การเกิดขึ้นของวิถีการผลิตแบบทุนนิยมมีส่วนสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมมนุษย์โดยเฉพาะการแยกผู้ผลิตออกจากอุปกรณ์การผลิตของตน ซึ่งทำให้เกิดการแบ่งแยกชนชั้นระหว่างนายทุนที่เป็นเจ้าของอุปกรณ์การผลิต และแรงงานซึ่งเป็นผู้ถูกกีดกันออกจากอุปกรณ์การผลิต การแบ่งแยกชนชั้นดังกล่าวนี้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาทั้งหมด และเป็นประเด็นหลักที่ภาพยนตร์เรื่อง The Organizer (นักจัดตั้ง) ซึ่งฉายในปี ค.ศ. 1963 ต้องการจะนำเสนอ
The Organizer เป็นภาพยนตร์สัญชาติอิตาเลียนที่มีพื้นหลังของเรื่องเกี่ยวข้องกับอดีตอาจารย์คนหนึ่งที่ผันตัวเป็นสหภาพแรงงาน และพยายามจัดระเบียบแรงงานที่ทำงานในโรงงานทอผ้าในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ภาพยนตร์เรื่องนี้มีฉากพื้นหลังที่ใช้ในการดำเนินเรื่องเป็นโรงงานและแฟลตที่พักอาศัยของแรงงาน โดยพยายามจำลองการใช้ชีวิตของแรงงานทั้งในด้านการทำงานและชีวิตส่วนตัวเพื่อนำเสนอประเด็นสำคัญ ๆ เกี่ยวกับปัญหาของวิถีการผลิตแบบทุนนิยมในแง่มุมต่าง ๆ อาทิ การขูดรีดแรงงานส่วนเกิน ทุนนิยมกับการพัฒนามนุษย์ ทุนของนิยมกับการพัฒนาผู้หญิง เวลากับการพัฒนามนุษย์ และบทบาทของรัฐและกลไกของรัฐ โดยหัวใจสำคัญที่สุดของเรื่องคือ การอธิบายตรรกะของทุนนิยมผ่านปรากฏการณ์ในมุมต่าง ๆ
ตรรกะของทุนนิยม
ทุนนิยมนั้นไม่ใช่แค่เพียงระบบเศรษฐกิจ แต่ทุนนิยมเป็นตรรกะหรือวิธีการให้เหตุผลที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์หรือปรับใช้กับมุมมองในเรื่องต่าง ๆ ในระบบทุนนิยมเป้าหมายของการผลิตคือ การผลิตเพื่อให้ได้รับผลกำไรสูงสุด ดังนั้น สำหรับทุนนิยมแล้วมนุษย์และธรรมชาติจึงเป็นเพียงแค่เครื่องมือที่จะทำให้บรรลุการได้รับผลกำไรสูงสุดเท่านั้น ดังนั้น ด้วยตรรกะหรือวิธีการให้เหตุผลในลักษณะดังกล่าวทุนนิยมจึงอาจจะละเลยต่อคุณค่าอื่น ๆ อาทิ คุณภาพชีวิตของแรงงาน การพัฒนาตนเอง ความเสมอภาค ความรัก หรือสถาบันครอบครัว ซึ่งบรรดาคุณค่าเหล่านี้ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเพิ่มพูนกำไร และอาจจะมีผลทำให้กำไรลดลง
ภาพสะท้อนของการใช้ตรรกะหรือวิธีการให้เหตุผลแบบทุนนิยมนี้ปรากฏอยู่ในหลากฉากของภาพยนตร์ The Organizer ผ่านตัวละครและสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ได้แก่ การขูดรีดแรงงาน ตรรกะทุนนิยมกับการพัฒนามนุษย์ ตรรกะทุนนิยมกับการพัฒนาผู้หญิง เวลากับการพัฒนามนุษย์ ทุนนิยมกับความรักและสถาบันครอบครัว และบทบาทของรัฐภายใต้ตรรกะทุนนิยม
การขูดรีดแรงงาน
การขูดรีดแรงงานเป็นประเด็นสำคัญอย่างแรกที่สะท้อนผ่านภาพยนตร์เรื่องนี้ และประเด็นดังกล่าวมีความสำคัญเชื่อมโยงกับประเด็นอื่น ๆ ที่จะได้มีการกล่าวถึงต่อไป การขูดรีดแรงงาน (exploitation of labour) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้สังคมการผลิตแบบทุนนิยม การผลิตแบบทุนนิยมเกิดขึ้นบนพื้นฐานของการแบ่งแยกชนชั้นเป็นนายทุน ซึ่งเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตที่ต้องการแสวงหาความมั่นคงสูงสุดจากปัจจัยการผลิตที่ตนเป็นเจ้าของ และชนชั้นแรงงาน ซึ่งไม่ได้เป็นฝ่ายที่มีปัจจัยการผลิตเป็นของตนเอง เมื่อปราศจากปัจจัยการผลิตของตนเอง เนื่องจากโดยสภาพแล้วแรงงานเหล่านี้ในอดีตเคยเป็นทาสติดที่ดิน แต่เมื่อสถานะดังกล่าวหายไปพร้อม ๆ กับการล่มสลายของระบบศักดินา บรรดาทาสติดที่ดินที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจึงไม่สามารถผลิตสินค้าเพื่อนำมาขายหรือแลกเปลี่ยนในตลาดได้ จึงต้องนำความสามารถในการทำงานมาขาย ซึ่งสภาพดังกล่าวแรงงานไม่มีหนทางใดที่จะเลือกได้ เพราะปัจจัยการผลิตนั้นถูกผูกขาดไว้กับชนชั้นนายทุนแล้ว
การบังคับขายพลังแรงงานนี้เป็นสาระสำคัญของการขูดรีดแรงงาน และเป็นที่มาของความมั่งคั่งของนายทุน กล่าวคือ โดยทั่วไปแล้วแรงงานจะใช้เวลาในการผลิตสินค้าเท่ากับค่าแรงที่แท้จริงอันเป็นรายได้ที่แรงงานจำเป็นต้องใช้ในการหาซื้อสินค้าในการดำรงชีวิตของตนเอง ซึ่งหากแรงงานผลิตสินค้าเพียงเท่ากับค่าแรงที่แท้จริง นายทุนก็จะไม่ได้ประโยชน์อะไร เพราะโดยทั่วไปปัจจัยการผลิตอื่น ๆ นั้นไม่ได้ทำให้สินค้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้น แต่การที่สินค้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้นมาจากพลังแรงงานที่ถูกขูดรีดไปเป็นแรงงานส่วนเกิน ซึ่งกลายเป็นมูลค่าส่วนเกิน
แม้ในภาพยนตร์จะไม่ได้ระบุชัดเจนว่า นายทุนเจ้าของโรงงานจ่ายค่าจ้างเท่าใดให้กับแรงงาน แต่จะเห็นได้ว่า ค่าตอบแทนดังกล่าวต้องน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับคุณภาพชีวิตของแรงงาน ในทางตรงกันข้ามพลังแรงงานที่นายทุนได้รับจากการจ่ายค่าจ้างนั้นมากถึง 14 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งเป็นความพยายามขูดรีดแรงงานของนายทุน โดยการทำให้แรงงานต้องใช้ระยะเวลายาวนานไปกับการผลิต เพื่อให้นายจ้างได้รับมูลค่าส่วนเกินให้มากที่สุด สิ่งนี้ยังรวมไปถึงในแต่ละวันของแรงงานในภาพยนตร์นั้นถูกจำกัดเวลาในการพักผ่อนระหว่างวันเอาไว้โดยกำหนดเวลาพักกลางวันไว้เพียงแค่ 30 นาทีเท่านั้น และไม่มีเวลาพักอื่นใดนอกเหนือไปจากเวลาพักดังกล่าวแล้ว เพื่อให้นายจ้างสามารถที่จะขูดรีดมูลค่าส่วนเกินได้มากที่สุด การขูดรีดแรงงานดังกล่าวจะยิ่งทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นภายใต้กระบวนการผลิตแบบสายพานที่ทำให้แรงงานอยู่กับที่และดำเนินการผลิตแบบเดิม ๆ ซ้ำไป
การทำให้แรงงานอ่อนแอ เพื่อให้เกิดความง่ายต่อการควบคุม
นอกจากการขูดรีดแรงงานแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่นายทุนทำคือ การทำให้แรงงานแตกแยกกัน และการรักษากองทัพสำรองของแรงงาน ซึ่งประเด็นทั้งสองมีส่วนที่จะทำให้แรงงานอ่อนแอ ไม่สามารถรวมกลุ่มกันได้ และทำให้ต้องตกอยู่ในสภาวะจำยอมและไม่มีทางเลือก
การทำให้แรงงานแตกแยกกันเป็นกระบวนการหนึ่งที่นายทุนใช้เพื่อทำให้แรงงานไม่สามารถรวมตัวกันได้ เพราะการรวมตัวกันของแรงงานที่มีจำนวนมากกว่าเป็นเพียงวิธีการเดียวที่จะทำให้แรงงานแข็งแกร่งพอที่จะต่อต้านนายทุนได้ ซึ่งหากแรงงานถูกแบ่งแยกจะทำให้เกิดความอ่อนแอ ซึ่งในภาพยนตร์ The Organizer จะเห็นได้ว่า กลุ่มแรงงานนั้นถูกปั่นหัวและถูกทำให้แตกแยกกันอยู่บ่อยครั้ง โดยนายทุนพยายามสร้างแรงจูงใจเพื่อสลายการรวมตัวกันของแรงงาน และจะเห็นได้ว่า Sinigaglia ซึ่งเป็นตัวละครที่พยายามจะทำให้กลุ่มแรงงานประสานงานและร่วมกันเพื่อต่อต้านนายทุน แต่ความพยายามของ Sinigaglia จะถูกท้าทายผ่านการยื่นข้อเสนอต่าง ๆ ของนายทุนเสมอ
อีกรูปแบบหนึ่งของการแบ่งแยกแรงงานของนายทุนคือ การรักษากองทัพสำรองของแรงงาน โดยการทำให้แรงงานต้องแข่งขันกันกับแรงงานที่ว่างงานและมีความต้องการจะทำงาน ซึ่งนายทุนสามารถใช้กองทัพสำรองของแรงงานมาใช้เพื่อสร้างความได้เปรียบเพื่อกดดันแรงงานที่ทำงานในโรงงานในปัจจุบัน โดยการรักษาระดับค่าจ้างให้อยู่ในระดับต่ำและสอดคล้องกับการสร้างผลกำไรของนายทุน รวมถึงนายทุนอาจจะใช้กองทัพสำรองของแรงงานเพื่อกดดันแรงงานในโรงงานปัจจุบันที่กำลังรวมกลุ่มเพื่อกดดันนายทุนผ่านการประท้วงหยุดงาน ซึ่งในภาพยนตร์นี้มีตัวอย่างคือ ในกรณีที่นายทุนเจ้าของโรงงานใช้วิธีการนำแรงงานจากเมืองอื่นที่มีความประสงค์จะทำงานเข้ามาแทนแรงงานที่กำลังประท้วงหยุดงาน
ตรรกะของทุนนิยมกับการพัฒนามนุษย์
การพัฒนามนุษย์นั้นประกอบไปด้วยปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ ประการแรก ปัจจัยพื้นฐานเพื่อตอบสนองความต้องการเบื้องต้นของมนุษย์ ได้แก่ การมีอาหารที่เพียงพอกับความต้องการ การมีสุขภาพที่ดี การได้รับโอกาสทางการศึกษา และการได้รับโอกาสในการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเอง และประการที่สอง ปัจจัยเพิ่มเติมในฐานะที่เป็นโอกาสพัฒนาตนเองที่แตกต่างกันสำหรับคนทุกคน ซึ่งการพัฒนามนุษย์มีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือ การทำให้มนุษย์แต่ละคนพัฒนาตัวเองไปสู่สถานะที่บุคคลนั้นปรารถนา อย่างไรก็ดี ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ตรรกะทุนนิยมหรือวิธีการให้เหตุผลแบบทุนนิยมนั้นไม่ได้ให้ความสำคัญกับการผลิตเพื่อให้ได้รับผลกำไรสูงสุด โดยที่มนุษย์นั้นมีสถานะเป็นเพียงเครื่องมือที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ดังนั้น โดยสภาพของตรรกะทุนนิยมจึงกลายเป็นสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการพัฒนามนุษย์
เมื่อย้อนกลับมาพิจารณาภาพยนตร์ The Organizer จะเห็นได้ว่า ภาพยนตร์ดังกล่าวได้นำเสนอภาพของระบบทุนนิยมที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนามนุษย์ทั้งในแง่ของปัจจัยพื้นฐาน เช่น การได้รับอาหารที่เพียงพอในแต่ละมื้อ ดังจะเห็นจากในฉากช่วงเวลาพักกลางทานอาหารกลางวันของพนักงานโรงงานนั้น พนักงงานมีระยะเวลารับประทานอาหารและพักผ่อนเพียงแค่ 30 นาทีเท่านั้น ซึ่งระยะเวลาดังกล่าวแทบจะไม่เพียงพอต่อการรับประทานอาหารแต่อย่างใด หรือการได้รับโอกาสทางการศึกษา ดังจะเห็นได้ว่า พนักงานของโรงงานส่วนใหญ่ไม่ได้รับโอกาสในการเข้าถึงความรู้และไม่มีความสามารถในการอ่านและเขียน เป็นต้น
นอกเหนือจากปัจจัยพื้นฐานแล้ว สภาพการทำงานในระบบโรงงานไม่เอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้ในเชิงภาพรวมของการผลิต เนื่องจากการทำงานในระบบสายพานการผลิตมีลักษณะเป็นการแบ่งงานกันทำ และถูกควบคุมให้อยู่ภายใต้การบังคับของนายทุน ซึ่งมีอำนาจเหนือแรงงานจากการซื้อสิทธิในพลังแรงงาน การควบคุมแรงงาน ดังจะเห็นได้จากภายในภาพยนตร์ที่ในโรงงานจะมีหัวหน้างานคอยควบคุมให้แรงงานทำงานและไม่ขยับตัวไปไหน เนื่องจากโดยตรรกะของทุนนิยมแล้วต้องการไม่ให้เกิดการเคลื่อนไหวและเวลาสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้มูลค่าส่วนเกินที่นายทุนคาดหวังจะได้รับลดลง สภาพที่แรงงานไม่มีอิสระในการเคลื่อนไหวและต้องผูกติดกับสายพานการผลิตนี้ทำให้แรงงานมีสถานะเป็นเสมือนส่วนหนึ่งของเครื่องจักรกล ซึ่งกลายเป็นการลดทอนคุณค่าของแรงงานในฐานะการเป็นมนุษย์
สภาพของแรงงานภายใต้ตรรกะของทุนนิยมนี้ทำให้แรงงานไม่สามารถที่จะพัฒนาตนเองได้ และแม้ว่าจะมีการอธิบายว่า ทุนนิยมไม่ได้ปิดกั้นการพัฒนามนุษย์ แต่ทุนนิยมก็ไม่ได้ส่งเสริมให้มนุษย์ทุกคนสามารถเข้าถึงการพัฒนาได้อย่างแท้จริง ในทางตรงกันข้ามทุนนิยมนั้นให้ความสำคัญกับการประสบความสำเร็จในการพัฒนามนุษย์เพียงบุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยที่ครอบครัวหรือคนรักของบุคคลนั้นอาจจะไม่ได้มีการพัฒนาตามไปด้วย
ตรรกะของทุนนิยมกับการพัฒนาผู้หญิง
เมื่อเป้าหมายสูงสุดของทุนคือ การสร้างกำไรจากการผลิต ฉะนั้น แรงงานที่ทุนนิยมต้องการจะให้เข้าสู่กระบวนการผลิตแบบทุนนิยมจึงต้องเป็นแรงงานเต็มขั้น ซึ่งในสายตาของทุนผู้หญิงไม่ใช่แรงงาน
ในลักษณะดังกล่าว ประกอบกับบริบทสังคมในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรมนั้นสังคมถูกครอบงำด้วยคติแบบวิคตอเรียนที่สร้างบทบาทของผู้หญิงให้รับบทบาทของการทำหน้าที่แม่และภริยา จึงทำให้บทบาทของผู้หญิงถูกจำกัดให้อยู่เฉพาะพื้นที่ในบ้านเท่านั้น ทว่า การถูกกำหนดให้ทำบทบาทในบ้านนั้นมิได้หมายความว่า คุณค่าของงานที่ผู้หญิงทำนั้นจะน้อยลงไป ในทางกลับกันการทำงานในบ้านนั้นมีความสำคัญเช่นกัน เพียงแต่ไม่ถูกนับว่าเป็นการใช้แรงงานในตรรกะของทุนนิยม เพราะการทำงานของผู้หญิงในครัวเรือนนั้นไม่ได้ถูกจัดว่าเป็นการทำงานที่สร้างกำไรให้กับนายทุน จึงเป็นแรงงานที่มองไม่เห็น และเป็นแรงงานจำเป็นที่ไม่ได้รับค่าจ้าง
ทว่า แรงงานของผู้หญิงในครัวเรือนนั้นมีความสำคัญไม่ต่างจากแรงงานของผู้ชาย และทุนนิยมได้รับประโยชน์จากแรงงานของผู้หญิง เพราะแรงงานกลุ่มนี้เป็นส่วนเข้าไปเสริมการทำงาน รวมถึงดูแลแรงงานที่เข้าไปทำการผลิตในโรงงาน ดังปรากฏในภาพยนตร์ที่ตัวละครหญิงที่ชื่อว่า Rosetta มีหน้าที่ต้องเลี้ยงลูกและจัดเตรียมอาหารเพื่อนำไปส่งให้กับสามีที่โรงงาน ซึ่งเป็นภาระงานที่หนัก แต่ไม่มีการตระหนักถึงคุณค่าของแรงงานดังกล่าว ทว่า หากปราศจากแรงงานเหล่านี้ก็จะกระทบต่อแรงงานที่เข้าไปทำการผลิตในโรงงานเช่นกัน ดังจะเห็นได้ว่า แรงงานกลุ่มนี้เข้ามาทำหน้าที่หลาย ๆ อย่างที่แรงงานอาจจะไม่ได้ทำ เช่น การทำความสะอาด การทำอาหาร การเตรียมอาหาร และการดูแลบุตร เป็นต้น ซึ่งหากแรงงานต้องนำเงินและเวลาไปใช้กับเรื่องดังกล่าวก็จะทำให้นายทุนไม่สามารถกดค่าจ้างของแรงงานให้ต่ำได้
ในทางกลับกันเมื่อแรงงานผู้หญิงที่ทำงานในพื้นที่ครัวเรือนไม่ถูกนับเป็นแรงงานแล้ว สิ่งนี้กระทบต่อคุณค่าของผู้หญิงในสังคม และกระทบต่อสถานะและตำแหน่งแห่งที่ของผู้หญิงในสังคม เพราะทำให้ผู้หญิงต้องตกอยู่ในสภาวะพึ่งพิงอาศัย โดยจะต้องมีผู้ชายเข้ามาที่ดำรงบทบาทเป็นแรงงาน สถานะดังกล่าวทำให้บทบาทของผู้หญิงถูกจำกัด และไม่สามารถพัฒนาตนเองไปสู่สถานะอื่น ๆ
อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะมีแรงงานผู้หญิงเข้าไปอยู่ในกระบวนการผลิตบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งในภาพยนตร์ The Organizer ก็ได้มีตัวอย่างของแรงงานผู้หญิงเข้าไปอยู่ในกระบวนการผลิตบ้าง แต่โดยส่วนใหญ่แรงงานกลุ่มนี้อาจจะเป็นผู้หญิงที่มีอายุและไม่ได้ดำรงบทบาทเป็นแม่หรือภริยา หรือเป็นผู้หญิงวัยแรกรุ่น ทั้งนี้ ในภาพยนตร์อาจจะไม่ได้เน้นบทบาทของแรงงานของผู้หญิงในโรงงาน แต่หากพิจารณาตรรกะของทุนนิยมที่ต้องการสร้างกำไรสูงสุดให้กับนายทุน แรงงานกลุ่มนี้อาจจะถูกปฏิบัติที่ไม่เท่ากับแรงงานผู้ชาย ทำให้อาจจะได้รับอัตราค่าจ้างที่ไม่เท่ากับแรงงานผู้ชาย หรือถูกกดค่าจ้างลง
เวลากับการพัฒนามนุษย์
เวลาเป็นเรื่องสำคัญสำหรับชีวิตมนุษย์ โดยเวลานั้นเป็นช่องสำหรับการพัฒนามนุษย์ ซึ่งคาร์ล มาร์กซ์ ได้อธิบายว่า เวลาว่างของมนุษย์นั้นถูกจำกัดโดยปัจจัยทางชีวภาพต่าง ๆ ของมนุษย์ เช่น การนอน การกิน และเรื่องอื่น ๆ แล้ว เวลาว่างของมนุษย์ยังถูกจำกัดเนื่องจากการถูดูดกลืนโดยนายทุนจากการขูดรีดแรงงานเพื่อให้ได้มูลค่าส่วนเกิน ซึ่งนายทุนเหล่านี้เปรียบเสมือนอสูรกาย
เวลาเป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่งของการดำรงชีวิต เพระเวลาเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด และเมื่อแรงงานเข้าทำงานให้กับผู้ประกอบการนั้น ผู้ใช้แรงงานมิได้ขายแต่เพียงพลังแรงงานเท่านั้น แต่ผู้ใช้แรงงานยังได้ขายเวลาในชีวิตไปให้กับผู้ประกอบการในขณะเดียวกัน โดยเมื่อผู้ประกอบการได้ซื้อสิทธิที่จะควบคุมศักยภาพการทำงานของผู้ใช้แรงงานภายในจำนวนชั่วโมงที่กำหนดไว้แล้ว ซึ่งเป็นการนำเวลาของผู้ใช้แรงงานไปใช้เพื่อประโยชน์สูงสุดในการผลิตสินค้าและบริการเพื่อแสวงหากำไร ดังนั้น การขูดรีดแรงงานส่วนเกินของผู้ประกอบการจึงเป็นทั้งการขูดรีดเวลาแรงงานส่วนเกิน และมูลค่าแรงงานส่วนเกิน ซึ่งบรรดาการขูดรีดเหล่านี้กลายเป็นข้อจำกัดที่มนุษย์ไม่สามารถที่จะอุทิศเวลาไปเพื่อการพักผ่อนและละวางจากความเหนื่อยล้าของการทำงานหรือการนันทนาการ เวลาเดียวที่แรงงานจะได้พักผ่อนก็คือ เวลาที่ไม่ต้องทำงานเพื่อนายทุน
ในภาพยนตร์ The Organizer มีฉากที่แสดงให้เห็นว่า ระบบทุนนิยมนี้ดูดกลืนเวลาของแรงงานผ่านการจำกัดเวลาพักผ่อนของแรงงานเพียง 30 นาที และผ่านภาระการทำงานที่หนัก ซึ่งเป็นรูปแบบของการขูดรีดแรงงานสัมพัทธ์ หรือในฉากที่กลุ่มผู้ใช้แรงงานจะต้องเข้าเรียนเกี่ยวกับการอ่านและการเขียนที่โรงเรียน กว่าผู้ใช้แรงงานจะมาเข้าเรียนได้นั้นจะต้องเป็นเวลาหลังจากที่เลิกการทำงานแล้ว ซึ่งสิ่งนี้กระทบต่อคุณภาพชีวิตของแรงงาน เนื่องจากในบริบทของเรื่องแรงงานจะสามารถสร้างข้อเรียกร้องใด ๆ ผ่านสหภาพแรงงานเพื่อที่จะมีข้อเสนอให้รัฐบาลรับรู้ แรงงานนั้นจะต้องเป็นแรงงานมีความสามารถอ่านออกหรือเขียนได้ แต่เวลาของแรงงานถูกนำไปใช้เพื่อการผลิตทำให้แรงงานเสียโอกาสที่จะนำเอาเวลาไปใช้ในการศึกษา
ทุนนิยมกับความรักและสถาบันครอบครัว
ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ทุนนิยมนั้นไม่ใช่เพียงแค่ระบบเศรษฐกิจแต่เป็นตรรกะที่แทรกซึมอยู่ภายในสังคม ทุนนิยมจึงครอบคลุมมาจนถึงเรื่องความรักและสถาบันครอบครัวเช่นกัน เมื่อตรรกะของทุนนิยมมุ่งหมายจะให้นายทุนได้รับกำไรสูงสุดจากการผลิต ทุนนิยมจึงพยายามบีบบังคับให้แรงงานทำงานให้หนักเพื่อขูดรีดแรงงานส่วนเกินและทำให้เกิดมูลค่าส่วนเกิน สังคมทุนนิยมจึงให้ความสำคัญกับการทำงานหนัก ซึ่งสภาพดังกล่าวเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะแรงงานนั้นถูกนายทุนบีบบังคับให้ต้องทำงานไม่เช่นนั้นก็จะอดตาย กระบวนการขูดรีดแรงนี้ทำให้แรงงานมีความเหนื่อยล้า ซึมเศร้า และไม่มีเวลากับการทำเรื่องอื่น ๆ เนื่องจากเวลาของแรงงานถูกใช้ไปเพื่อการผลิตในระบบการผลิตแบบทุนนิยม ซึ่งกลายมาเป็นการบั่นทอนความรักและสถาบันครอบครัว
ในภาพยนตร์จะเห็นได้ว่า มีบางฉากที่มีการนำเสนอประเด็นในเรื่องความรักและสถาบันครอบครัว ตัวอย่างเช่นในฉาก Rosetta ภริยาของ Pautasso ได้นำอาหารกลางวันมาส่งให้ที่โรงงาน Pautasso ได้ขอดูหน้าลูกของเขาพร้อมกับพูดว่า “ฉันเป็นพ่อของเขานะ ฉันไม่ได้มีโอกาสเห็นหน้าเขามากนัก เพราะตอนที่ฉันออกมาทำงานเขาก็หลับ และตอนที่ฉันกลับบ้านไปเขาก็กลับอีกเช่นกัน” ข้อความดังกล่าวมิเพียงสะท้อนการขูดรีดแรงงานที่เกิดจากวิถีการผลิตแบบทุนเท่านั้น แต่ยังชี้ให้เห็นว่าทุนนั้นโดดเดี่ยวแรงงานเอาไว้และบั่นทอนความสัมพันธ์ในคุณค่าในด้านของความรักและครอบครัว ถึงแม้ว่าทุนนิยมจะให้ความสำคัญกับการเจริญพันธุ์ (reproduction) ผ่านการกำหนดค่าจ้างให้กับแรงงานโดยครอบคลุมถึงค่าใช้จ่ายสำหรับการเจริญพันธุ์ เพื่อให้เด็กที่เกิดขึ้นมาใหม่จากการเจริญพันธุ์นี้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของแรงงานในอนาคต (คนงานรุ่นใหม่) ที่เข้ามาแทนแรงงานรุ่นเก่า แต่ในตรรกะของทุนนิยมก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับคุณค่าของความสัมพันธ์ทั้งในเรื่องของความรักและสถาบันครอบครัว
บทบาทของรัฐและกลไกของรัฐ
รัฐเป็นเครื่องมือหนึ่งของทุนนิยมที่มีประโยชน์ต่อการขูดรีดแรงงาน และเป็นเครื่องมือจำเป็นที่ทุนนิยมจะต้องนำมาใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในระยะแรกของทุน เนื่องจากลักษณะการทำงานของทุนนิยมนั้นให้ความสำคัญกับกระบวนการผลิตซ้ำ ซึ่งในการจะดำเนินการในลักษณะดังกล่าวได้ในช่วงแรกทุนจำเป็นต้องอาศัยอำนาจรัฐผ่านกลไกต่าง ๆ อาทิ กฎหมาย เพื่อรับประกันการเกิดขึ้นกระบวนการผลิตซ้ำ ดังเช่นในช่วงแรกของระบบทุนนิยมที่เกิดขึ้นภายหลังจากการสลายตัวของระบบศักดินา มีคนจำนวนหนึ่งที่อาจจะไม่ได้เข้าสู่สถานะเป็นแรงงาน ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้เป็นคนกลุ่มเดียวกันกับนายทุน คนพวกนี้กลายเป็นคนเร่ร่อนและไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ทุนอาจจะใช้กลไกของรัฐเพื่อบีบบังคับให้คนเหล่านี้เข้าสู่กระบวนการผลิตแบบทุนนิยมผ่านกฎหมายที่บังคับให้เข้าทำงาน หรือกฎหมายกรรมสิทธิ์ก็เป็นเครื่องมือสำคัญที่ถูกนำมาใช้ในการรับประกันให้เกิดแรงงานขึ้นมา เพราะหากมีบุคคลใดรุกล้ำเข้าไปแย่งชิงทรัพย์สินที่บุคคลอื่นมีกรรมสิทธิ์อยู่ก็จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย แม้ว่าทรัพย์สินนั้นจะไม่ได้มีการใช้ประโยชน์ สภาพดังกล่าวเป็นการบีบบังคับให้บุคคลที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินต้องเป็นแรงงานเพื่อมีชีวิตรอด โดยเฉพาะตัวอย่างหลังนี้จะเห็นได้ชัดเจนจากภาพยนตร์เรื่องนี้ ที่เมื่อผู้ใช้แรงงานพยายามที่จะบุกยึดโรงงาน รัฐเข้ามาเป็นเครื่องมือสำคัญที่เข้ามาช่วยนายทุน ผ่านการรับรองกรรมสิทธิ์และการใช้กำลังเพื่อสลายการชุมนุมของผู้ใช้แรงงาน
นอกจากนี้ รัฐอาจจะกลายเป็นเครื่องมือของนายทุนโดยการทำให้นายทุนเกิดความได้เปรียบในการต่อรองกับแรงงานผ่านกฎหมายแรงงาน ซึ่งทำให้การต่อสู้ของแรงงานกับนายทุนถูกตีกรอบไว้ รวมถึงการเรียกร้องของนายทุนอาจจะต้องดำเนินการผ่านสหภาพแรงงานเป็นหลัก ตัวอย่างของวิธีการนี้ปรากฏในภาพยนตร์ในฉากที่แรงงานไปเข้าเรียนในห้องเรียนหลังเลิกงาน และอาจารย์ผู้สอนได้พูดถึงกฎหมายกำหนดว่า แรงงานที่จะมีสิทธิในการแสดงความเห็นเพื่อขับเคลื่อนข้อเรียกร้องจะต้องมีความสามารถในการเขียนและอ่านออก จึงจะมีสิทธิลงคะแนน
บทสรุป
ภาพยนตร์เรื่อง The Organizer นั้นแสดงให้เห็นถึงวิธีการที่ทุนนิยมกระทำโดยยับยั้งการพัฒนามนุษย์ ในแง่มุมต่าง ๆ อาทิ การขูดรีดแรงงาน การทำให้แรงงานอ่อนแอจากการแตกแยกกัน การยับยั้งการพัฒนามนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้หญิง รวมถึงทุนยังบั่นทอนความรักและสถาบันครอบครัว ซึ่งความสำเร็จของทุนส่วนหนึ่งมีการใช้อำนาจรัฐเข้ามาเกี่ยวข้อง ในขณะเดียวกันผลของการขูดรีดแรงงานของทุนไม่ได้มีผลเฉพาะต่อสถานะทางเศรษฐกิจของแรงงานเท่านั้น แต่รวมถึงสถานะทางสังคม ครอบครัว และสถานภาพของแรงงานที่ถูกยับยั้งการพัฒนาตัวเอง
บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง
มองตรรกะทุนนิยมผ่านภาพยนตร์เรื่อง The Organizer (1963)
การเกิดขึ้นของวิถีการผลิตแบบทุนนิยมมีส่วนสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมมนุษย์โดยเฉพาะการแยกผู้ผลิตออกจากอุปกรณ์การผลิตของตน ซึ่งทำให้เกิดการแบ่งแยกชนชั้นระหว่างนายทุนที่เป็นเจ้าของอุปกรณ์การผลิต และแรงงานซึ่งเป็นผู้ถูกกีดกันออกจากอุปกรณ์การผลิต การแบ่งแยกชนชั้นดังกล่าวนี้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาทั้งหมด และเป็นประเด็นหลักที่ภาพยนตร์เรื่อง The Organizer (นักจัดตั้ง) ซึ่งฉายในปี ค.ศ. 1963 ต้องการจะนำเสนอ
The Organizer เป็นภาพยนตร์สัญชาติอิตาเลียนที่มีพื้นหลังของเรื่องเกี่ยวข้องกับอดีตอาจารย์คนหนึ่งที่ผันตัวเป็นสหภาพแรงงาน และพยายามจัดระเบียบแรงงานที่ทำงานในโรงงานทอผ้าในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ภาพยนตร์เรื่องนี้มีฉากพื้นหลังที่ใช้ในการดำเนินเรื่องเป็นโรงงานและแฟลตที่พักอาศัยของแรงงาน โดยพยายามจำลองการใช้ชีวิตของแรงงานทั้งในด้านการทำงานและชีวิตส่วนตัวเพื่อนำเสนอประเด็นสำคัญ ๆ เกี่ยวกับปัญหาของวิถีการผลิตแบบทุนนิยมในแง่มุมต่าง ๆ อาทิ การขูดรีดแรงงานส่วนเกิน ทุนนิยมกับการพัฒนามนุษย์ ทุนของนิยมกับการพัฒนาผู้หญิง เวลากับการพัฒนามนุษย์ และบทบาทของรัฐและกลไกของรัฐ โดยหัวใจสำคัญที่สุดของเรื่องคือ การอธิบายตรรกะของทุนนิยมผ่านปรากฏการณ์ในมุมต่าง ๆ
ตรรกะของทุนนิยม
ทุนนิยมนั้นไม่ใช่แค่เพียงระบบเศรษฐกิจ แต่ทุนนิยมเป็นตรรกะหรือวิธีการให้เหตุผลที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์หรือปรับใช้กับมุมมองในเรื่องต่าง ๆ ในระบบทุนนิยมเป้าหมายของการผลิตคือ การผลิตเพื่อให้ได้รับผลกำไรสูงสุด ดังนั้น สำหรับทุนนิยมแล้วมนุษย์และธรรมชาติจึงเป็นเพียงแค่เครื่องมือที่จะทำให้บรรลุการได้รับผลกำไรสูงสุดเท่านั้น ดังนั้น ด้วยตรรกะหรือวิธีการให้เหตุผลในลักษณะดังกล่าวทุนนิยมจึงอาจจะละเลยต่อคุณค่าอื่น ๆ อาทิ คุณภาพชีวิตของแรงงาน การพัฒนาตนเอง ความเสมอภาค ความรัก หรือสถาบันครอบครัว ซึ่งบรรดาคุณค่าเหล่านี้ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเพิ่มพูนกำไร และอาจจะมีผลทำให้กำไรลดลง
ภาพสะท้อนของการใช้ตรรกะหรือวิธีการให้เหตุผลแบบทุนนิยมนี้ปรากฏอยู่ในหลากฉากของภาพยนตร์ The Organizer ผ่านตัวละครและสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ได้แก่ การขูดรีดแรงงาน ตรรกะทุนนิยมกับการพัฒนามนุษย์ ตรรกะทุนนิยมกับการพัฒนาผู้หญิง เวลากับการพัฒนามนุษย์ ทุนนิยมกับความรักและสถาบันครอบครัว และบทบาทของรัฐภายใต้ตรรกะทุนนิยม
การขูดรีดแรงงาน
การขูดรีดแรงงานเป็นประเด็นสำคัญอย่างแรกที่สะท้อนผ่านภาพยนตร์เรื่องนี้ และประเด็นดังกล่าวมีความสำคัญเชื่อมโยงกับประเด็นอื่น ๆ ที่จะได้มีการกล่าวถึงต่อไป การขูดรีดแรงงาน (exploitation of labour) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้สังคมการผลิตแบบทุนนิยม การผลิตแบบทุนนิยมเกิดขึ้นบนพื้นฐานของการแบ่งแยกชนชั้นเป็นนายทุน ซึ่งเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตที่ต้องการแสวงหาความมั่นคงสูงสุดจากปัจจัยการผลิตที่ตนเป็นเจ้าของ และชนชั้นแรงงาน ซึ่งไม่ได้เป็นฝ่ายที่มีปัจจัยการผลิตเป็นของตนเอง เมื่อปราศจากปัจจัยการผลิตของตนเอง เนื่องจากโดยสภาพแล้วแรงงานเหล่านี้ในอดีตเคยเป็นทาสติดที่ดิน แต่เมื่อสถานะดังกล่าวหายไปพร้อม ๆ กับการล่มสลายของระบบศักดินา บรรดาทาสติดที่ดินที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจึงไม่สามารถผลิตสินค้าเพื่อนำมาขายหรือแลกเปลี่ยนในตลาดได้ จึงต้องนำความสามารถในการทำงานมาขาย ซึ่งสภาพดังกล่าวแรงงานไม่มีหนทางใดที่จะเลือกได้ เพราะปัจจัยการผลิตนั้นถูกผูกขาดไว้กับชนชั้นนายทุนแล้ว
การบังคับขายพลังแรงงานนี้เป็นสาระสำคัญของการขูดรีดแรงงาน และเป็นที่มาของความมั่งคั่งของนายทุน กล่าวคือ โดยทั่วไปแล้วแรงงานจะใช้เวลาในการผลิตสินค้าเท่ากับค่าแรงที่แท้จริงอันเป็นรายได้ที่แรงงานจำเป็นต้องใช้ในการหาซื้อสินค้าในการดำรงชีวิตของตนเอง ซึ่งหากแรงงานผลิตสินค้าเพียงเท่ากับค่าแรงที่แท้จริง นายทุนก็จะไม่ได้ประโยชน์อะไร เพราะโดยทั่วไปปัจจัยการผลิตอื่น ๆ นั้นไม่ได้ทำให้สินค้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้น แต่การที่สินค้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้นมาจากพลังแรงงานที่ถูกขูดรีดไปเป็นแรงงานส่วนเกิน ซึ่งกลายเป็นมูลค่าส่วนเกิน
แม้ในภาพยนตร์จะไม่ได้ระบุชัดเจนว่า นายทุนเจ้าของโรงงานจ่ายค่าจ้างเท่าใดให้กับแรงงาน แต่จะเห็นได้ว่า ค่าตอบแทนดังกล่าวต้องน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับคุณภาพชีวิตของแรงงาน ในทางตรงกันข้ามพลังแรงงานที่นายทุนได้รับจากการจ่ายค่าจ้างนั้นมากถึง 14 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งเป็นความพยายามขูดรีดแรงงานของนายทุน โดยการทำให้แรงงานต้องใช้ระยะเวลายาวนานไปกับการผลิต เพื่อให้นายจ้างได้รับมูลค่าส่วนเกินให้มากที่สุด สิ่งนี้ยังรวมไปถึงในแต่ละวันของแรงงานในภาพยนตร์นั้นถูกจำกัดเวลาในการพักผ่อนระหว่างวันเอาไว้โดยกำหนดเวลาพักกลางวันไว้เพียงแค่ 30 นาทีเท่านั้น และไม่มีเวลาพักอื่นใดนอกเหนือไปจากเวลาพักดังกล่าวแล้ว เพื่อให้นายจ้างสามารถที่จะขูดรีดมูลค่าส่วนเกินได้มากที่สุด การขูดรีดแรงงานดังกล่าวจะยิ่งทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นภายใต้กระบวนการผลิตแบบสายพานที่ทำให้แรงงานอยู่กับที่และดำเนินการผลิตแบบเดิม ๆ ซ้ำไป
การทำให้แรงงานอ่อนแอ เพื่อให้เกิดความง่ายต่อการควบคุม
นอกจากการขูดรีดแรงงานแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่นายทุนทำคือ การทำให้แรงงานแตกแยกกัน และการรักษากองทัพสำรองของแรงงาน ซึ่งประเด็นทั้งสองมีส่วนที่จะทำให้แรงงานอ่อนแอ ไม่สามารถรวมกลุ่มกันได้ และทำให้ต้องตกอยู่ในสภาวะจำยอมและไม่มีทางเลือก
การทำให้แรงงานแตกแยกกันเป็นกระบวนการหนึ่งที่นายทุนใช้เพื่อทำให้แรงงานไม่สามารถรวมตัวกันได้ เพราะการรวมตัวกันของแรงงานที่มีจำนวนมากกว่าเป็นเพียงวิธีการเดียวที่จะทำให้แรงงานแข็งแกร่งพอที่จะต่อต้านนายทุนได้ ซึ่งหากแรงงานถูกแบ่งแยกจะทำให้เกิดความอ่อนแอ ซึ่งในภาพยนตร์ The Organizer จะเห็นได้ว่า กลุ่มแรงงานนั้นถูกปั่นหัวและถูกทำให้แตกแยกกันอยู่บ่อยครั้ง โดยนายทุนพยายามสร้างแรงจูงใจเพื่อสลายการรวมตัวกันของแรงงาน และจะเห็นได้ว่า Sinigaglia ซึ่งเป็นตัวละครที่พยายามจะทำให้กลุ่มแรงงานประสานงานและร่วมกันเพื่อต่อต้านนายทุน แต่ความพยายามของ Sinigaglia จะถูกท้าทายผ่านการยื่นข้อเสนอต่าง ๆ ของนายทุนเสมอ
อีกรูปแบบหนึ่งของการแบ่งแยกแรงงานของนายทุนคือ การรักษากองทัพสำรองของแรงงาน โดยการทำให้แรงงานต้องแข่งขันกันกับแรงงานที่ว่างงานและมีความต้องการจะทำงาน ซึ่งนายทุนสามารถใช้กองทัพสำรองของแรงงานมาใช้เพื่อสร้างความได้เปรียบเพื่อกดดันแรงงานที่ทำงานในโรงงานในปัจจุบัน โดยการรักษาระดับค่าจ้างให้อยู่ในระดับต่ำและสอดคล้องกับการสร้างผลกำไรของนายทุน รวมถึงนายทุนอาจจะใช้กองทัพสำรองของแรงงานเพื่อกดดันแรงงานในโรงงานปัจจุบันที่กำลังรวมกลุ่มเพื่อกดดันนายทุนผ่านการประท้วงหยุดงาน ซึ่งในภาพยนตร์นี้มีตัวอย่างคือ ในกรณีที่นายทุนเจ้าของโรงงานใช้วิธีการนำแรงงานจากเมืองอื่นที่มีความประสงค์จะทำงานเข้ามาแทนแรงงานที่กำลังประท้วงหยุดงาน
ตรรกะของทุนนิยมกับการพัฒนามนุษย์
การพัฒนามนุษย์นั้นประกอบไปด้วยปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ ประการแรก ปัจจัยพื้นฐานเพื่อตอบสนองความต้องการเบื้องต้นของมนุษย์ ได้แก่ การมีอาหารที่เพียงพอกับความต้องการ การมีสุขภาพที่ดี การได้รับโอกาสทางการศึกษา และการได้รับโอกาสในการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเอง และประการที่สอง ปัจจัยเพิ่มเติมในฐานะที่เป็นโอกาสพัฒนาตนเองที่แตกต่างกันสำหรับคนทุกคน ซึ่งการพัฒนามนุษย์มีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือ การทำให้มนุษย์แต่ละคนพัฒนาตัวเองไปสู่สถานะที่บุคคลนั้นปรารถนา อย่างไรก็ดี ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ตรรกะทุนนิยมหรือวิธีการให้เหตุผลแบบทุนนิยมนั้นไม่ได้ให้ความสำคัญกับการผลิตเพื่อให้ได้รับผลกำไรสูงสุด โดยที่มนุษย์นั้นมีสถานะเป็นเพียงเครื่องมือที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ดังนั้น โดยสภาพของตรรกะทุนนิยมจึงกลายเป็นสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการพัฒนามนุษย์
เมื่อย้อนกลับมาพิจารณาภาพยนตร์ The Organizer จะเห็นได้ว่า ภาพยนตร์ดังกล่าวได้นำเสนอภาพของระบบทุนนิยมที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนามนุษย์ทั้งในแง่ของปัจจัยพื้นฐาน เช่น การได้รับอาหารที่เพียงพอในแต่ละมื้อ ดังจะเห็นจากในฉากช่วงเวลาพักกลางทานอาหารกลางวันของพนักงานโรงงานนั้น พนักงงานมีระยะเวลารับประทานอาหารและพักผ่อนเพียงแค่ 30 นาทีเท่านั้น ซึ่งระยะเวลาดังกล่าวแทบจะไม่เพียงพอต่อการรับประทานอาหารแต่อย่างใด หรือการได้รับโอกาสทางการศึกษา ดังจะเห็นได้ว่า พนักงานของโรงงานส่วนใหญ่ไม่ได้รับโอกาสในการเข้าถึงความรู้และไม่มีความสามารถในการอ่านและเขียน เป็นต้น
นอกเหนือจากปัจจัยพื้นฐานแล้ว สภาพการทำงานในระบบโรงงานไม่เอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้ในเชิงภาพรวมของการผลิต เนื่องจากการทำงานในระบบสายพานการผลิตมีลักษณะเป็นการแบ่งงานกันทำ และถูกควบคุมให้อยู่ภายใต้การบังคับของนายทุน ซึ่งมีอำนาจเหนือแรงงานจากการซื้อสิทธิในพลังแรงงาน การควบคุมแรงงาน ดังจะเห็นได้จากภายในภาพยนตร์ที่ในโรงงานจะมีหัวหน้างานคอยควบคุมให้แรงงานทำงานและไม่ขยับตัวไปไหน เนื่องจากโดยตรรกะของทุนนิยมแล้วต้องการไม่ให้เกิดการเคลื่อนไหวและเวลาสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้มูลค่าส่วนเกินที่นายทุนคาดหวังจะได้รับลดลง สภาพที่แรงงานไม่มีอิสระในการเคลื่อนไหวและต้องผูกติดกับสายพานการผลิตนี้ทำให้แรงงานมีสถานะเป็นเสมือนส่วนหนึ่งของเครื่องจักรกล ซึ่งกลายเป็นการลดทอนคุณค่าของแรงงานในฐานะการเป็นมนุษย์
สภาพของแรงงานภายใต้ตรรกะของทุนนิยมนี้ทำให้แรงงานไม่สามารถที่จะพัฒนาตนเองได้ และแม้ว่าจะมีการอธิบายว่า ทุนนิยมไม่ได้ปิดกั้นการพัฒนามนุษย์ แต่ทุนนิยมก็ไม่ได้ส่งเสริมให้มนุษย์ทุกคนสามารถเข้าถึงการพัฒนาได้อย่างแท้จริง ในทางตรงกันข้ามทุนนิยมนั้นให้ความสำคัญกับการประสบความสำเร็จในการพัฒนามนุษย์เพียงบุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยที่ครอบครัวหรือคนรักของบุคคลนั้นอาจจะไม่ได้มีการพัฒนาตามไปด้วย
ตรรกะของทุนนิยมกับการพัฒนาผู้หญิง
เมื่อเป้าหมายสูงสุดของทุนคือ การสร้างกำไรจากการผลิต ฉะนั้น แรงงานที่ทุนนิยมต้องการจะให้เข้าสู่กระบวนการผลิตแบบทุนนิยมจึงต้องเป็นแรงงานเต็มขั้น ซึ่งในสายตาของทุนผู้หญิงไม่ใช่แรงงาน
ในลักษณะดังกล่าว ประกอบกับบริบทสังคมในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรมนั้นสังคมถูกครอบงำด้วยคติแบบวิคตอเรียนที่สร้างบทบาทของผู้หญิงให้รับบทบาทของการทำหน้าที่แม่และภริยา จึงทำให้บทบาทของผู้หญิงถูกจำกัดให้อยู่เฉพาะพื้นที่ในบ้านเท่านั้น ทว่า การถูกกำหนดให้ทำบทบาทในบ้านนั้นมิได้หมายความว่า คุณค่าของงานที่ผู้หญิงทำนั้นจะน้อยลงไป ในทางกลับกันการทำงานในบ้านนั้นมีความสำคัญเช่นกัน เพียงแต่ไม่ถูกนับว่าเป็นการใช้แรงงานในตรรกะของทุนนิยม เพราะการทำงานของผู้หญิงในครัวเรือนนั้นไม่ได้ถูกจัดว่าเป็นการทำงานที่สร้างกำไรให้กับนายทุน จึงเป็นแรงงานที่มองไม่เห็น และเป็นแรงงานจำเป็นที่ไม่ได้รับค่าจ้าง
ทว่า แรงงานของผู้หญิงในครัวเรือนนั้นมีความสำคัญไม่ต่างจากแรงงานของผู้ชาย และทุนนิยมได้รับประโยชน์จากแรงงานของผู้หญิง เพราะแรงงานกลุ่มนี้เป็นส่วนเข้าไปเสริมการทำงาน รวมถึงดูแลแรงงานที่เข้าไปทำการผลิตในโรงงาน ดังปรากฏในภาพยนตร์ที่ตัวละครหญิงที่ชื่อว่า Rosetta มีหน้าที่ต้องเลี้ยงลูกและจัดเตรียมอาหารเพื่อนำไปส่งให้กับสามีที่โรงงาน ซึ่งเป็นภาระงานที่หนัก แต่ไม่มีการตระหนักถึงคุณค่าของแรงงานดังกล่าว ทว่า หากปราศจากแรงงานเหล่านี้ก็จะกระทบต่อแรงงานที่เข้าไปทำการผลิตในโรงงานเช่นกัน ดังจะเห็นได้ว่า แรงงานกลุ่มนี้เข้ามาทำหน้าที่หลาย ๆ อย่างที่แรงงานอาจจะไม่ได้ทำ เช่น การทำความสะอาด การทำอาหาร การเตรียมอาหาร และการดูแลบุตร เป็นต้น ซึ่งหากแรงงานต้องนำเงินและเวลาไปใช้กับเรื่องดังกล่าวก็จะทำให้นายทุนไม่สามารถกดค่าจ้างของแรงงานให้ต่ำได้
ในทางกลับกันเมื่อแรงงานผู้หญิงที่ทำงานในพื้นที่ครัวเรือนไม่ถูกนับเป็นแรงงานแล้ว สิ่งนี้กระทบต่อคุณค่าของผู้หญิงในสังคม และกระทบต่อสถานะและตำแหน่งแห่งที่ของผู้หญิงในสังคม เพราะทำให้ผู้หญิงต้องตกอยู่ในสภาวะพึ่งพิงอาศัย โดยจะต้องมีผู้ชายเข้ามาที่ดำรงบทบาทเป็นแรงงาน สถานะดังกล่าวทำให้บทบาทของผู้หญิงถูกจำกัด และไม่สามารถพัฒนาตนเองไปสู่สถานะอื่น ๆ
อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะมีแรงงานผู้หญิงเข้าไปอยู่ในกระบวนการผลิตบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งในภาพยนตร์ The Organizer ก็ได้มีตัวอย่างของแรงงานผู้หญิงเข้าไปอยู่ในกระบวนการผลิตบ้าง แต่โดยส่วนใหญ่แรงงานกลุ่มนี้อาจจะเป็นผู้หญิงที่มีอายุและไม่ได้ดำรงบทบาทเป็นแม่หรือภริยา หรือเป็นผู้หญิงวัยแรกรุ่น ทั้งนี้ ในภาพยนตร์อาจจะไม่ได้เน้นบทบาทของแรงงานของผู้หญิงในโรงงาน แต่หากพิจารณาตรรกะของทุนนิยมที่ต้องการสร้างกำไรสูงสุดให้กับนายทุน แรงงานกลุ่มนี้อาจจะถูกปฏิบัติที่ไม่เท่ากับแรงงานผู้ชาย ทำให้อาจจะได้รับอัตราค่าจ้างที่ไม่เท่ากับแรงงานผู้ชาย หรือถูกกดค่าจ้างลง
เวลากับการพัฒนามนุษย์
เวลาเป็นเรื่องสำคัญสำหรับชีวิตมนุษย์ โดยเวลานั้นเป็นช่องสำหรับการพัฒนามนุษย์ ซึ่งคาร์ล มาร์กซ์ ได้อธิบายว่า เวลาว่างของมนุษย์นั้นถูกจำกัดโดยปัจจัยทางชีวภาพต่าง ๆ ของมนุษย์ เช่น การนอน การกิน และเรื่องอื่น ๆ แล้ว เวลาว่างของมนุษย์ยังถูกจำกัดเนื่องจากการถูดูดกลืนโดยนายทุนจากการขูดรีดแรงงานเพื่อให้ได้มูลค่าส่วนเกิน ซึ่งนายทุนเหล่านี้เปรียบเสมือนอสูรกาย
เวลาเป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่งของการดำรงชีวิต เพระเวลาเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด และเมื่อแรงงานเข้าทำงานให้กับผู้ประกอบการนั้น ผู้ใช้แรงงานมิได้ขายแต่เพียงพลังแรงงานเท่านั้น แต่ผู้ใช้แรงงานยังได้ขายเวลาในชีวิตไปให้กับผู้ประกอบการในขณะเดียวกัน โดยเมื่อผู้ประกอบการได้ซื้อสิทธิที่จะควบคุมศักยภาพการทำงานของผู้ใช้แรงงานภายในจำนวนชั่วโมงที่กำหนดไว้แล้ว ซึ่งเป็นการนำเวลาของผู้ใช้แรงงานไปใช้เพื่อประโยชน์สูงสุดในการผลิตสินค้าและบริการเพื่อแสวงหากำไร ดังนั้น การขูดรีดแรงงานส่วนเกินของผู้ประกอบการจึงเป็นทั้งการขูดรีดเวลาแรงงานส่วนเกิน และมูลค่าแรงงานส่วนเกิน ซึ่งบรรดาการขูดรีดเหล่านี้กลายเป็นข้อจำกัดที่มนุษย์ไม่สามารถที่จะอุทิศเวลาไปเพื่อการพักผ่อนและละวางจากความเหนื่อยล้าของการทำงานหรือการนันทนาการ เวลาเดียวที่แรงงานจะได้พักผ่อนก็คือ เวลาที่ไม่ต้องทำงานเพื่อนายทุน
ในภาพยนตร์ The Organizer มีฉากที่แสดงให้เห็นว่า ระบบทุนนิยมนี้ดูดกลืนเวลาของแรงงานผ่านการจำกัดเวลาพักผ่อนของแรงงานเพียง 30 นาที และผ่านภาระการทำงานที่หนัก ซึ่งเป็นรูปแบบของการขูดรีดแรงงานสัมพัทธ์ หรือในฉากที่กลุ่มผู้ใช้แรงงานจะต้องเข้าเรียนเกี่ยวกับการอ่านและการเขียนที่โรงเรียน กว่าผู้ใช้แรงงานจะมาเข้าเรียนได้นั้นจะต้องเป็นเวลาหลังจากที่เลิกการทำงานแล้ว ซึ่งสิ่งนี้กระทบต่อคุณภาพชีวิตของแรงงาน เนื่องจากในบริบทของเรื่องแรงงานจะสามารถสร้างข้อเรียกร้องใด ๆ ผ่านสหภาพแรงงานเพื่อที่จะมีข้อเสนอให้รัฐบาลรับรู้ แรงงานนั้นจะต้องเป็นแรงงานมีความสามารถอ่านออกหรือเขียนได้ แต่เวลาของแรงงานถูกนำไปใช้เพื่อการผลิตทำให้แรงงานเสียโอกาสที่จะนำเอาเวลาไปใช้ในการศึกษา
ทุนนิยมกับความรักและสถาบันครอบครัว
ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ทุนนิยมนั้นไม่ใช่เพียงแค่ระบบเศรษฐกิจแต่เป็นตรรกะที่แทรกซึมอยู่ภายในสังคม ทุนนิยมจึงครอบคลุมมาจนถึงเรื่องความรักและสถาบันครอบครัวเช่นกัน เมื่อตรรกะของทุนนิยมมุ่งหมายจะให้นายทุนได้รับกำไรสูงสุดจากการผลิต ทุนนิยมจึงพยายามบีบบังคับให้แรงงานทำงานให้หนักเพื่อขูดรีดแรงงานส่วนเกินและทำให้เกิดมูลค่าส่วนเกิน สังคมทุนนิยมจึงให้ความสำคัญกับการทำงานหนัก ซึ่งสภาพดังกล่าวเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะแรงงานนั้นถูกนายทุนบีบบังคับให้ต้องทำงานไม่เช่นนั้นก็จะอดตาย กระบวนการขูดรีดแรงนี้ทำให้แรงงานมีความเหนื่อยล้า ซึมเศร้า และไม่มีเวลากับการทำเรื่องอื่น ๆ เนื่องจากเวลาของแรงงานถูกใช้ไปเพื่อการผลิตในระบบการผลิตแบบทุนนิยม ซึ่งกลายมาเป็นการบั่นทอนความรักและสถาบันครอบครัว
ในภาพยนตร์จะเห็นได้ว่า มีบางฉากที่มีการนำเสนอประเด็นในเรื่องความรักและสถาบันครอบครัว ตัวอย่างเช่นในฉาก Rosetta ภริยาของ Pautasso ได้นำอาหารกลางวันมาส่งให้ที่โรงงาน Pautasso ได้ขอดูหน้าลูกของเขาพร้อมกับพูดว่า “ฉันเป็นพ่อของเขานะ ฉันไม่ได้มีโอกาสเห็นหน้าเขามากนัก เพราะตอนที่ฉันออกมาทำงานเขาก็หลับ และตอนที่ฉันกลับบ้านไปเขาก็กลับอีกเช่นกัน” ข้อความดังกล่าวมิเพียงสะท้อนการขูดรีดแรงงานที่เกิดจากวิถีการผลิตแบบทุนเท่านั้น แต่ยังชี้ให้เห็นว่าทุนนั้นโดดเดี่ยวแรงงานเอาไว้และบั่นทอนความสัมพันธ์ในคุณค่าในด้านของความรักและครอบครัว ถึงแม้ว่าทุนนิยมจะให้ความสำคัญกับการเจริญพันธุ์ (reproduction) ผ่านการกำหนดค่าจ้างให้กับแรงงานโดยครอบคลุมถึงค่าใช้จ่ายสำหรับการเจริญพันธุ์ เพื่อให้เด็กที่เกิดขึ้นมาใหม่จากการเจริญพันธุ์นี้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของแรงงานในอนาคต (คนงานรุ่นใหม่) ที่เข้ามาแทนแรงงานรุ่นเก่า แต่ในตรรกะของทุนนิยมก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับคุณค่าของความสัมพันธ์ทั้งในเรื่องของความรักและสถาบันครอบครัว
บทบาทของรัฐและกลไกของรัฐ
รัฐเป็นเครื่องมือหนึ่งของทุนนิยมที่มีประโยชน์ต่อการขูดรีดแรงงาน และเป็นเครื่องมือจำเป็นที่ทุนนิยมจะต้องนำมาใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในระยะแรกของทุน เนื่องจากลักษณะการทำงานของทุนนิยมนั้นให้ความสำคัญกับกระบวนการผลิตซ้ำ ซึ่งในการจะดำเนินการในลักษณะดังกล่าวได้ในช่วงแรกทุนจำเป็นต้องอาศัยอำนาจรัฐผ่านกลไกต่าง ๆ อาทิ กฎหมาย เพื่อรับประกันการเกิดขึ้นกระบวนการผลิตซ้ำ ดังเช่นในช่วงแรกของระบบทุนนิยมที่เกิดขึ้นภายหลังจากการสลายตัวของระบบศักดินา มีคนจำนวนหนึ่งที่อาจจะไม่ได้เข้าสู่สถานะเป็นแรงงาน ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้เป็นคนกลุ่มเดียวกันกับนายทุน คนพวกนี้กลายเป็นคนเร่ร่อนและไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ทุนอาจจะใช้กลไกของรัฐเพื่อบีบบังคับให้คนเหล่านี้เข้าสู่กระบวนการผลิตแบบทุนนิยมผ่านกฎหมายที่บังคับให้เข้าทำงาน หรือกฎหมายกรรมสิทธิ์ก็เป็นเครื่องมือสำคัญที่ถูกนำมาใช้ในการรับประกันให้เกิดแรงงานขึ้นมา เพราะหากมีบุคคลใดรุกล้ำเข้าไปแย่งชิงทรัพย์สินที่บุคคลอื่นมีกรรมสิทธิ์อยู่ก็จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย แม้ว่าทรัพย์สินนั้นจะไม่ได้มีการใช้ประโยชน์ สภาพดังกล่าวเป็นการบีบบังคับให้บุคคลที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินต้องเป็นแรงงานเพื่อมีชีวิตรอด โดยเฉพาะตัวอย่างหลังนี้จะเห็นได้ชัดเจนจากภาพยนตร์เรื่องนี้ ที่เมื่อผู้ใช้แรงงานพยายามที่จะบุกยึดโรงงาน รัฐเข้ามาเป็นเครื่องมือสำคัญที่เข้ามาช่วยนายทุน ผ่านการรับรองกรรมสิทธิ์และการใช้กำลังเพื่อสลายการชุมนุมของผู้ใช้แรงงาน
นอกจากนี้ รัฐอาจจะกลายเป็นเครื่องมือของนายทุนโดยการทำให้นายทุนเกิดความได้เปรียบในการต่อรองกับแรงงานผ่านกฎหมายแรงงาน ซึ่งทำให้การต่อสู้ของแรงงานกับนายทุนถูกตีกรอบไว้ รวมถึงการเรียกร้องของนายทุนอาจจะต้องดำเนินการผ่านสหภาพแรงงานเป็นหลัก ตัวอย่างของวิธีการนี้ปรากฏในภาพยนตร์ในฉากที่แรงงานไปเข้าเรียนในห้องเรียนหลังเลิกงาน และอาจารย์ผู้สอนได้พูดถึงกฎหมายกำหนดว่า แรงงานที่จะมีสิทธิในการแสดงความเห็นเพื่อขับเคลื่อนข้อเรียกร้องจะต้องมีความสามารถในการเขียนและอ่านออก จึงจะมีสิทธิลงคะแนน
บทสรุป
ภาพยนตร์เรื่อง The Organizer นั้นแสดงให้เห็นถึงวิธีการที่ทุนนิยมกระทำโดยยับยั้งการพัฒนามนุษย์ ในแง่มุมต่าง ๆ อาทิ การขูดรีดแรงงาน การทำให้แรงงานอ่อนแอจากการแตกแยกกัน การยับยั้งการพัฒนามนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้หญิง รวมถึงทุนยังบั่นทอนความรักและสถาบันครอบครัว ซึ่งความสำเร็จของทุนส่วนหนึ่งมีการใช้อำนาจรัฐเข้ามาเกี่ยวข้อง ในขณะเดียวกันผลของการขูดรีดแรงงานของทุนไม่ได้มีผลเฉพาะต่อสถานะทางเศรษฐกิจของแรงงานเท่านั้น แต่รวมถึงสถานะทางสังคม ครอบครัว และสถานภาพของแรงงานที่ถูกยับยั้งการพัฒนาตัวเอง
บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง