Highlights:
- กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจ คือ บรรดากฎเกณฑ์ทางกฎหมายมหาชนที่ว่าด้วยการเข้าไปแทรกแซงของรัฐในปริมณฑลทางเศรษฐกิจ
- กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจเป็นส่วนหนึ่งของสาขากฎหมายมหาชน
- กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจมีลักษณะที่เป็นเฉพาะแตกต่างจากกฎหมายมหาชนสาขาอื่น คือ มีลักษณะเป็นพลวัตร และมีลักษณะผสมผสาน
สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านที่ได้ผ่านเข้ามาอ่านบล็อกนี้ หลายท่านอาจจะเคยได้ยินหรือรู้จักกับกฎหมายมหาชนมาบ้าง แต่ก็อาจจะสงสัยว่ากฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจคืออะไร ? กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายมหาชนหรือไม่ ? ซึ่งในบทความนี้จะได้นำเสนอความหมาย และความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจกับกฎหมายมหาชน
กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจ (Public economic of law) เป็นสาขาหนึ่งของกฎหมายมหาชน โดยเป็นสาขาที่เพิ่งถือกำเนิดขึ้นมาไม่นาน (เมื่อเทียบกับกฎหมายมหาชนสาขาอื่นอย่างกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายปกครอง) และยังอยู่ช่วงพัฒนาหลักการต่างๆ อยู่
ความหมายของกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจ
กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจมีขอบเขตที่แคบกว่า “กฎหมายเศรษฐกิจ” ทำให้ในบางครั้งในการนิยามความหมายของกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจอาจแฝงอยู่ในนิยามของกฎหมายเศรษฐกิจ
ศ.ดร.ปรีดี เกษมทรัพย์ นักกฎหมายคนสำคัญท่านหนึ่ง ได้ให้นิยามของกฎหมายเศรษฐกิจไว้ว่า
“กฎหมายเศรษฐกิจ” คือ บรรดาบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ หมายถึงบทบัญญัติที่บัญญัติถึงกิจกรรมหรือกิจการทางเศรษฐกิจ เพื่อที่จะควบคุมชี้แนวทาง ส่งเสริมหรือจำกัดการกระทำหรือกิจการทางเศรษฐกิจนั่นเอง
สมยศ เชื้อไทย, คำอธิบายวิชากฎหมายแพ่ง: หลักทั่วไป, พิมพ์ครั้งที่ 18, (กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2555), น. 119.
ซึ่งจากนิยามดังกล่าวจะเห็นได้ว่า กฎหมายเศรษฐกิจมีความหมายกว้าง เพราะหากเนื้อหาของกฎหมายนั้นเกี่ยวกับกิจกรรมหรือกิจการในทางเศรษฐกิจแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการควบคุม ชี้แนวทาง ส่งเสริม หรือจำกัดการกระทำหรือกิจการทางเศรษฐกิจล้วนเป็นกฎหมายเศรษฐกิจทั้งสิ้น โดยไม่สำคัญว่าเป็นกฎหมายเอกชนทางเศรษฐกิจหรือกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจ
ฉะนั้น หากพิจารณาในลักษณะนี้ กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจจะมีฐานะเป็นกฎหมายเศรษฐกิจในความหมายอย่างแคบ โดยเน้นเฉพาะในกิจกรรมหรือกิจการทางเศรษฐกิจที่รัฐหรือนิติบุคคลมหาชนเป็นผู้กระทำ ดังนั้น เราจึงอาจนิยามได้ว่า
“กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจ” คือ กฎเกณฑ์ทางกฎหมายมหาชนที่ว่าด้วยการเข้าไปแทรกแซงของรัฐหรือนิติบุคคลมหาชนในทางเศรษฐกิจ
ลักษณะของกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจ
จากนิยามของกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจจเห็นได้ว่า กฎหมายมหาชนสาขานี้มีลักษณะเฉพาะตัวอยู่ 2 ประการ คือ 1. กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจมีลักษณะเป็นพลวัตร และ 2. กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจมีลักษณะผสมผสาน
1. กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจมีลักษณะเป็นพลวัตร
ในแง่ลักษณะที่เป็นพลวัตร (Dynamic) ของกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจเป็นผลสืบเนื่องมาจากความสัมพันธ์ระหว่างวิวัฒนาการของรัฐ (Function of state) ที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย และสำนักคิดทางเศรษฐกิจ (School of economic thought) ที่มีบทบาทในขณะนั้น ด้วยลักษณะดังกล่าวกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจจึงมีลักษณะไม่เป็นกลาง
ลักษณะที่เป็นพลวัตรนี้ ทำให้ในการศึกษากฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจไม่สามารถตัดขาดจากความรู้ทางศาสตร์อื่นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาเศรษฐศาสตร์
2. กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจมีลักษณะผสมผสาน
ในแง่ลักษณะที่เป็นการผสมผสาน (Hybrid) ของกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจนั้น ทำให้แตกต่างจากกฎหมายมหาชนสาขาอื่น เนื่องจากไม่ได้มีลักษณะเป็นกฎหมายมหาชนโดยแท้ แต่มีลักษณะเป็นการผสมผสานเนื้อหาระหว่างกฎหมายมหาชนโดยแท้กับกฎหมายสาขาอื่นๆ และกฎเกณฑ์ทางกฎหมายระหว่างประเทศ
ดังนั้น ในการทำความเข้าใจกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจจึงไม่อาจศึกษาเฉพาะในส่วนที่เป็นกฎหมายแท้ๆ เพียงอย่างเดียวได้ และในขณะเดียวกันก็ไม่สามารถทำความเข้าใจเฉพาะในส่วนที่เป็นหลักการทางกฎหมายมหาชนอย่างเดียวได้
ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจกับกฎหมายอื่น
1. กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ
กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายมหาชนสาขาหนึ่งว่าด้วยตราสารแห่งรัฐ ซึ่งกำหนดรูปแบบของรัฐ ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐด้วยกัน และความสัมพันธ์ทางสิทธิและหน้าที่ระหว่างรัฐกับประชาชน ซึ่งกฎหมายรัฐธรรมนูญนี้เข้ามาสัมพันธ์กับกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจใน 2 ลักษณะ คือ ในส่วนที่เกี่ยวกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ กับในส่วนกำหนดความสัมพันธ์ทางสิทธิและหน้าที่ระหว่างรัฐกับประชาชน โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพในทางเศรษฐกิจ
2. กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจกับกฎหมายปกครอง
กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจกับกฎหมายปกครองมีความใกล้ชิดกันเป็นอย่างมาก เนื่องจากกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจมีการหยิบยืมหลักกฎหมายหรือองค์ความรู้ในทางกฎหมายปกครองมาใช้มากพอสมควร ถึงขนาดในระบบกฎหมายบางประเทศไม่ได้มีการแยกกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจออกมาศึกษาเป็นการเฉพาะ โดยถือว่ากฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายปกครอง หรือที่เรียกว่า “กฎหมายปกครองทางเศรษฐกิจ”
3. กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจกับกฎหมายการคลังสาธารณะ
ในทางกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจมองว่า กฎหมายการคลังสาธารณะเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการแทรกแซงของรัฐในทางเศรษฐกิจ เช่น การอาศัยเครื่องมือทางการคลังที่เป็นภาษี เพื่อเข้าไปสร้างแรงจูงใจทางเศรษฐกิจให้กับเอกชน เป็นต้น
4. กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจกับกฎหมายเอกชนทางเศรษฐกิจ
กฎหมายทั้งสองสาขาถือเอากิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นวัตถุในศึกษา และเป็นสิ่งที่จะถูกกฎหมายบังคับใช้ โดยกฎหมายเอกชนทางเศรษฐกิจ ได้แก่ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่มุ่งหมายกำหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างเอกชนด้วยกันโดยเท่าเทียมกัน และรวมไปถึงเรื่องการจัดโครงสร้างขององค์กรธุรกิจของเอกชนต่างๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีรัฐจำเป็นต้องเข้ามาแทรกแซง ควบคุม และชี้นำแนวทางแก่เอกชนในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของเอกชนเอง ซึ่งเป็นบทบาทของกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจ
5. กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจกับกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจกับกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศมีลักษณะเป็นกฎหมายว่าด้วยเศรษฐกิจเหมือนกัน แต่แตกต่างกันตรงที่ว่า กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจเป็นกฎหมายว่าด้วยการแทรกแซงทางเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยรัฐกำหนดกฎเกณฑ์เหนือเอกชนโดยมีสถานภาพเหนือกว่า และมุ่งเพื่อรักษาประโยชน์มหาชนเป็นการภายใน ในขณะที่กฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศไม่ได้กำหนดความสัมพันธ์เฉพาะระหว่างรัฐกับเอกชน แต่ในบางกรณียังกำหนดความสัมพันธ์ทางสิทธิและหน้าที่ระหว่างเอกชนด้วยกัน หรือระหว่างรัฐกับเอกชน (กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ) และระหว่างรัฐต่อรัฐด้วยกัน หรือระหว่างรัฐกับองค์การระหว่างประเทศ ซึ่งบรรดากฎหมายเหล่านี้เป็นกฎเกณฑ์ทางกฎหมายระหว่างประเทศ ในท้ายที่สุดกฎเกณฑ์ทางกฎหมายเหล่านี้จะเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจ โดยรัฐอธิปไตยยอมรับเอากฎเกณฑ์ทางกฎหมายเหล่านี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายภายประเทศ
กรณีต่างๆ เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจกับกฎหมายสาขาอื่นๆ และกฎเกณฑ์ทางกฎหมายระหว่างประเทศมาเกี่ยวข้องกันในลักษณะใดบ้าง
จากที่ได้กล่าวมาในข้างต้น น่าจะพอทำให้เข้าใจความหมาย และลักษณะคร่าวๆ ของกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจกับกฎหมายสาขาอื่น และกฎเกณฑ์ทางกฎหมายระหว่างประเทศ
อ้างอิง
สมยศ เชื้อไทย, คำอธิบายวิชากฎหมายแพ่ง: หลักทั่วไป, พิมพ์ครั้งที่ 18, (กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2555), น. 119. (กฎหมายเศรษฐกิจ)
บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ, กฎหมายปกครองเศรษฐกิจเยอรมัน, (กรุงเทพฯ: นิติธรรม, 2538), น. 49–55. (ความหมายของกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจ)
สุรพล นิติไกรพจน์, ข้อความคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจ, วารสารนิติศาสตร์, ปีที่ 21 ฉบับที่ 3, 2536, น. 373. (ความหมายของกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจ)
บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจคืออะไร
Highlights:
สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านที่ได้ผ่านเข้ามาอ่านบล็อกนี้ หลายท่านอาจจะเคยได้ยินหรือรู้จักกับกฎหมายมหาชนมาบ้าง แต่ก็อาจจะสงสัยว่ากฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจคืออะไร ? กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายมหาชนหรือไม่ ? ซึ่งในบทความนี้จะได้นำเสนอความหมาย และความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจกับกฎหมายมหาชน
กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจ (Public economic of law) เป็นสาขาหนึ่งของกฎหมายมหาชน โดยเป็นสาขาที่เพิ่งถือกำเนิดขึ้นมาไม่นาน (เมื่อเทียบกับกฎหมายมหาชนสาขาอื่นอย่างกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายปกครอง) และยังอยู่ช่วงพัฒนาหลักการต่างๆ อยู่
ความหมายของกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจ
กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจมีขอบเขตที่แคบกว่า “กฎหมายเศรษฐกิจ” ทำให้ในบางครั้งในการนิยามความหมายของกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจอาจแฝงอยู่ในนิยามของกฎหมายเศรษฐกิจ
ศ.ดร.ปรีดี เกษมทรัพย์ นักกฎหมายคนสำคัญท่านหนึ่ง ได้ให้นิยามของกฎหมายเศรษฐกิจไว้ว่า
ซึ่งจากนิยามดังกล่าวจะเห็นได้ว่า กฎหมายเศรษฐกิจมีความหมายกว้าง เพราะหากเนื้อหาของกฎหมายนั้นเกี่ยวกับกิจกรรมหรือกิจการในทางเศรษฐกิจแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการควบคุม ชี้แนวทาง ส่งเสริม หรือจำกัดการกระทำหรือกิจการทางเศรษฐกิจล้วนเป็นกฎหมายเศรษฐกิจทั้งสิ้น โดยไม่สำคัญว่าเป็นกฎหมายเอกชนทางเศรษฐกิจหรือกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจ
ฉะนั้น หากพิจารณาในลักษณะนี้ กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจจะมีฐานะเป็นกฎหมายเศรษฐกิจในความหมายอย่างแคบ โดยเน้นเฉพาะในกิจกรรมหรือกิจการทางเศรษฐกิจที่รัฐหรือนิติบุคคลมหาชนเป็นผู้กระทำ ดังนั้น เราจึงอาจนิยามได้ว่า
ลักษณะของกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจ
จากนิยามของกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจจเห็นได้ว่า กฎหมายมหาชนสาขานี้มีลักษณะเฉพาะตัวอยู่ 2 ประการ คือ 1. กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจมีลักษณะเป็นพลวัตร และ 2. กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจมีลักษณะผสมผสาน
1. กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจมีลักษณะเป็นพลวัตร
ในแง่ลักษณะที่เป็นพลวัตร (Dynamic) ของกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจเป็นผลสืบเนื่องมาจากความสัมพันธ์ระหว่างวิวัฒนาการของรัฐ (Function of state) ที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย และสำนักคิดทางเศรษฐกิจ (School of economic thought) ที่มีบทบาทในขณะนั้น ด้วยลักษณะดังกล่าวกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจจึงมีลักษณะไม่เป็นกลาง
ลักษณะที่เป็นพลวัตรนี้ ทำให้ในการศึกษากฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจไม่สามารถตัดขาดจากความรู้ทางศาสตร์อื่นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาเศรษฐศาสตร์
2. กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจมีลักษณะผสมผสาน
ในแง่ลักษณะที่เป็นการผสมผสาน (Hybrid) ของกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจนั้น ทำให้แตกต่างจากกฎหมายมหาชนสาขาอื่น เนื่องจากไม่ได้มีลักษณะเป็นกฎหมายมหาชนโดยแท้ แต่มีลักษณะเป็นการผสมผสานเนื้อหาระหว่างกฎหมายมหาชนโดยแท้กับกฎหมายสาขาอื่นๆ และกฎเกณฑ์ทางกฎหมายระหว่างประเทศ
ดังนั้น ในการทำความเข้าใจกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจจึงไม่อาจศึกษาเฉพาะในส่วนที่เป็นกฎหมายแท้ๆ เพียงอย่างเดียวได้ และในขณะเดียวกันก็ไม่สามารถทำความเข้าใจเฉพาะในส่วนที่เป็นหลักการทางกฎหมายมหาชนอย่างเดียวได้
ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจกับกฎหมายอื่น
1. กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ
กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายมหาชนสาขาหนึ่งว่าด้วยตราสารแห่งรัฐ ซึ่งกำหนดรูปแบบของรัฐ ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐด้วยกัน และความสัมพันธ์ทางสิทธิและหน้าที่ระหว่างรัฐกับประชาชน ซึ่งกฎหมายรัฐธรรมนูญนี้เข้ามาสัมพันธ์กับกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจใน 2 ลักษณะ คือ ในส่วนที่เกี่ยวกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ กับในส่วนกำหนดความสัมพันธ์ทางสิทธิและหน้าที่ระหว่างรัฐกับประชาชน โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพในทางเศรษฐกิจ
2. กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจกับกฎหมายปกครอง
กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจกับกฎหมายปกครองมีความใกล้ชิดกันเป็นอย่างมาก เนื่องจากกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจมีการหยิบยืมหลักกฎหมายหรือองค์ความรู้ในทางกฎหมายปกครองมาใช้มากพอสมควร ถึงขนาดในระบบกฎหมายบางประเทศไม่ได้มีการแยกกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจออกมาศึกษาเป็นการเฉพาะ โดยถือว่ากฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายปกครอง หรือที่เรียกว่า “กฎหมายปกครองทางเศรษฐกิจ”
3. กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจกับกฎหมายการคลังสาธารณะ
ในทางกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจมองว่า กฎหมายการคลังสาธารณะเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการแทรกแซงของรัฐในทางเศรษฐกิจ เช่น การอาศัยเครื่องมือทางการคลังที่เป็นภาษี เพื่อเข้าไปสร้างแรงจูงใจทางเศรษฐกิจให้กับเอกชน เป็นต้น
4. กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจกับกฎหมายเอกชนทางเศรษฐกิจ
กฎหมายทั้งสองสาขาถือเอากิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นวัตถุในศึกษา และเป็นสิ่งที่จะถูกกฎหมายบังคับใช้ โดยกฎหมายเอกชนทางเศรษฐกิจ ได้แก่ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่มุ่งหมายกำหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างเอกชนด้วยกันโดยเท่าเทียมกัน และรวมไปถึงเรื่องการจัดโครงสร้างขององค์กรธุรกิจของเอกชนต่างๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีรัฐจำเป็นต้องเข้ามาแทรกแซง ควบคุม และชี้นำแนวทางแก่เอกชนในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของเอกชนเอง ซึ่งเป็นบทบาทของกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจ
5. กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจกับกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจกับกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศมีลักษณะเป็นกฎหมายว่าด้วยเศรษฐกิจเหมือนกัน แต่แตกต่างกันตรงที่ว่า กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจเป็นกฎหมายว่าด้วยการแทรกแซงทางเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยรัฐกำหนดกฎเกณฑ์เหนือเอกชนโดยมีสถานภาพเหนือกว่า และมุ่งเพื่อรักษาประโยชน์มหาชนเป็นการภายใน ในขณะที่กฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศไม่ได้กำหนดความสัมพันธ์เฉพาะระหว่างรัฐกับเอกชน แต่ในบางกรณียังกำหนดความสัมพันธ์ทางสิทธิและหน้าที่ระหว่างเอกชนด้วยกัน หรือระหว่างรัฐกับเอกชน (กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ) และระหว่างรัฐต่อรัฐด้วยกัน หรือระหว่างรัฐกับองค์การระหว่างประเทศ ซึ่งบรรดากฎหมายเหล่านี้เป็นกฎเกณฑ์ทางกฎหมายระหว่างประเทศ ในท้ายที่สุดกฎเกณฑ์ทางกฎหมายเหล่านี้จะเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจ โดยรัฐอธิปไตยยอมรับเอากฎเกณฑ์ทางกฎหมายเหล่านี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายภายประเทศ
กรณีต่างๆ เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจกับกฎหมายสาขาอื่นๆ และกฎเกณฑ์ทางกฎหมายระหว่างประเทศมาเกี่ยวข้องกันในลักษณะใดบ้าง
จากที่ได้กล่าวมาในข้างต้น น่าจะพอทำให้เข้าใจความหมาย และลักษณะคร่าวๆ ของกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจกับกฎหมายสาขาอื่น และกฎเกณฑ์ทางกฎหมายระหว่างประเทศ
อ้างอิง
สมยศ เชื้อไทย, คำอธิบายวิชากฎหมายแพ่ง: หลักทั่วไป, พิมพ์ครั้งที่ 18, (กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2555), น. 119. (กฎหมายเศรษฐกิจ)
บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ, กฎหมายปกครองเศรษฐกิจเยอรมัน, (กรุงเทพฯ: นิติธรรม, 2538), น. 49–55. (ความหมายของกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจ)
สุรพล นิติไกรพจน์, ข้อความคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจ, วารสารนิติศาสตร์, ปีที่ 21 ฉบับที่ 3, 2536, น. 373. (ความหมายของกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจ)
บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง