที่ตามมาจึงเกิดปัญหาว่าถ้าแปลงสภาพหุ้นกู้ไปเป็นหุ้นสามัญแล้ว จะดำเนินการอย่างไรในเมื่อไม่มีกฎหมายกำหนดไว้
ปัญหาของเรื่องนี้ยังคงดำเนินต่อไป แม้ว่าจะมีข้อเรียกร้องจากทางภาคเอกชนอยู่ตลอดและกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์เองก็พยายามหาแนวทางการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็ตาม แต่ความคืบหน้าในเรื่องนี้ก็ยังไม่เกิดขึ้น แต่สิ่งที่น่าเสียดายก็คือโอกาสของเอกชนในการพัฒนานวัตกรรมที่ต้องเสียไปเพราะมีกฎหมายเป็นอุปสรรค
บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง
เมื่อบริษัทจำกัดอยากออกหุ้นกู้
ภาพประกอบบทความ จาก elegantthemes.com
Highlights:
เมื่อข้อเท็จจริงในการตรากฎหมายเปลี่ยนไป กฎหมายกฎหมายก็ควรจะต้องมีการแก้ไข สภาพดังกล่าวคือความเป็นจริงที่นักกฎหมายทุกคนควรตระหนัก กฎหมายไม่ใช่สิ่งที่สมบูรณ์และไม่แปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ในปัจจุบันการประกอบธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
การประกอบธุรกิจในปัจจุบันนั้นเน้นการพัฒนานวัตกรรมหรือที่เราเรียกว่า “กลุ่มวิสาหกิจเริ่มต้น” (Startup) ซึ่งในการเริ่มต้นประกอบธุรกิจนั้นมีความเสี่ยงที่นวัตกรรมนั้นจะไม่ประสบความสำเร็จ ทำให้ในการประกอบธุรกิจนั้นโดยลำพังไม่สามารถอาศัยเงินทุนจากธนาคารได้ เพราะธนาคารก็ไม่สามารถมั่นใจได้ว่าจะปล่อยกู้ให้ได้ตามความต้องการหรือไม่ เนื่องจากธนาคารก็ไม่สามารถแน่ใจได้ว่าการพัฒนานวัตกรรมจะสำเร็จหรือไม่ ดังนั้น อีกวิธีการหนึ่งที่เอกชนสามารถนำมาใช้เพื่อระดมเงินจึงต้องกระทำผ่านการเสนอขายหุ้นกู้ แต่อย่างไรก็ตามอุปสรรคสำคัญที่ทำให้บริษัทจำกัดไม่สามารถระดมทุนโดยอาศัยหุ้นกู้ได้นั้นก็คือ “กฎหมาย”
ความเป็นมาของการห้ามบริษัทจำกัดออกหุ้นกู้
ประมวลแพ่งและพาณิชย์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้ผ่านการแก้ไขมาแล้วหลายครั้ง ซึ่งรวมถึงบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับหุ้นส่วนและบริษัทในบรรพ 3 ลักษณะ 22 ที่ได้มีการแก้ไขครั้งใหญ่เมื่อคราวที่พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2521 ประกาศใช้ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาสาระในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หลายส่วนด้วยกัน อาทิ บทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่มีลักษณะเป็นการทั่วไปแก่ประชาชน (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ใช้คำว่า “ชี้ชวนประชาชนให้ซื้อหุ้น”) และการเสนอขายหุ้นกู้ ซึ่งในการเสนอขายหุ้นนั้นมีลักษณะพิเศษกว่าการเสนอขายหุ้นทั่วไป เพราะมีกระบวนการเพื่อป้องกันมิให้ประชาชนถูกหลอกลวง ดังนั้น เมื่อ พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2521 ประกาศใช้จึงมีการยกเลิกบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บางส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเสนอขายหุ้นกู้
ผลของการห้ามมิให้ขายหุ้นกู้แก่ประชาชน
ผลของการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังกล่าว ทำให้บริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายนี้ไม่สามารถเสนอขายหุ้นกู้แก่ประชาชนได้ ซึ่งทำให้บริษัทจำกัดไม่สามารถนำหุ้นกู้มาใช้เป็นเครื่องมือระดมทุนระยะยาวนอกเหนือจากการเสนอขายหุ้นสามัญ และการกู้ยืมเงินจากธนาคารได้ ซึ่งในกรณีกฎหมายกลายเป็นอุปสรรคในการยับยั้งการประกอบกิจการและการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันไม่ใช่ว่ากฎหมายห้ามมิให้บริษัทจำกัดเสนอขายหุ้นกู้เสียทีเดียว โดยบริษัทจำกัดสามารถยื่นคำขออนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. ให้ออกหุ้นกู้ได้ตามบทบัญญัติในมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
แม้ว่าพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 จะบัญญัติรับรองให้บริษัทจำกัดสามารถยื่นคำขออนุญาตให้ออกหุ้นกู้ได้ก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติกระบวนการออกหุ้นกู้นั้นจะต้องจัดส่งเอกสารเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นกู้ต่อประชาชนไปให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงเนื่องจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติห้ามมิให้บริษัทจำกัดขายหุ้นกู้แก่ประชาชน แม้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 จะเปิดให้ยื่นคำขออนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. ได้ แต่เมื่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าไม่ได้มีการกำหนดแนวทางในการส่งเอกสารเอาไว้เช่นเดียวกันกับประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการจัดส่งเอกสารเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นหรือหุ้นกู้ต่อประชาชนของผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัดต่อนายทะเบียน ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2543) ทำให้ในทางปฏิบัติกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ไม่รับนำส่งเอกสารดังกล่าว
นอกจากเหนือจากปัญหาการไม่มีแนวทางในการส่งเอกสารเอาไว้แล้ว ยังมีปัญหาอื่นๆ อีก คือ กรณีที่หากบริษัทจำกัดต้องการให้หุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญเพื่อให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นกู้ได้เปลี่ยนมาเป็นผู้ถือหุ้นสามัญในกรณีที่นวัตกรรมที่พัฒนานั้นประสบความสำเร็จ ปัญหานี้ก็ยังคงมีอยู่ เพราะในปัจจุบันประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ห้ามมิให้บริษัทจำกัดออกหุ้นกู้เลย ผลที่ตามมาจึงเกิดปัญหาว่าถ้าแปลงสภาพหุ้นกู้ไปเป็นหุ้นสามัญแล้ว จะดำเนินการอย่างไรในเมื่อไม่มีกฎหมายกำหนดไว้
ปัญหาของเรื่องนี้ยังคงดำเนินต่อไป แม้ว่าจะมีข้อเรียกร้องจากทางภาคเอกชนอยู่ตลอดและกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์เองก็พยายามหาแนวทางการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็ตาม แต่ความคืบหน้าในเรื่องนี้ก็ยังไม่เกิดขึ้น แต่สิ่งที่น่าเสียดายก็คือโอกาสของเอกชนในการพัฒนานวัตกรรมที่ต้องเสียไปเพราะมีกฎหมายเป็นอุปสรรค
บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง