ภาพประกอบจาก: shout factory tv
ในช่วงปี ค.ศ. 1954-1960 มีซีรีย์อเมริกันเรื่องหนึ่งชื่อว่า Father Knows Best เล่าถึงครอบครัวหนึ่งชนชั้นกลางครอบครัวหนึ่งที่มีพ่อเป็นผู้นำครอบครัวและเป็นหัวใจสำคัญและสีสันของเรื่อง ความรู้ดีของคุณพ่อเป็นตัวจุดประกายประเด็นและตั้งคำถามเป็นจำนวนมาก ซึ่งเมื่อมองพ่อในฐานะหัวหน้าครอบครัวแล้ว
ซึ่งหากเปรียบบทบาทของรัฐเสมือนพ่อและประชาชนทุกคนเป็นลูก บทบาทของพ่อก็ต้องเป็นการปกป้องคุ้มครองลูกจากอันตรายจากทั้งภายนอกและจากตัวของลูกเอง เช่นเดียวกับที่พ่อเเม่ส่วนใหญ่บอกลูกว่าลูกควรกินอะไร ควรจะนอนเมื่อไร ควรจะระมัดระวังตัวอย่างไร และควรเรียนอะไร โดยเชื่อว่าเข้าใจความต้องการของลูกดี แม้ส่วนหนึ่งสิ่งเหล่านี้จะมาจากความเป็นห่วงเป็นใยก็ตาม แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือการที่พ่อแม่ตัดสินใจแทนลูกหรือกำหนดวิถีชีวิตแทนลูกไปเสียทุกเรื่องสิ่งที่ตามมาคือ การปิดกั้นเสรีภาพและโอกาสที่ลูกจะตัดสินใจเลือกด้วยตัวเอง จนในท้ายที่สุดลูกจะไม่รู้จักความต้องการที่แท้จริงของตัวเองไปในที่สุด
แนวคิดเช่นนี้เองก็ปรากฏอยู่ในบทบาทของรัฐเช่นกันและแสดงออกผ่านทางตัวบทกฎหมายจำนวนมาก ซึ่งเรียกว่ากฎหมายแบบปิตาธิปไตยกฎหมายแบบปิตาธิปไตย (Legal Paternalism) เป็นคำที่เราใช้เรียกกฎหมายที่ตั้งอยู่บนแนวคิดที่ว่า รัฐเข้าใจความต้องการของปักเจกบุคคลดี (ในบางครั้งคิดว่าดีกว่าตัวปัจเจกบุคคลเองเสียอีก) โดยรัฐออกกฎหมายมามีวัตถุประสงค์เพื่อบังคับให้ปัจเจกบุคคลปฏิบัติตาม เพื่อหลีกเลี่ยงผลอันไม่พึงปรารถนา
ตัวอย่างเช่น ในเรื่องของการทำนิติกรรมกฎหมายยอมรับเสรีภาพในการทำสัญญา (Freedom of Contract) ซึ่งเป็นหลักหนึ่งในหลักอิสระทางแพ่ง (Private Autonomy) ที่เคารพการตัดสินใจของเอกชนภายใต้ขอบเขตที่กฎหมายกำหนด (ตราบเท่าที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น)
อย่างไรก็ตามแม้บุคคลจะมีเสรีภาพในการทำสัญญา แต่ก็อาจมีข้อจำกัดซึ่งรัฐกำหนดขึ้นให้บุคคลต้องปฏิบัติตาม เช่น การปกป้องผู้เยาว์ คนวิกลจริต คนไร้ความสามารถในการทำนิติกรรมโดยจำกัดความสามารถของเขา เพื่อไม่ให้บุคคลเหล่านั้นไปทำนิติกรรมที่อาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่ตนเองกฎหมายจึงเข้ามาคุ้มครองการแสดงเจตนา หรือในเรื่องละเมิดซึ่งมีหลักการสำคัญอย่างหลักความยินยอมไม่ทำให้เป็นละเมิด (Volenti non fit injuria) ดังปรากฏอยู่ในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 บัญญัติว่า “ความตกลงหรือความยินยอมของผู้เสียหายสำหรับการกระทำที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จะนำมาอ้างเป็นเหตุยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเพื่อละเมิดมิได้”
เหล่านี้เป็นตัวอย่างของกฎหมายแบบปิตาธิปไตย ซึ่งล้วนมีลักษณะเป็นการเข้ามาตัดสินใจแทนเจตจำนงของบุคคลที่ศาลและกฎหมายเห็นสมควรเข้ามาแทรกแซงด้วยเหตุผลของความสงบเรียบร้อยทางศีลธรรม หรือนโยบายสาธารณะ
ในบางครั้งกฎหมายแบบปิตาธิปไตยนั้นก็มีข้อดีและมีความจำเป็นเพื่อคุ้มครองประชาชนตามเหตุผลของเรื่อง ดังตัวอย่างที่ได้เล่าไปแล้วคือ ในเรื่องของการจำกัดความสามารถของบุคคล การทำนิติกรรมที่ฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เช่น การทำสัญญายอมเป็นตนลงเป็นทาส หรือทำสัญญายอมให้ผู้หญิงเป็นภริยาคนที่สอง หรือการมิให้เอาเรื่องความยินยอมมาใช้ในเรื่องที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือในกฎหมายอาญาต่าง ๆ
แต่อย่างไรก็ตามการนำแนวคิดแบบปิตาธิปไตยไปใช้ในทุกเรื่องของสังคมก็อาจไม่ถูกต้อง เพราะเป็นการจำกัดเสรีภาพในการเลือกโดยการเข้ามาตัดสินใจแทนบุคคล และในขณะเดียวกันการออกกฎหมายนั้นย่อมส่งผลกระทบในแง่ของการเพิ่มต้นทุนให้กับเอกชน การที่รัฐจะเป็นคุณพ่อรู้ดีได้นั้น รัฐเองก็ต้องมีความเข้าใจในเรื่องนั้นหรือมีข้อมูลที่มากพอ (บางครั้งอาจต้องมากพอเข้าไปถึงจิตใจและวิธีคิดของประชาชน) แต่ปัญหาก็คือมุมมองการแก้ปัญหาของรัฐส่วนใหญ่มักจะเป็นในทิศทางการตัดสินใจจากเบื้องบน (Top-down)
บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายกับการเป็นคุณพ่อรู้ดีของรัฐ
ภาพประกอบจาก: shout factory tv
ในช่วงปี ค.ศ. 1954-1960 มีซีรีย์อเมริกันเรื่องหนึ่งชื่อว่า Father Knows Best เล่าถึงครอบครัวหนึ่งชนชั้นกลางครอบครัวหนึ่งที่มีพ่อเป็นผู้นำครอบครัวและเป็นหัวใจสำคัญและสีสันของเรื่อง ความรู้ดีของคุณพ่อเป็นตัวจุดประกายประเด็นและตั้งคำถามเป็นจำนวนมาก ซึ่งเมื่อมองพ่อในฐานะหัวหน้าครอบครัวแล้ว
ซึ่งหากเปรียบบทบาทของรัฐเสมือนพ่อและประชาชนทุกคนเป็นลูก บทบาทของพ่อก็ต้องเป็นการปกป้องคุ้มครองลูกจากอันตรายจากทั้งภายนอกและจากตัวของลูกเอง เช่นเดียวกับที่พ่อเเม่ส่วนใหญ่บอกลูกว่าลูกควรกินอะไร ควรจะนอนเมื่อไร ควรจะระมัดระวังตัวอย่างไร และควรเรียนอะไร โดยเชื่อว่าเข้าใจความต้องการของลูกดี แม้ส่วนหนึ่งสิ่งเหล่านี้จะมาจากความเป็นห่วงเป็นใยก็ตาม แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือการที่พ่อแม่ตัดสินใจแทนลูกหรือกำหนดวิถีชีวิตแทนลูกไปเสียทุกเรื่องสิ่งที่ตามมาคือ การปิดกั้นเสรีภาพและโอกาสที่ลูกจะตัดสินใจเลือกด้วยตัวเอง จนในท้ายที่สุดลูกจะไม่รู้จักความต้องการที่แท้จริงของตัวเองไปในที่สุด
แนวคิดเช่นนี้เองก็ปรากฏอยู่ในบทบาทของรัฐเช่นกันและแสดงออกผ่านทางตัวบทกฎหมายจำนวนมาก ซึ่งเรียกว่ากฎหมายแบบปิตาธิปไตยกฎหมายแบบปิตาธิปไตย (Legal Paternalism) เป็นคำที่เราใช้เรียกกฎหมายที่ตั้งอยู่บนแนวคิดที่ว่า รัฐเข้าใจความต้องการของปักเจกบุคคลดี (ในบางครั้งคิดว่าดีกว่าตัวปัจเจกบุคคลเองเสียอีก) โดยรัฐออกกฎหมายมามีวัตถุประสงค์เพื่อบังคับให้ปัจเจกบุคคลปฏิบัติตาม เพื่อหลีกเลี่ยงผลอันไม่พึงปรารถนา
ตัวอย่างเช่น ในเรื่องของการทำนิติกรรมกฎหมายยอมรับเสรีภาพในการทำสัญญา (Freedom of Contract) ซึ่งเป็นหลักหนึ่งในหลักอิสระทางแพ่ง (Private Autonomy) ที่เคารพการตัดสินใจของเอกชนภายใต้ขอบเขตที่กฎหมายกำหนด (ตราบเท่าที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น)
อย่างไรก็ตามแม้บุคคลจะมีเสรีภาพในการทำสัญญา แต่ก็อาจมีข้อจำกัดซึ่งรัฐกำหนดขึ้นให้บุคคลต้องปฏิบัติตาม เช่น การปกป้องผู้เยาว์ คนวิกลจริต คนไร้ความสามารถในการทำนิติกรรมโดยจำกัดความสามารถของเขา เพื่อไม่ให้บุคคลเหล่านั้นไปทำนิติกรรมที่อาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่ตนเองกฎหมายจึงเข้ามาคุ้มครองการแสดงเจตนา หรือในเรื่องละเมิดซึ่งมีหลักการสำคัญอย่างหลักความยินยอมไม่ทำให้เป็นละเมิด (Volenti non fit injuria) ดังปรากฏอยู่ในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 บัญญัติว่า “ความตกลงหรือความยินยอมของผู้เสียหายสำหรับการกระทำที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จะนำมาอ้างเป็นเหตุยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเพื่อละเมิดมิได้”
เหล่านี้เป็นตัวอย่างของกฎหมายแบบปิตาธิปไตย ซึ่งล้วนมีลักษณะเป็นการเข้ามาตัดสินใจแทนเจตจำนงของบุคคลที่ศาลและกฎหมายเห็นสมควรเข้ามาแทรกแซงด้วยเหตุผลของความสงบเรียบร้อยทางศีลธรรม หรือนโยบายสาธารณะ
ในบางครั้งกฎหมายแบบปิตาธิปไตยนั้นก็มีข้อดีและมีความจำเป็นเพื่อคุ้มครองประชาชนตามเหตุผลของเรื่อง ดังตัวอย่างที่ได้เล่าไปแล้วคือ ในเรื่องของการจำกัดความสามารถของบุคคล การทำนิติกรรมที่ฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เช่น การทำสัญญายอมเป็นตนลงเป็นทาส หรือทำสัญญายอมให้ผู้หญิงเป็นภริยาคนที่สอง หรือการมิให้เอาเรื่องความยินยอมมาใช้ในเรื่องที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือในกฎหมายอาญาต่าง ๆ
แต่อย่างไรก็ตามการนำแนวคิดแบบปิตาธิปไตยไปใช้ในทุกเรื่องของสังคมก็อาจไม่ถูกต้อง เพราะเป็นการจำกัดเสรีภาพในการเลือกโดยการเข้ามาตัดสินใจแทนบุคคล และในขณะเดียวกันการออกกฎหมายนั้นย่อมส่งผลกระทบในแง่ของการเพิ่มต้นทุนให้กับเอกชน การที่รัฐจะเป็นคุณพ่อรู้ดีได้นั้น รัฐเองก็ต้องมีความเข้าใจในเรื่องนั้นหรือมีข้อมูลที่มากพอ (บางครั้งอาจต้องมากพอเข้าไปถึงจิตใจและวิธีคิดของประชาชน) แต่ปัญหาก็คือมุมมองการแก้ปัญหาของรัฐส่วนใหญ่มักจะเป็นในทิศทางการตัดสินใจจากเบื้องบน (Top-down)
บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง