วันนี้คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดบรรยายในหัวข้อ L’esthétique et le droit de l’urbanisme / ความงามและกฎหมายผังเมือง โดยเชิญ Prof. Jacqueline Morand-Deviller ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ด้านกฎหมายมหาชนจากประเทศฝรั่งเศสมาบรรยาย ซึ่งมีหลายประเด็นที่มีความน่าสนใจในเชิงกฎหมาย
ประเด็นที่คิดว่ามีความน่าสนใจหลังจากได้ฟังการบรรยายของ Prof. Jacqueline ก็คือ โดยทั่วไปแล้วกฎหมายมักจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับสังคมในมิติต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชีวิตมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย แต่เมื่อพูดถึงความงามแล้วยังเป็นหัวข้อที่กฎหมายเข้าไปเกี่ยวข้องน้อยมากโดยเฉพาะเมื่อพิจารณาในเชิงปรัชญา เพราะเมื่อพูดถึงปรัชญากับกฎหมายแล้วสาขาสำคัญของปรัชญาที่มักจะถูกพูดถึงก็คือ จริยศาสาตร์ (Ethics) ซึ่งมักตั้งคำถามเกี่ยวกับความดี และอะไรคือความดี โดยบ่อยครั้งเรื่องในทางจริยศาสตร์นั้นมักจะถูกเชื่อมโยงกับกฎหมายในฐานะที่กฎหมายเป็นเครื่องมือในการกำหนดบรรทัดฐานทางสังคม (norm) อย่างหนึ่ง
อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมานั้นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับความงามนั้นยังคงถูกพูดถึงน้อยมาก ครั้งหนึ่งเราได้มีโอกาสถามผู้บรรยายวิชานิติปรัชญา ในชั้นเรียนสมัยปริญญาตรีปีที่ 4 ว่า กฎหมายเข้าไปสัมพันธ์กับสุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) อย่างไร ซึ่งผู้บรรยายในวิชานั้นได้ให้คำตอบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายและความงามนั้นไม่ได้เกี่ยวพันกันมาก โดยหากจะพูดถึงกฎหมายกับความงามนั้นอาจจะเป็นเรื่องการบัญญัติกฎหมายอย่างไรให้สวยงามมากกว่า ซึ่งในความเห็นส่วนตัวนั้นการอธิบายในลักษณะดังกล่าวก็เป็นการละเลยกฎหมายกับความงามในบริบทอื่นๆ เช่น กฎหมายกับการประเมินค่าของความงาม เป็นต้น ซึ่งประเด็นนี้ก็มาปรากฏในการบรรยายวันนี้
กฎหมายกับความงามในกรณีนี้ผู้บรรยายยกตัวอย่างกรณีของกฎหมายผังเมือง กฎหมายควบคุมอาคาร และกฎหมายสิ่งแวดล้อม ประเด็นสำคัญของเรื่องก็คือ เมื่อกฎหมายมีลักษณะเป็นนามธรรม ซึ่งส่วนใหญ่นั้นเป็นเรื่องภาววิสัย แต่ความงามนั้นเป็นได้ทั้งเรื่องภาววิสัย ซึ่งทุกคนสามารถสัมผัสได้ถึงความงามเป็นการทั่วไป และอัตวิสัย ซึ่งไม่ใช่ทุกคนจะสัมผัสได้ถึงความงามนั้น
การที่ความงามนั้นไม่มีความแน่นอนแบบนี้ในทางกฎหมาย จึงไม่ทำให้เกิดปัญหาได้ว่า เมื่อต้องให้ลักษณะกฎหมายกับข้อเท็จจริง (หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “ปรับบท”) นั้นจะทำอย่างไร ในทางปฏิบัติแล้วหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่วินิจฉัยตีความกฎหมาย โดยเฉพาะในกรณีของสภาแห่งรัฐ (Conseil d’Etat) หรือศาลปกครองของสาธารณรัฐฝรั่งเศส จะไม่นำประเด็นเรื่องความงามมาประกอบการพิจารณาเพื่อบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย (public order) ซึ่งเป็นเรื่องที่ศาลจะต้องประเมินค่าความงาม โดยศาลจะปล่อยให้เป็นการใช้ดุลพินิจของฝ่ายปกครอง
อย่างไรก็ตาม แม้ว่านักกฎหมายจะไม่ชอบประเด็นเรื่อง “ความงาม” เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการประเมินค่า แต่ในปัจจุบันก็ได้มีความพยายามศึกษาเรื่องกฎหมายและความงามมากขึ้น โดยเฉพาะโครงสร้างของบทบัญญัติเกี่ยวกับความงามในแง่มุมต่างๆ ผ่านกฎหมายสำคัญ เช่น กฎหมายผังเมือง กฎหมายควบคุมอาคาร และกฎหมายสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
การปรากฏตัวของบทบัญญัติเกี่ยวกับความงามนั้นมักจะเกี่ยวข้องกับกรณีของสถานที่ เช่น การคุ้มครองพื้นที่มรดกทางวัฒนธรรม เป็นต้น ซึ่งรวมไปถึงการวางระบบของกฎหมายที่เก่ียวข้องกับวิธีการในการรักษาความงามของสถานที่ อย่างไรก็ดี ในท้ายที่สุดเมื่อเป็นเรื่องกฎหมายแล้วก็ต้องมีการปรับบท ซึ่งทำให้ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงเรื่องการประเมินค่าความงามตามกฎหมายไปได้อยู่ดี
บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายและความงาม
วันนี้คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดบรรยายในหัวข้อ L’esthétique et le droit de l’urbanisme / ความงามและกฎหมายผังเมือง โดยเชิญ Prof. Jacqueline Morand-Deviller ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ด้านกฎหมายมหาชนจากประเทศฝรั่งเศสมาบรรยาย ซึ่งมีหลายประเด็นที่มีความน่าสนใจในเชิงกฎหมาย
ประเด็นที่คิดว่ามีความน่าสนใจหลังจากได้ฟังการบรรยายของ Prof. Jacqueline ก็คือ โดยทั่วไปแล้วกฎหมายมักจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับสังคมในมิติต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชีวิตมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย แต่เมื่อพูดถึงความงามแล้วยังเป็นหัวข้อที่กฎหมายเข้าไปเกี่ยวข้องน้อยมากโดยเฉพาะเมื่อพิจารณาในเชิงปรัชญา เพราะเมื่อพูดถึงปรัชญากับกฎหมายแล้วสาขาสำคัญของปรัชญาที่มักจะถูกพูดถึงก็คือ จริยศาสาตร์ (Ethics) ซึ่งมักตั้งคำถามเกี่ยวกับความดี และอะไรคือความดี โดยบ่อยครั้งเรื่องในทางจริยศาสตร์นั้นมักจะถูกเชื่อมโยงกับกฎหมายในฐานะที่กฎหมายเป็นเครื่องมือในการกำหนดบรรทัดฐานทางสังคม (norm) อย่างหนึ่ง
อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมานั้นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับความงามนั้นยังคงถูกพูดถึงน้อยมาก ครั้งหนึ่งเราได้มีโอกาสถามผู้บรรยายวิชานิติปรัชญา ในชั้นเรียนสมัยปริญญาตรีปีที่ 4 ว่า กฎหมายเข้าไปสัมพันธ์กับสุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) อย่างไร ซึ่งผู้บรรยายในวิชานั้นได้ให้คำตอบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายและความงามนั้นไม่ได้เกี่ยวพันกันมาก โดยหากจะพูดถึงกฎหมายกับความงามนั้นอาจจะเป็นเรื่องการบัญญัติกฎหมายอย่างไรให้สวยงามมากกว่า ซึ่งในความเห็นส่วนตัวนั้นการอธิบายในลักษณะดังกล่าวก็เป็นการละเลยกฎหมายกับความงามในบริบทอื่นๆ เช่น กฎหมายกับการประเมินค่าของความงาม เป็นต้น ซึ่งประเด็นนี้ก็มาปรากฏในการบรรยายวันนี้
กฎหมายกับความงามในกรณีนี้ผู้บรรยายยกตัวอย่างกรณีของกฎหมายผังเมือง กฎหมายควบคุมอาคาร และกฎหมายสิ่งแวดล้อม ประเด็นสำคัญของเรื่องก็คือ เมื่อกฎหมายมีลักษณะเป็นนามธรรม ซึ่งส่วนใหญ่นั้นเป็นเรื่องภาววิสัย แต่ความงามนั้นเป็นได้ทั้งเรื่องภาววิสัย ซึ่งทุกคนสามารถสัมผัสได้ถึงความงามเป็นการทั่วไป และอัตวิสัย ซึ่งไม่ใช่ทุกคนจะสัมผัสได้ถึงความงามนั้น
การที่ความงามนั้นไม่มีความแน่นอนแบบนี้ในทางกฎหมาย จึงไม่ทำให้เกิดปัญหาได้ว่า เมื่อต้องให้ลักษณะกฎหมายกับข้อเท็จจริง (หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “ปรับบท”) นั้นจะทำอย่างไร ในทางปฏิบัติแล้วหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่วินิจฉัยตีความกฎหมาย โดยเฉพาะในกรณีของสภาแห่งรัฐ (Conseil d’Etat) หรือศาลปกครองของสาธารณรัฐฝรั่งเศส จะไม่นำประเด็นเรื่องความงามมาประกอบการพิจารณาเพื่อบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย (public order) ซึ่งเป็นเรื่องที่ศาลจะต้องประเมินค่าความงาม โดยศาลจะปล่อยให้เป็นการใช้ดุลพินิจของฝ่ายปกครอง
อย่างไรก็ตาม แม้ว่านักกฎหมายจะไม่ชอบประเด็นเรื่อง “ความงาม” เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการประเมินค่า แต่ในปัจจุบันก็ได้มีความพยายามศึกษาเรื่องกฎหมายและความงามมากขึ้น โดยเฉพาะโครงสร้างของบทบัญญัติเกี่ยวกับความงามในแง่มุมต่างๆ ผ่านกฎหมายสำคัญ เช่น กฎหมายผังเมือง กฎหมายควบคุมอาคาร และกฎหมายสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
การปรากฏตัวของบทบัญญัติเกี่ยวกับความงามนั้นมักจะเกี่ยวข้องกับกรณีของสถานที่ เช่น การคุ้มครองพื้นที่มรดกทางวัฒนธรรม เป็นต้น ซึ่งรวมไปถึงการวางระบบของกฎหมายที่เก่ียวข้องกับวิธีการในการรักษาความงามของสถานที่ อย่างไรก็ดี ในท้ายที่สุดเมื่อเป็นเรื่องกฎหมายแล้วก็ต้องมีการปรับบท ซึ่งทำให้ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงเรื่องการประเมินค่าความงามตามกฎหมายไปได้อยู่ดี
บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง