ได้อ่านบทความหนึ่งของ ดร. โกร่ง วีรพงษ์ รามางกูร ชื่อ “นักเศรษฐศาสตร์ นักรัฐศาสตร์ และนักกฎหมาย ซึ่งในบทความพูดเป็นภาพแทน (Stereotype) ของ 3 นักที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ โดยบางส่วนเป็นเนื้อหาที่มาจากปาฐกถาของ ดร.โยฮัน เกาตุง พูดถึงศาสตร์ 3 ศาสตร์ ที่เกี่ยวกับพฤติกรรมคน
โดย ดร.โยฮัน เกาตุง ได้เปรียบเทียบนักเศรษฐศาสตร์เหมือนกับคนที่ถูกปิดตาทั้งสองข้างและให้เข้าไปในห้องมืดแล้วโยนแมวเข้าไปในห้องให้จับ นักเศรษฐศาสตร์ก็พยายามจับแมวเท่าไหร่ก็จับไม่ได้เพราะถูกผ้าปิดตาเอาไว้แถมห้องก็ยังมืดแต่ก็รีบไล่จับแมวอยู่นั่นเองไม่เคยจับได้แต่ก็ไม่ยอมเลิกจับ จนคนข้างนอกบอกให้เลิกจับ
ส่วนนักรัฐศาสตร์ซึ่งรวมทั้งพวกนักการเมืองเหมือนกับคนที่ถูกปิดตาไว้ให้จับแมวในห้องมืดเหมือนกัน แต่นักรัฐศาสตร์ผู้นั้นจะพยายามวิ่งไปวิ่งมาอยู่พักหนึ่ง และสักพักก็จะตะโกนบอกว่า “จับแมวได้แล้ว” แต่ไม่ยอมชูแมวให้ดู ซึ่งคนอุ้มแมวอยู่ก็จะตกใจ และตะโกนกลับไปว่า “ยังไม่ได้โยนแมวเข้าไปในห้องเลย” แต่นักรัฐศาสตร์ก็ยังยืนยันว่าเขาจับแมวได้แล้ว
ส่วนนักกฎหมายนั้นเหมือนคนที่ถูกปิดตา ให้เข้าไปจับแมวในห้องมืด หลังจากที่โยนแมวเข้าไปในห้องแล้ว นักนิติศาสตร์ผู้นั้นก็จะเช่นเดียวกันกับผู้อื่นคือ พยายามวิ่งไล่จับแมว แต่จับเท่าไหร่ก็จับไม่ได้ แต่ก็ไม่ยอมแพ้ พยายามไล่จับอยู่นั้นเอง จนสักพักหนึ่งก็หยุด ดึงผ้าผูกตาออกแล้วตะโกนออกมาว่า “รู้แลัว จะออกกฎหมายให้แมวมามอบตัว”
ความน่าสนใจของบทความนี้อยู่ที่ว่า สิ่งที่ ดร.โกร่ง ต้องการสื่อเมื่อพูดถึง การพยายามแก้ไขปัญหาเรื่องหนึ่งๆ โดยเปรียบเทียบวิธีแก้ปัญหาโดยอาศัยศาสตร์ทั้ง 3 ศาสตร์ข้างต้น คือ
นักเศรษฐศาสตร์ถูกล้อว่าไม่เคยแก้ปัญหาได้ หรือแก้ได้ก็ไม่ตรงจุด และไม่เคยลงรอยกันในระหว่างพวกเดียวกัน (ระหว่างเศรษฐศาสตร์แนวนีโอคลาสสิกกับแนวเคนส์)
ส่วนนักรัฐศาสตร์นั้นไม่มีอะไรทำไม่ได้ เพราะแม้ว่าขนาดแมวยังไม่ถูกปล่อยนักรัฐศาสตร์ก็สามารถบอกว่าทำได้ กล่าวคือ หลายเรื่องนั้นที่คิดว่าเป็นเรื่องจริง แต่ไม่ใช่เรื่องจริง เป็นเรื่องที่นักการเมืองหลอก (ลองนึกถึงเวลาที่นักการเมืองหาเสียงและสัญญาเอาไว้กับประชาชนเพื่อให้ได้คะแนนเสียงไป)
และนักกฎหมายมักชอบคิดว่า ปัญหาทุกอย่างแก้ไขได้โดยอาศัยการออกกฎหมายใช้บังคับ
แม้จะไม่ได้พูดตรงๆ แต่สิ่งที่คิดได้หลังจากการอ่านบทความนี้ คือ การอย่ามองปัญหาในเรื่องหนึ่งผ่านแว่นตาของศาสตร์ใดเพียงศาสตร์หนึ่ง แต่จะต้องมองผ่านแว่นตาโดยใช้วิธีการมองแบบสหวิชาการ เพื่อให้ในการมองหาแนวทางการแก้ไขปัญหาในเรื่องหนึ่งครอบคลุม และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างดีที่สุด เพราะถ้าหากใช้เพียงศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งแล้ว ก็อาจไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้จริงๆ อย่างเช่น หากใช้โมเดลเศรษฐศาสตร์อย่างเดียว โดยปราศจากเจตจำนงค์ทางการเมืองแล้ว (Political Will) การแก้ไขปัญหาก็อาจไม่สำเร็จ เพราะขาดแรงสนับสนุนทางการเมือง หรือในขณะเดียวกันการอาศัยกฎหมายอย่างเดียวโดยปราศจากองค์ความรู้ทางด้านอื่น กลไกทางกฎหมายก็อาจจะบกพร่องและกลายเป็นการซ้ำเติมปัญหาไปในที่สุด และในท้ายที่สุดการอาศัยเพียงแค่เจตจำนงค์ทางการเมืองอย่างเดียวโดยไม่พิจารณาสิ่งอื่นเลยสังคมก็อาจจะมีปัญหาทางการเมืองไม่จบไม่สิ้น
บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง
นักเศรษฐศาสตร์ นักรัฐศาสตร์ และนักกฎหมาย
ได้อ่านบทความหนึ่งของ ดร. โกร่ง วีรพงษ์ รามางกูร ชื่อ “นักเศรษฐศาสตร์ นักรัฐศาสตร์ และนักกฎหมาย ซึ่งในบทความพูดเป็นภาพแทน (Stereotype) ของ 3 นักที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ โดยบางส่วนเป็นเนื้อหาที่มาจากปาฐกถาของ ดร.โยฮัน เกาตุง พูดถึงศาสตร์ 3 ศาสตร์ ที่เกี่ยวกับพฤติกรรมคน
โดย ดร.โยฮัน เกาตุง ได้เปรียบเทียบนักเศรษฐศาสตร์เหมือนกับคนที่ถูกปิดตาทั้งสองข้างและให้เข้าไปในห้องมืดแล้วโยนแมวเข้าไปในห้องให้จับ นักเศรษฐศาสตร์ก็พยายามจับแมวเท่าไหร่ก็จับไม่ได้เพราะถูกผ้าปิดตาเอาไว้แถมห้องก็ยังมืดแต่ก็รีบไล่จับแมวอยู่นั่นเองไม่เคยจับได้แต่ก็ไม่ยอมเลิกจับ จนคนข้างนอกบอกให้เลิกจับ
ส่วนนักรัฐศาสตร์ซึ่งรวมทั้งพวกนักการเมืองเหมือนกับคนที่ถูกปิดตาไว้ให้จับแมวในห้องมืดเหมือนกัน แต่นักรัฐศาสตร์ผู้นั้นจะพยายามวิ่งไปวิ่งมาอยู่พักหนึ่ง และสักพักก็จะตะโกนบอกว่า “จับแมวได้แล้ว” แต่ไม่ยอมชูแมวให้ดู ซึ่งคนอุ้มแมวอยู่ก็จะตกใจ และตะโกนกลับไปว่า “ยังไม่ได้โยนแมวเข้าไปในห้องเลย” แต่นักรัฐศาสตร์ก็ยังยืนยันว่าเขาจับแมวได้แล้ว
ส่วนนักกฎหมายนั้นเหมือนคนที่ถูกปิดตา ให้เข้าไปจับแมวในห้องมืด หลังจากที่โยนแมวเข้าไปในห้องแล้ว นักนิติศาสตร์ผู้นั้นก็จะเช่นเดียวกันกับผู้อื่นคือ พยายามวิ่งไล่จับแมว แต่จับเท่าไหร่ก็จับไม่ได้ แต่ก็ไม่ยอมแพ้ พยายามไล่จับอยู่นั้นเอง จนสักพักหนึ่งก็หยุด ดึงผ้าผูกตาออกแล้วตะโกนออกมาว่า “รู้แลัว จะออกกฎหมายให้แมวมามอบตัว”
ความน่าสนใจของบทความนี้อยู่ที่ว่า สิ่งที่ ดร.โกร่ง ต้องการสื่อเมื่อพูดถึง การพยายามแก้ไขปัญหาเรื่องหนึ่งๆ โดยเปรียบเทียบวิธีแก้ปัญหาโดยอาศัยศาสตร์ทั้ง 3 ศาสตร์ข้างต้น คือ
นักเศรษฐศาสตร์ถูกล้อว่าไม่เคยแก้ปัญหาได้ หรือแก้ได้ก็ไม่ตรงจุด และไม่เคยลงรอยกันในระหว่างพวกเดียวกัน (ระหว่างเศรษฐศาสตร์แนวนีโอคลาสสิกกับแนวเคนส์)
ส่วนนักรัฐศาสตร์นั้นไม่มีอะไรทำไม่ได้ เพราะแม้ว่าขนาดแมวยังไม่ถูกปล่อยนักรัฐศาสตร์ก็สามารถบอกว่าทำได้ กล่าวคือ หลายเรื่องนั้นที่คิดว่าเป็นเรื่องจริง แต่ไม่ใช่เรื่องจริง เป็นเรื่องที่นักการเมืองหลอก (ลองนึกถึงเวลาที่นักการเมืองหาเสียงและสัญญาเอาไว้กับประชาชนเพื่อให้ได้คะแนนเสียงไป)
และนักกฎหมายมักชอบคิดว่า ปัญหาทุกอย่างแก้ไขได้โดยอาศัยการออกกฎหมายใช้บังคับ
แม้จะไม่ได้พูดตรงๆ แต่สิ่งที่คิดได้หลังจากการอ่านบทความนี้ คือ การอย่ามองปัญหาในเรื่องหนึ่งผ่านแว่นตาของศาสตร์ใดเพียงศาสตร์หนึ่ง แต่จะต้องมองผ่านแว่นตาโดยใช้วิธีการมองแบบสหวิชาการ เพื่อให้ในการมองหาแนวทางการแก้ไขปัญหาในเรื่องหนึ่งครอบคลุม และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างดีที่สุด เพราะถ้าหากใช้เพียงศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งแล้ว ก็อาจไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้จริงๆ อย่างเช่น หากใช้โมเดลเศรษฐศาสตร์อย่างเดียว โดยปราศจากเจตจำนงค์ทางการเมืองแล้ว (Political Will) การแก้ไขปัญหาก็อาจไม่สำเร็จ เพราะขาดแรงสนับสนุนทางการเมือง หรือในขณะเดียวกันการอาศัยกฎหมายอย่างเดียวโดยปราศจากองค์ความรู้ทางด้านอื่น กลไกทางกฎหมายก็อาจจะบกพร่องและกลายเป็นการซ้ำเติมปัญหาไปในที่สุด และในท้ายที่สุดการอาศัยเพียงแค่เจตจำนงค์ทางการเมืองอย่างเดียวโดยไม่พิจารณาสิ่งอื่นเลยสังคมก็อาจจะมีปัญหาทางการเมืองไม่จบไม่สิ้น
บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง