เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 บนเว็บไซต์ pridi.or.th
ภาพ: โปสเตอร์ซีรีส์ Hometown Cha-Cha-Cha
หลังจาก Squid Game ลาจอไปได้ไม่นาน ประเทศเกาหลีก็ประสบความสำเร็จในการสร้างกระแสการพูดถึงซีรีส์ในประเทศไทยได้อย่างต่อเนื่องด้วยเรื่อง Hometown Cha-Cha-Cha นอกจากเนื้อเรื่องที่มีการพูดถึงความรัก บรรยากาศอบอุ่นใจของความสัมพันธ์ต่างๆ ของตัวละครในเรื่อง และปมปัญหาชีวิตที่หลากหลายของตัวละครแต่ละตัวแล้ว โดยเรื่องราวที่ว่ามาทั้งหมดนั้น เกิดขึ้นที่ชุมชนชาวประมงเล็กๆ ชื่อว่า “กงจิน”
สิ่งหนึ่งที่ขาดไปไม่ได้เลยในเรื่องและคิดว่าเป็นสิ่งที่เนื้อเรื่องพยายามจะสื่อสารกับคนดูทุกคนก็คือ “เราสามารถใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพอยู่ในท้องถิ่นได้” ผ่านบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการมีค่าจ้างขั้นต่ำที่มีคุณภาพเพียงพอกับการครองชีพ
หัวหน้าฮงและชาวบ้านกงจินดำรงชีวิตอยู่ด้วยค่าจ้างขั้นต่ำได้อย่างไร
อาจจะไม่การสปอยเนื้อเรื่องจนเกินไป เพราะสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ซีรีส์พยายามถ่ายทอดให้กับคนดูทุกคนรู้ตั้งแต่ Ep แรกๆ ของแล้วว่า ตัวละครหลายตัวในเรื่องนั้นสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยค่าจ้างขั้นต่ำรายชั่วโมง เช่น ตัวละครเอกฝ่ายชายของเรื่องอย่างหัวหน้าฮง ซึ่งจะทำงานจิปาถะต่างๆ (หัวหน้าฮงทำได้ทุกอย่างจริงๆ มีใบอนุญาตทำงานทุกๆ อย่างเท่าที่จะมีได้ และมีทักษะหลากหลายตั้งแต่พูดภาษารัสเซียและใช้ภาษามือ ไปจนถึงการเป็นบาริสต้า ช่างทาสี ช่างไฟฟ้า และช่างซ่อมเรือ)
ในชุมชนหมู่บ้านชาวประมงแห่งนี้โดยคิดค่าจ้างขั้นต่ำ 8,720 วอน ต่อชั่วโมงคูณด้วยชั่วโมงการทำงานในแต่ละงาน เช่น ตอนที่ตัวเอกหญิงของเรื่องได้ให้หัวหน้าฮงดำเนินการจัดทำเรื่องสัญญาเกี่ยวกับการเช่าบ้าน และสถานที่สำหรับทำร้านหมอฟัน เป็นต้น และ โดยการทำงานของหัวหน้าฮงจะเป็นรูปแบบของฟรีแลนซ์ มีเวลาทำงานโดยเป็นคนกำหนดเอง และจะไม่ทำงานในวันหยุดเสาร์ -อาทิตย์
ประเด็นสำคัญคือ ค่าจ้างขั้นต่ำที่หัวหน้าฮงเรียกเป็นค่าบริการนี้เป็นค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2021 ซึ่งรัฐบาลเกาหลีกำหนดให้คนเกาหลีที่ทำงานรับจ้างได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ 8,720 วอน หรือ 240 บาท ต่อชั่วโมง ซึ่งมากกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวันของประเทศไทย และมากกว่าอาชีพพนักงานร้านสะดวกซื้อบางยี่ห้อที่ให้ค่าตอบแทนพนักงานประมาณชั่วโมงละ 40 บาท (โดยมีขอบเขตการทำงานกว้างขวางเหมือนมหาสมุทร) นอกจากค่าจ้างขั้นต่ำรายชั่วโมงแล้วรัฐบาลเกาหลียังได้มีการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำต่อเดือนด้วย (เงินเดือนรวมๆ) จะต้องอยู่ไม่ต่ำกว่า 1,822,480 วอน หรือประมาณ 51,000 บาท (มากกว่าค่าตอบแทนปริญญาตรีของไทย)
ไม่ใช่แค่ตัวละครเอกฝ่ายชายเท่านั้นที่ทำงานเรียกรับค่าจ้างขั้นต่ำนี้ จะเห็นได้ว่าตัวละครหลายตัวในเรื่องดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยค่าจ้างขั้นต่ำ เช่น คุณยายกัมรี หัวหน้าแก๊งสามยาย ที่มีอาชีพควักเครื่องในหมึกก็ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำในการดำรงชีวิต ซึ่งถ้าเทียบกับค่าครองชีพแล้วจะเห็นฉากหนึ่งที่แก๊งสามยายไปซื้อสบู่ที่บ้านของหัวหน้าฮง ซึ่งจะมีการพูดถึงราคาสบู่ก้อนละ 500 วอน ซึ่งคุณยายทั้งสามจะบอกว่ามันถูกมากเมื่อเทียบกับคุณภาพ สิ่งนี้ก็เป็นจุดหนึ่งที่ซีรีส์แสดงให้เห็นถึงความสมเหตุสมผลของค่าจ้างและค่าครองชีพในชุมชน
ดังจะเห็นได้ว่าค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศเกาหลีนั้น เป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตอย่างหนึ่ง และแม้จะอยู่ในท้องถิ่นชนบทค่าจ้างขั้นต่ำในจำนวนดังกล่าวไม่ใช่เงินที่มากจนนายจ้างไม่สามารถจ่ายได้และไม่ได้น้อยไปจนไม่สามารถใช้ในการครองชีพได้เลย เพราะจะเห็นได้ว่าทุกๆ ครั้งที่มีการจ้างงานจิปาถะกับหัวหน้าฮงแทบจะไม่มีใครปฏิเสธที่จะจ่ายค่าตอบแทนจำนวนดังกล่าวเลย
นอกจากนี้ ค่าจ้างขั้นต่ำของเกาหลียังมีลักษณะพิเศษอีกอย่างคือ มีการทบทวนอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสม่ำเสมอ แม้ว่าซีรีส์จะพึ่งจบไปไม่นาน แต่อัตราค่าจ้างขั้นต่ำดังกล่าวได้มีการเปลี่ยนไปแล้ว โดยคณะกรรมการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (The Minimum Wage Commission) ของประเทศเกาหลี ได้มีการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาและได้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2022 เป็น 9,160 วอน หรือประมาณ 256 บาท ต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมาร้อยละ 5.1 ของค่าจ้างขั้นต่ำในปีก่อน และกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำรายเดือนไว้ที่ 1,914,440 วอน หรือประมาณ 53,700 บาท ต่อเดือน ซึ่งการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำนี้ดำเนินการมาต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่า 24 ปี ตั้งแต่ปี 1998 เป็นต้นมา และการประกันค่าจ้างขั้นต่ำต่อเดือนเริ่มต้นมีในปี 2016
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่มีการปรับเปลี่ยนโดยคณะกรรมการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
Year | Houly Minimum wage rate | Dai ly minimum wage rate (based on 8 hours) | Monthly minimum wage rate (based on 209 hours, based on Public notice) | Increase (an increase in the amount) |
‘22.1.1 ~’22.12.31 | 9,160 | 73,280 | 1,914,440 | 5.05(440) |
‘21.1.1 ~’21.12.31 | 8,720 | 69,760 | 1,822,480 | 1.5(130) |
‘20.1.1 ~’20.12.31 | 8,590 | 68,720 | 1,795,310 | 2.87(240) |
‘19.1.1 ~’19.12.31 | 8,350 | 66,800 | 1,745,150 | 10.9(820) |
‘18.1.1 ~’18.12.31 | 7,530 | 60,240 | 1,573,770 | 16.4(1,060) |
‘17.1.1 ~’17.12.31 | 6,470 | 51,760 | 1,352,230 | 7.3(440) |
‘16.1.1 ~’16.12.31 | 6,030 | 48,240 | 1,260,270 | 8.1(450) |
‘15.1.1 ~’15.12.31 | 5,580 | 44,640 | | 7.1(370) |
14.1.1~’14.12.31 | 5,210 | 41,680 | | 7.2(350) |
‘13.1.1 ~’13.12.31 | 4,860 | 38,880 | | 6.1(280) |
‘12.1.1 ~’12.12.31 | 4,580 | 36,640 | | 6.0(260) |
‘11.1.1~’11.12.31 | 4,320 | 34,560 | | 5.1(210) |
‘10.1.1~’10.12.31 | 4,110 | 32,880 | | 2.75(110) |
‘09.1.1~’09.12.31 | 4,000 | 32,000 | | 6.1(230) |
‘08.1.1~’08.12.31 | 3,770 | 30,160 | | 8.3(290) |
‘07.1.1~’07.12.31 | 3,480 | 27,840 | | 12.3(380) |
‘05.9~’06.12 | 3,100 | 24,800 | | 9.2(260) |
‘04.9~’05.8 | 2,840 | 22,720 | | 13.1(330) |
‘03.9~’04.8 | 2,510 | 20,080 | | 10.3(235) |
‘02.9~’03.8 | 2,275 | 18,200 | | 8.3(175) |
‘01.9~’02.8 | 2,100 | 16,800 | | 12.6(235) |
‘00.9~’01.8 | 1,865 | 14,920 | | 16.6(265) |
‘99.9~’00.8 | 1,600 | 12,800 | | 4.9(75) |
‘98.9~’99.8 | 1,525 | 12,200 | | 2.7(40) |
‘97.9~’98.8 | 1,485 | 11,880 | | 6.1(85) |
‘96.9~’97.8 | 1,400 | 11,200 | | 9.8(125) |
‘95.9~’96.8 | 1,275 | 10,200 | | 8.97(105) |
‘94.9~’95.8 | 1,170 | 9,360 | | 7.8(85) |
’94.(1~8) | 1,085 | 8,680 | | 7.96(80) |
’93 | 1,005 | 8,040 | | 8.6(80) |
’92 | 925 | 7,400 | | 12.8(105) |
’91 | 820 | 6,560 | | 18.8(130) |
’90 | 690 | 5,520 | | 15.0(90) |
’89 | 600 | 4,800 | | 1Group29.7(137.5) 2Group23.7(112.5) |
’88 | 1Group 462.50 2Group 487.50 | 3,700 3,900 | | – |
ที่มา: Minimum Wage Commission, Republic of Korea
แม้จะปฏิเสธไม่ได้ว่าเกาหลีก็มีปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำและปัญหาเชิงโครงสร้างที่เกิดขึ้นมาจากการผูกขาดของการพัฒนา และจะมีด้านมืดของสังคมที่มีการกดดันต่างๆ ที่ทำให้เกิดการเรียกสังคมเกาหลีว่า “นรกโชซอน” (Hell Joseon) และอัตราค่าครองชีพอาจจะสูงมากเมื่ออยู่ในเมืองทำให้คุณภาพชีวิตอาจจะลดลงบ้าง แต่อัตราค่าจ้างขั้นต่ำดังกล่าวก็เพียงพอในการดำรงชีวิตได้
ถ้าหัวหน้าฮงเกิดเป็นคนไทยจะมีค่าจ้างขั้นต่ำอย่างไร
เมื่อพิจารณาบริบทของประเทศเกาหลีในซีรีส์แล้ว ลองย้อนกลับมาดูประเทศไทย สิ่งที่ควรตั้งคำถามคือ ค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศไทยเป็นอย่างไรบ้าง และเหมาะสมกับค่าครองชีพจริงๆ หรือไม่ โดยมาลองสมมติกันว่า ถ้าหากหัวหน้าฮงเกิดเป็นคนไทย หรือถ้าน้ำเน่า (หน่อยๆ) แบบเรือแตกความจำเสื่อมแล้วมารู้สึกตัวอยู่เมืองไทยจำไม่ได้ว่าตัวเองเป็นใคร แต่มีความสามารถมากมายหลายอย่างเขาจะได้รับค่าจ้างขั้นต่ำอย่างไรในประเทศไทย
คำตอบก็คือ ขึ้นกับว่าหัวหน้าฮงทำงานที่ไหน หรือ เรือไปแตกแล้วตื่นขึ้นมาที่จังหวัดไหนของประเทศไทย เพราะอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศไทยมีความแตกต่างกัน (สัมพัทธ์) ตามพื้นที่การแบ่งเขตค่าจ้างขั้นต่ำ โดยนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นมาคณะกรรมการค่าจ้างได้มีประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 10) ซึ่งได้ประกาศให้มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 โดยแบ่งอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้แตกต่างกันตามเขตพื้นที่ (ซึ่งไม่ได้สัมพันธ์กับพื้นที่ทางภูมิศาสตร์แต่อย่างใด) ดังนี้
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศไทยในแต่ละพื้นที่
พื้นที่ | ค่าจ้างขั้นต่ำ | จำนวนจังหวัด |
จังหวัดชลบุรีและภูเก็ต | 336 | 2 |
จังหวัดระยอง | 335 | 1 |
กรุงเทพมหานคร และจังหวัดนครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร และสมุทรปราการ | 331 | 6 |
จังหวัดฉะเชิงเทรา | 330 | 1 |
จังหวัดกระบี่ ขอนแก่น เชียงใหม่ ตราด นครราชสีมา พระนครศรีอยุธยา พังงา ลพบุรี สงขลา สระบุรี สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี หนองคาย อุบลราชธานี | 325 | 14 |
จังหวัดปราจีนบุรี | 324 | 1 |
จังหวัดกาฬสินธุ์ จันทบุรี นครนายก มุกดาหาร สกลนคร และสมุทรสงคราม | 323 | 6 |
จังหวัดกาญจนบุรี ชัยนาท นครพนม นครสวรรค์ น่าน บึงกาฬ บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ พัทลุง พิษณุโลก เพชรบุรี เพชรบูรณ์ พะเยา ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย สระแก้ว สุรินทร์ อ่างทอง อุดรธานี และอุตรดิตถ์ | 320 | 21 |
จังหวัดกำแพงเพชร ชัยภูมิ ชุมพร เชียงราย ตรัง ตาก นครศรีธรรมราช พิจิตร แพร่ มหาสารคาม แม่ฮ่องสอน ระยอง ราชบุรี ลำปาง ศรีสะเกษ สตูล สิงห์บุรี สุโขทัย หนองบัวลำภู อุทัยธานี และอำนาจเจริญ | 315 | 22 |
จังหวัดนราธิวาส ยะลา และปัตตานี | 313 | 3 |
ที่มา: ปรับปรุงจากประกาศคณะกรรมการค่าจ้างเรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 10) และคำชี้แจง พร้อมตารางแสดงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
ดังนั้น ถ้าหัวหน้าฮงทำงานในกรุงเทพมหานครก็จะได้รับค่าจ้างขั้นต่ำรายวันๆ ละ 331 บาท หรือคิดเป็นรายชั่วโมงตกชั่วโมงละ 41 บาท (จำนวนนี้คิดจากการหาร 8 ชั่วโมงตามเวลาทำงานปกติสูงสุดตามกฎหมายแรงงานกำหนดไว้) และเมื่อคิดเป็นค่าจ้างต่อเดือนจะเป็นเงินจำนวน 9,930 บาท (คิดจากการคูณ 30 วัน ซึ่งอาจรวมเสาร์และอาทิตย์ซึ่งอาจเป็นวันหยุดงานในบางอาชีพและสถานประกอบการ) ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราค่าครองชีพแล้วถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่หัวหน้าฮงจะต้องจ่าย เช่น ค่าเดินทาง และค่าเช่าที่พักอาศัย เป็นต้น ซึ่งเมื่อรวมๆ ค่าใช้จ่ายดังกล่าวแล้วก็ไม่ต้องพูดถึงการมีเงินเก็บแม้แต่น้อย (แม้ว่าอาจจะมีพูดให้ความเห็นว่า ถ้ารู้จักใช้ชีวิตอย่างประหยัด พอเพียง และรู้จักใช้ก็อยู่ได้ก็อยากให้คนพูดย้อนกลับไปคิดเองว่ามันเพียงพอจริงๆ เหรอ และจะเลือกรับเงินจำนวนดังกล่าวจริงๆ หรือไม่ ถ้าหากสามารถเลือกได้)
สำหรับการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศไทยนั้นตามพื้นที่นั้นเกิดจากการกำหนดของคณะกรรมการค่าจ้างซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาล ฝ่ายละ 5 คนเท่าๆ กัน โดยศึกษาและพิจารณาจากข้อเท็จจริงตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ ได้แก่ อัตราค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ มาตรฐานการครองชีพ ต้นทุนการผลิต ราคาสินค้าและบริการ ความสามารถของธุรกิจ ผลิตภาพแรงงาน ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ และสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเทียบเคียงและอาศัยสูตรคำนวณตามมาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) ซึ่งเกณฑ์นี้ใช้กับลูกจ้างแรกเข้าในปีนั้นๆ โดยปริยาย
อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารัฐบาลจะได้กำหนดค่าจ้างขั้นต่ำเอาไว้ให้กับลูกจ้างแรกเข้าในปีนั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่ลูกจ้างทุกคนจะได้รับค่าจ้างขั้นต่ำจริงๆ เช่น ในปี 2558 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ได้ทำการสำรวจการจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำแรงงานทั่วประเทศ พบว่ายังมีแรงงานทั่วประเทศไม่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ 2.11 ล้านคน หรือร้อยละ 14.8 โดยส่วนใหญ่เป็นแรงงานในสถานประกอบการที่มีคนทำงานไม่เกิน 50 คน ((1-9 คน ร้อยละ 33.6) 10-49 คน (ร้อยละ 12)) เป็นต้น
ร้อยละของแรงงานไม่ได้ค่าจ้างขั้นต่ำ
ขนาดสถานประกอบการ (คน) | % แรงงานไม่ได้รับต่ำกว่า 300 บาท (ล้านราย) |
1-9 | 33.6 | (1.55) |
10-49 | 12.0 | (0.38) |
50-199 | 3.7 | (0.08) |
200+ขึ้นไป | 1.9 | (0.07) |
อื่นๆ | 11.7 | (0.01) |
รวมเฉลี่ย | 14.8 | (2.11) |
หมายเหตุ: คำนวณจากการสำรวจการมีงานทำไตรมาส 3, 2558
ที่มา: ยงยุทธ แฉล้มวงษ์, สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
นอกจากนี้ การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำโดยเกิดความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ก็อาจจะมีปัญหาได้เช่นกัน โดยอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในพื้นที่ที่มีความเจริญอยู่แล้วหรือมีเป็นเมืองเศรษฐกิจ (การท่องเที่ยว และโรงงานอุตสาหกรรม) กลับมีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสูง ในขณะที่เมืองที่ยังไม่ได้รับการพัฒนากลับมีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ต่ำ เมื่อคิดถึงสภาพการลงทุนแล้วเอกชนอาจจะอยากลงทุนในพื้นที่อัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ต่ำเพิ่มขึ้น แต่แรงงานก็ไม่อยากทำงานในพื้นที่ดังกล่าวพร้อมกับพยายามโยกย้ายเข้าไปหางานทำในพื้นที่อัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่สูงสภาพการพัฒนายิ่งไม่เกิดขึ้นในพื้นที่นั้นๆ เพราะแม้มีการลงทุนแต่อาจก็ไม่มีแรงงาน
ปัญหาเรื่องอัตราค่าครองชีพในประเทศไทยเป็นเรื่องที่มีการถกเถียงกันมากโดยเฉพาะในช่วงหาเสียงที่รัฐบาลหลายพรรคการเมืองมักจะชูนโยบายการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ (เช่นเดียวกันกับรัฐบาลนี้ที่เคยหาเสียงด้วยค่าจ้างขั้นต่ำ แต่ไม่ได้ทำตามสัญญาหลังจากขอเวลามานาน) ประเด็นใจความสำคัญของการถกเถียงมักจะอยู่ที่ว่าการแทรกแซงราคาค่าจ้างขั้นต่ำจะส่งผลให้เกิดอัตราการว่างงานเนื่องจากมีการปลดคนงานออก
อย่างไรก็ตาม ข้อถกเถียงดังกล่าวอาจจะไม่ถูกต้องเมื่อรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ล่าสุดนั้นได้สรุปผลการวิจัยว่า จาก “การทดลองตามธรรมชาติ” (Natural Experiments) โดยการศึกษาสถานการณ์ตามความเป็นจริงเพื่อตอบคำถามทางสังคมในเรื่องที่ว่าค่าแรงขั้นต่ำกับการอพยพส่งผลต่อตลาดแรงงานอย่างไรบ้าง ซึ่งผลสรุปนั้นพบว่า การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่ได้ส่งผลต่อการจ้างงานลดลง และผู้อพยพก็ไม่ได้ทำให้พวกคนงานซึ่งเกิดในพื้นถิ่นได้รับค่าจ้างต่ำลง ผลการทดลองในครั้งนี้เป็นการพลิกแนวความคิดเดิมที่เคยยึดถือจากการทดลองโดยใช้แบบจำลองมาคิด
เมื่อกลับมาที่หัวหน้าฮง สถานการณ์ดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปอย่างแน่นอนหากหัวหน้าฮงย้ายจากประเทศเกาหลีมาทำงานที่ประเทศ ไม่ว่าเขาจะทำงานในกรุงเทพฯ หรือ ในต่างจังหวัด อัตราค่าจ้างขั้นต่ำดังกล่าวอาจจะไม่สามารถทำให้เขาดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสะดวก และเลือกทำงานในวันที่อยากทำเหมือนในเรื่อง Hometown Cha-Cha-Cha แต่ทางเลือกของหัวหน้าฮงอาจจะลดลงและทำงานอย่างยากลำบากในทุกๆ วันเพื่อจะมีชีวิตรอดไปวันจนไม่สามารถใส่ใจคนในชุมชนรอบตัวเขาได้อย่างเต็มที่แบบที่เป็นในซีรีส์ และคงไม่เกิดเรื่องราวอบอุ่นหัวใจเป็นที่แน่นอน
Hometown Cha-Cha-Cha (2021)
ประเภทซีรีส์: โรแมนติก, คอมเมดี้
ผู้กำกับ: ยูเจวอน
นักแสดงนำ: ชินมินอา, คิมซอนโฮ, อีซังอี
จำนวนตอน: 16 ตอน
ออกอากาศครั้งแรกทางช่อง tvN วันที่ 28 สิงหาคม 2564 เวลา 21.00 น. (เกาหลี)
ประเทศไทยสามารถรับชมได้ที่ NETFLIX
อ้างอิง:
บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง
Hometown Cha-Cha-Cha: ค่าจ้างขั้นต่ำกับคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่น
เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 บนเว็บไซต์ pridi.or.th
หลังจาก Squid Game ลาจอไปได้ไม่นาน ประเทศเกาหลีก็ประสบความสำเร็จในการสร้างกระแสการพูดถึงซีรีส์ในประเทศไทยได้อย่างต่อเนื่องด้วยเรื่อง Hometown Cha-Cha-Cha นอกจากเนื้อเรื่องที่มีการพูดถึงความรัก บรรยากาศอบอุ่นใจของความสัมพันธ์ต่างๆ ของตัวละครในเรื่อง และปมปัญหาชีวิตที่หลากหลายของตัวละครแต่ละตัวแล้ว โดยเรื่องราวที่ว่ามาทั้งหมดนั้น เกิดขึ้นที่ชุมชนชาวประมงเล็กๆ ชื่อว่า “กงจิน”
สิ่งหนึ่งที่ขาดไปไม่ได้เลยในเรื่องและคิดว่าเป็นสิ่งที่เนื้อเรื่องพยายามจะสื่อสารกับคนดูทุกคนก็คือ “เราสามารถใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพอยู่ในท้องถิ่นได้” ผ่านบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการมีค่าจ้างขั้นต่ำที่มีคุณภาพเพียงพอกับการครองชีพ
หัวหน้าฮงและชาวบ้านกงจินดำรงชีวิตอยู่ด้วยค่าจ้างขั้นต่ำได้อย่างไร
อาจจะไม่การสปอยเนื้อเรื่องจนเกินไป เพราะสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ซีรีส์พยายามถ่ายทอดให้กับคนดูทุกคนรู้ตั้งแต่ Ep แรกๆ ของแล้วว่า ตัวละครหลายตัวในเรื่องนั้นสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยค่าจ้างขั้นต่ำรายชั่วโมง เช่น ตัวละครเอกฝ่ายชายของเรื่องอย่างหัวหน้าฮง ซึ่งจะทำงานจิปาถะต่างๆ (หัวหน้าฮงทำได้ทุกอย่างจริงๆ มีใบอนุญาตทำงานทุกๆ อย่างเท่าที่จะมีได้ และมีทักษะหลากหลายตั้งแต่พูดภาษารัสเซียและใช้ภาษามือ ไปจนถึงการเป็นบาริสต้า ช่างทาสี ช่างไฟฟ้า และช่างซ่อมเรือ)
ในชุมชนหมู่บ้านชาวประมงแห่งนี้โดยคิดค่าจ้างขั้นต่ำ 8,720 วอน ต่อชั่วโมงคูณด้วยชั่วโมงการทำงานในแต่ละงาน เช่น ตอนที่ตัวเอกหญิงของเรื่องได้ให้หัวหน้าฮงดำเนินการจัดทำเรื่องสัญญาเกี่ยวกับการเช่าบ้าน และสถานที่สำหรับทำร้านหมอฟัน เป็นต้น และ โดยการทำงานของหัวหน้าฮงจะเป็นรูปแบบของฟรีแลนซ์ มีเวลาทำงานโดยเป็นคนกำหนดเอง และจะไม่ทำงานในวันหยุดเสาร์ -อาทิตย์
ประเด็นสำคัญคือ ค่าจ้างขั้นต่ำที่หัวหน้าฮงเรียกเป็นค่าบริการนี้เป็นค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2021 ซึ่งรัฐบาลเกาหลีกำหนดให้คนเกาหลีที่ทำงานรับจ้างได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ 8,720 วอน หรือ 240 บาท ต่อชั่วโมง ซึ่งมากกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวันของประเทศไทย และมากกว่าอาชีพพนักงานร้านสะดวกซื้อบางยี่ห้อที่ให้ค่าตอบแทนพนักงานประมาณชั่วโมงละ 40 บาท (โดยมีขอบเขตการทำงานกว้างขวางเหมือนมหาสมุทร) นอกจากค่าจ้างขั้นต่ำรายชั่วโมงแล้วรัฐบาลเกาหลียังได้มีการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำต่อเดือนด้วย (เงินเดือนรวมๆ) จะต้องอยู่ไม่ต่ำกว่า 1,822,480 วอน หรือประมาณ 51,000 บาท (มากกว่าค่าตอบแทนปริญญาตรีของไทย)
ไม่ใช่แค่ตัวละครเอกฝ่ายชายเท่านั้นที่ทำงานเรียกรับค่าจ้างขั้นต่ำนี้ จะเห็นได้ว่าตัวละครหลายตัวในเรื่องดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยค่าจ้างขั้นต่ำ เช่น คุณยายกัมรี หัวหน้าแก๊งสามยาย ที่มีอาชีพควักเครื่องในหมึกก็ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำในการดำรงชีวิต ซึ่งถ้าเทียบกับค่าครองชีพแล้วจะเห็นฉากหนึ่งที่แก๊งสามยายไปซื้อสบู่ที่บ้านของหัวหน้าฮง ซึ่งจะมีการพูดถึงราคาสบู่ก้อนละ 500 วอน ซึ่งคุณยายทั้งสามจะบอกว่ามันถูกมากเมื่อเทียบกับคุณภาพ สิ่งนี้ก็เป็นจุดหนึ่งที่ซีรีส์แสดงให้เห็นถึงความสมเหตุสมผลของค่าจ้างและค่าครองชีพในชุมชน
ดังจะเห็นได้ว่าค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศเกาหลีนั้น เป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตอย่างหนึ่ง และแม้จะอยู่ในท้องถิ่นชนบทค่าจ้างขั้นต่ำในจำนวนดังกล่าวไม่ใช่เงินที่มากจนนายจ้างไม่สามารถจ่ายได้และไม่ได้น้อยไปจนไม่สามารถใช้ในการครองชีพได้เลย เพราะจะเห็นได้ว่าทุกๆ ครั้งที่มีการจ้างงานจิปาถะกับหัวหน้าฮงแทบจะไม่มีใครปฏิเสธที่จะจ่ายค่าตอบแทนจำนวนดังกล่าวเลย
นอกจากนี้ ค่าจ้างขั้นต่ำของเกาหลียังมีลักษณะพิเศษอีกอย่างคือ มีการทบทวนอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสม่ำเสมอ แม้ว่าซีรีส์จะพึ่งจบไปไม่นาน แต่อัตราค่าจ้างขั้นต่ำดังกล่าวได้มีการเปลี่ยนไปแล้ว โดยคณะกรรมการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (The Minimum Wage Commission) ของประเทศเกาหลี ได้มีการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาและได้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2022 เป็น 9,160 วอน หรือประมาณ 256 บาท ต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมาร้อยละ 5.1 ของค่าจ้างขั้นต่ำในปีก่อน และกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำรายเดือนไว้ที่ 1,914,440 วอน หรือประมาณ 53,700 บาท ต่อเดือน ซึ่งการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำนี้ดำเนินการมาต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่า 24 ปี ตั้งแต่ปี 1998 เป็นต้นมา และการประกันค่าจ้างขั้นต่ำต่อเดือนเริ่มต้นมีในปี 2016
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่มีการปรับเปลี่ยนโดยคณะกรรมการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
wage rate
(based on 8 hours)
(based on 209 hours, based on Public notice)
(an increase in the amount)
2Group23.7(112.5)
2Group 487.50
3,900
ที่มา: Minimum Wage Commission, Republic of Korea
แม้จะปฏิเสธไม่ได้ว่าเกาหลีก็มีปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำและปัญหาเชิงโครงสร้างที่เกิดขึ้นมาจากการผูกขาดของการพัฒนา และจะมีด้านมืดของสังคมที่มีการกดดันต่างๆ ที่ทำให้เกิดการเรียกสังคมเกาหลีว่า “นรกโชซอน” (Hell Joseon) และอัตราค่าครองชีพอาจจะสูงมากเมื่ออยู่ในเมืองทำให้คุณภาพชีวิตอาจจะลดลงบ้าง แต่อัตราค่าจ้างขั้นต่ำดังกล่าวก็เพียงพอในการดำรงชีวิตได้
ถ้าหัวหน้าฮงเกิดเป็นคนไทยจะมีค่าจ้างขั้นต่ำอย่างไร
เมื่อพิจารณาบริบทของประเทศเกาหลีในซีรีส์แล้ว ลองย้อนกลับมาดูประเทศไทย สิ่งที่ควรตั้งคำถามคือ ค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศไทยเป็นอย่างไรบ้าง และเหมาะสมกับค่าครองชีพจริงๆ หรือไม่ โดยมาลองสมมติกันว่า ถ้าหากหัวหน้าฮงเกิดเป็นคนไทย หรือถ้าน้ำเน่า (หน่อยๆ) แบบเรือแตกความจำเสื่อมแล้วมารู้สึกตัวอยู่เมืองไทยจำไม่ได้ว่าตัวเองเป็นใคร แต่มีความสามารถมากมายหลายอย่างเขาจะได้รับค่าจ้างขั้นต่ำอย่างไรในประเทศไทย
คำตอบก็คือ ขึ้นกับว่าหัวหน้าฮงทำงานที่ไหน หรือ เรือไปแตกแล้วตื่นขึ้นมาที่จังหวัดไหนของประเทศไทย เพราะอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศไทยมีความแตกต่างกัน (สัมพัทธ์) ตามพื้นที่การแบ่งเขตค่าจ้างขั้นต่ำ โดยนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นมาคณะกรรมการค่าจ้างได้มีประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 10) ซึ่งได้ประกาศให้มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 โดยแบ่งอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้แตกต่างกันตามเขตพื้นที่ (ซึ่งไม่ได้สัมพันธ์กับพื้นที่ทางภูมิศาสตร์แต่อย่างใด) ดังนี้
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศไทยในแต่ละพื้นที่
ที่มา: ปรับปรุงจากประกาศคณะกรรมการค่าจ้างเรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 10) และคำชี้แจง พร้อมตารางแสดงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
ดังนั้น ถ้าหัวหน้าฮงทำงานในกรุงเทพมหานครก็จะได้รับค่าจ้างขั้นต่ำรายวันๆ ละ 331 บาท หรือคิดเป็นรายชั่วโมงตกชั่วโมงละ 41 บาท (จำนวนนี้คิดจากการหาร 8 ชั่วโมงตามเวลาทำงานปกติสูงสุดตามกฎหมายแรงงานกำหนดไว้) และเมื่อคิดเป็นค่าจ้างต่อเดือนจะเป็นเงินจำนวน 9,930 บาท (คิดจากการคูณ 30 วัน ซึ่งอาจรวมเสาร์และอาทิตย์ซึ่งอาจเป็นวันหยุดงานในบางอาชีพและสถานประกอบการ) ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราค่าครองชีพแล้วถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่หัวหน้าฮงจะต้องจ่าย เช่น ค่าเดินทาง และค่าเช่าที่พักอาศัย เป็นต้น ซึ่งเมื่อรวมๆ ค่าใช้จ่ายดังกล่าวแล้วก็ไม่ต้องพูดถึงการมีเงินเก็บแม้แต่น้อย (แม้ว่าอาจจะมีพูดให้ความเห็นว่า ถ้ารู้จักใช้ชีวิตอย่างประหยัด พอเพียง และรู้จักใช้ก็อยู่ได้ก็อยากให้คนพูดย้อนกลับไปคิดเองว่ามันเพียงพอจริงๆ เหรอ และจะเลือกรับเงินจำนวนดังกล่าวจริงๆ หรือไม่ ถ้าหากสามารถเลือกได้)
สำหรับการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศไทยนั้นตามพื้นที่นั้นเกิดจากการกำหนดของคณะกรรมการค่าจ้างซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาล ฝ่ายละ 5 คนเท่าๆ กัน โดยศึกษาและพิจารณาจากข้อเท็จจริงตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ ได้แก่ อัตราค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ มาตรฐานการครองชีพ ต้นทุนการผลิต ราคาสินค้าและบริการ ความสามารถของธุรกิจ ผลิตภาพแรงงาน ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ และสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเทียบเคียงและอาศัยสูตรคำนวณตามมาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) ซึ่งเกณฑ์นี้ใช้กับลูกจ้างแรกเข้าในปีนั้นๆ โดยปริยาย
อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารัฐบาลจะได้กำหนดค่าจ้างขั้นต่ำเอาไว้ให้กับลูกจ้างแรกเข้าในปีนั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่ลูกจ้างทุกคนจะได้รับค่าจ้างขั้นต่ำจริงๆ เช่น ในปี 2558 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ได้ทำการสำรวจการจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำแรงงานทั่วประเทศ พบว่ายังมีแรงงานทั่วประเทศไม่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ 2.11 ล้านคน หรือร้อยละ 14.8 โดยส่วนใหญ่เป็นแรงงานในสถานประกอบการที่มีคนทำงานไม่เกิน 50 คน ((1-9 คน ร้อยละ 33.6) 10-49 คน (ร้อยละ 12)) เป็นต้น
ร้อยละของแรงงานไม่ได้ค่าจ้างขั้นต่ำ
หมายเหตุ: คำนวณจากการสำรวจการมีงานทำไตรมาส 3, 2558
ที่มา: ยงยุทธ แฉล้มวงษ์, สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
นอกจากนี้ การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำโดยเกิดความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ก็อาจจะมีปัญหาได้เช่นกัน โดยอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในพื้นที่ที่มีความเจริญอยู่แล้วหรือมีเป็นเมืองเศรษฐกิจ (การท่องเที่ยว และโรงงานอุตสาหกรรม) กลับมีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสูง ในขณะที่เมืองที่ยังไม่ได้รับการพัฒนากลับมีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ต่ำ เมื่อคิดถึงสภาพการลงทุนแล้วเอกชนอาจจะอยากลงทุนในพื้นที่อัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ต่ำเพิ่มขึ้น แต่แรงงานก็ไม่อยากทำงานในพื้นที่ดังกล่าวพร้อมกับพยายามโยกย้ายเข้าไปหางานทำในพื้นที่อัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่สูงสภาพการพัฒนายิ่งไม่เกิดขึ้นในพื้นที่นั้นๆ เพราะแม้มีการลงทุนแต่อาจก็ไม่มีแรงงาน
ปัญหาเรื่องอัตราค่าครองชีพในประเทศไทยเป็นเรื่องที่มีการถกเถียงกันมากโดยเฉพาะในช่วงหาเสียงที่รัฐบาลหลายพรรคการเมืองมักจะชูนโยบายการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ (เช่นเดียวกันกับรัฐบาลนี้ที่เคยหาเสียงด้วยค่าจ้างขั้นต่ำ แต่ไม่ได้ทำตามสัญญาหลังจากขอเวลามานาน) ประเด็นใจความสำคัญของการถกเถียงมักจะอยู่ที่ว่าการแทรกแซงราคาค่าจ้างขั้นต่ำจะส่งผลให้เกิดอัตราการว่างงานเนื่องจากมีการปลดคนงานออก
อย่างไรก็ตาม ข้อถกเถียงดังกล่าวอาจจะไม่ถูกต้องเมื่อรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ล่าสุดนั้นได้สรุปผลการวิจัยว่า จาก “การทดลองตามธรรมชาติ” (Natural Experiments) โดยการศึกษาสถานการณ์ตามความเป็นจริงเพื่อตอบคำถามทางสังคมในเรื่องที่ว่าค่าแรงขั้นต่ำกับการอพยพส่งผลต่อตลาดแรงงานอย่างไรบ้าง ซึ่งผลสรุปนั้นพบว่า การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่ได้ส่งผลต่อการจ้างงานลดลง และผู้อพยพก็ไม่ได้ทำให้พวกคนงานซึ่งเกิดในพื้นถิ่นได้รับค่าจ้างต่ำลง ผลการทดลองในครั้งนี้เป็นการพลิกแนวความคิดเดิมที่เคยยึดถือจากการทดลองโดยใช้แบบจำลองมาคิด
เมื่อกลับมาที่หัวหน้าฮง สถานการณ์ดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปอย่างแน่นอนหากหัวหน้าฮงย้ายจากประเทศเกาหลีมาทำงานที่ประเทศ ไม่ว่าเขาจะทำงานในกรุงเทพฯ หรือ ในต่างจังหวัด อัตราค่าจ้างขั้นต่ำดังกล่าวอาจจะไม่สามารถทำให้เขาดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสะดวก และเลือกทำงานในวันที่อยากทำเหมือนในเรื่อง Hometown Cha-Cha-Cha แต่ทางเลือกของหัวหน้าฮงอาจจะลดลงและทำงานอย่างยากลำบากในทุกๆ วันเพื่อจะมีชีวิตรอดไปวันจนไม่สามารถใส่ใจคนในชุมชนรอบตัวเขาได้อย่างเต็มที่แบบที่เป็นในซีรีส์ และคงไม่เกิดเรื่องราวอบอุ่นหัวใจเป็นที่แน่นอน
Hometown Cha-Cha-Cha (2021)
ประเภทซีรีส์: โรแมนติก, คอมเมดี้
ผู้กำกับ: ยูเจวอน
นักแสดงนำ: ชินมินอา, คิมซอนโฮ, อีซังอี
จำนวนตอน: 16 ตอน
ออกอากาศครั้งแรกทางช่อง tvN วันที่ 28 สิงหาคม 2564 เวลา 21.00 น. (เกาหลี)
ประเทศไทยสามารถรับชมได้ที่ NETFLIX
อ้างอิง:
บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง