วันแรกที่มาถึงย่างกุ้งที่สนามบินคนเยอะมาก ส่วนใหญ่เป็นคนไทยมาเป็นหมู่คณะ ตอนนี้รัฐบาลพม่าให้ฟรีวีซ่า แต่ต้องทำประกันของรัฐบาลตอนลงเครื่องมาจะมีการตรวจประกันที่สนามบินด้วย การมาเมียน์มาร์ครั้งนี้ที่บ้านจ้างคนขับรถพาไปที่ต่างๆ โดยสถานที่แรกที่คนขับรถพาไปก็คือ ไปดูพระพุทธไสยาสน์ เจาทัตยี (Chauk Hatat Gyi) หรือที่คนไทยเรียกพระนอนตาหวาน มีขนาดยาว 65 เมตร หลังจากนั้นคนขับรถก็พาไปวัดงาทัตจี เพื่อไปดูพระพุทธรูปงาทัตจี (Nga Htat Gyi) หรือพระพุทธเจ้า 5 ชั้น โดยเป็นพระพุทธรูปปรางค์สมาธิ แบบศิลปะพม่า สูงประมาณตึก 14 เมตร สวมเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ในปรางค์มารวิชัย นอกจากองค์พระแล้วสิ่งที่น่าประทับใจของวัดนี้คือ ข้างหลังองค์พระมีฉากไม้แกะสลักที่สูงประมาณ 16 เมตร เป็นอีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจของการมาวัดในเมียนมาร์คือ วัดเป็นหนึ่งในพื้นที่สาธารณะของคนเมียนมาร์ จะเห็นว่าคนใช้วัดเป็นพื้นที่สำหรับพักผ่อน ท่องเที่ยว ออกเดท และนอนพักผ่อน
การมาย่างกุ้งครั้งนี้ได้มีโอกาสไปดูนัต ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่คนไทยส่วนใหญ่ชอบไปดู โดยเฉพาะในเรื่องความเชื่อเรื่องโชคลาภ หนึ่งในความเชื่อเรื่องโชคลาภสำคัญที่คนไทยให้ความสำคัญและไปขอพรเรื่องโชคลาภมากที่สุดคือ นัต
คำว่า นัต (Nat) มาจากคำว่านาถะ (ในภาษาบาลี) แปลว่าที่พึ่ง นัตเป็นชุดความเชื่อการนับถือผีของคนพม่าที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน คนไทยส่วนใหญ่จะจัดให้นัตเป็นกลุ่มเดียวกับจิตวิญญาณศักดิ์สิทธิ์แบบเทพเจ้า แต่พื้นฐานของนัตเป็นเรื่องของผี ซึ่งบางตนเป็นผีบรรพชน อาจเทียบได้กับเทพารักษ์ ตัวอย่างของนัตที่เป็นผีบรรพชนคือ นัตของพระเจ้าตะเบงชเวตี้
ความเชื่อเรื่องนัตมีความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ในช่วงราวพุทธศตวรรษ 18 ความเชื่อเรื่องนัตถูกจัดระเบียบใหม่พร้อมๆ กับขยายอิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่เข้ามาทำให้เกิดการต่อรองเชิงอำนาจระหว่างพระพุทธศาสนากับการบูชานัต ซึ่งในการนี้กษัตริย์อโนรธาได้มีการประกาศนัตหลวงจำนวน 37 ตน ซึ่งเป็นตัวแทนของนัตสำคัญๆ ในแต่ละชุมชน และตั้งศาลนัตหลวงที่เขาโปปา โดยมีนัตสำคัญเป็นประธานคือ พระอินทร์ลองลงมาจะมีนัตอื่นๆ ที่มีการจัดลำดับและผนวกเข้ากับความเชื่อพื้นเมือง
ในสายตาของคนพม่าเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ถูกเชื่อมโยงเข้ากับนัต ดังจะเห็นได้ในบางพื้นที่นัตมาพร้อมกับการขอพรเรื่องโชคลาภและความมั่งคั่ง รวมถึงในบางพื้นที่มีการเข้าทรงนัตเพื่อขอพรหรือให้นัตช่วยปัดเป่าสิ่งร้ายๆ ออกไปจากชีวิต ในขณะที่พระพุทธศาสนาเป็นเรื่องของความศรัทธาและเรื่องของแบบแผนวิถีชีวิตทางศาสนา ซึ่งมีความบริสุทธิ์มากกว่าในสายตาของคนพม่
รูปเคารพของนัตแต่ละตนอาจจะแตกต่างกันตามความเชื่อรวมถึงพื้นที่ และน่าจะมีการผนวกนัตท้องถิ่นเข้ากับนัตที่ได้รับความนิยมในสังคม รูปแรกคือ โบโบยี ที่คนไทยเรียกว่าเทพทันใจ ส่วนในรูปที่สามคนขับรถก็บอกว่าทางขวาเป็นโบโบญีเหมือนกัน โดยรูปที่สามถ่ายที่หงส์สาวดี
นัตยังคงมีบทบาทสำคัญต่อความเชื่อในบางชุมชน ในบางสารคดีจะมีการถ่ายทอดการเข้าทรงนัต และที่สำคัญคือ นัตในฐานะของเศรษฐกิจความเชื่อที่เปลี่ยนเงินบาทไทยให้เป็นเงินจ๊าดเมียนมาร์
ในเรื่องศาสนานั้นประชากรส่วนใหญ่ของย่างกุ้งน่าจะเป็นคนพุทธ แต่ในย่างกุ้งก็มีศาสนสถานของศาสนาอื่นๆ ทั้งโบสถ์คริสต์ มัสยิด วัดซิก และเทวสถานของศาสนาฮินดู คนขับรถเล่าให้ฟังว่าคนนับถือศาสนาคริสต์ในปัจจุบันมีน้อยลง ในภาพแรกถ่ายที่เจดีย์ชเวดากองเป็นพระภิกษุชาวพม่ากำลังสวดมนต์ พื้นอัตลักษณ์ทางศาสนาของคนพม่าในย่างกุ้งนั้นแสดงออกอย่างชัดเจนว่าคนๆ นี้นับถือศาสนาอะไร เพราะย่านแต่ละย่านนั้นสะท้อนพื้นที่ของคนในศาสนานั้นๆ ในขณะเดียวกันจะเห็นพระสงฆ์เดินไปเดินมาเยอะมาก รวมถึงเณร และแม่ชีทั้งเด็กและผู้ใหญ่
นอกจากวัดพุทธแล้วในย่างกุ้งมีโบสถ์คริสต์พอสมควร ภาพที่ 2 เป็นโบสถ์คริสต์นิกายแองกลิกัน (นิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์) ชื่อว่า Holy Trinity Anglican Church ส่วนภาพที่ 3 เป็น St. Mary Cathedral ครั้งนี้น่าเสียดายไม่ค่อยได้ไปดูศาสนสถานอื่นๆ เท่าไร แต่ระหว่างทางนั่งบนรถก็ได้เห็นศาสนสถานอื่นๆ พอสมควร
เจดีย์ชเวดากองตั้งอยู่บนเนินเขาในพื้นที่ๆ อาจเรียกว่ากลางเมืองก็ได้ ตัวเจดีย์เป็นทรงระฆังขนาดใหญ่ และรอบๆ ทางขึ้นเนินเขามีบันไดประจำ 4 ทิศ โดยมีสิงฆ์ขนาดใหญ่ 2 คู่ อยู่ที่บันได คนย่างกุ้งนิยมไปเจดีย์ชเวดากองช่วงเช้าและช่วงเย็นๆ อย่างที่ได้เคยเล่าในโพสต์ก่อนว่า วัดเป็นพื้นที่สาธารณะอีกพื้นที่หนึ่งที่คนพม่าชอบไป ตอนขึ้นไปข้างบนจะเห็นคนพม่ามานั่งกินข้าวอยู่ในวัดเหมือนมานั่งปิคนิค หรือคนหนุ่มสาวจะมาออกเดทกันที่วัด
ฐานเจดีย์เป็นทรงสี่เหลี่ยมจตุรัสและพื้นที่รอบๆ ฐานจะมีพระพุทธรูปประจำวันเกิดให้คนสามารถมาสรงน้ำได้ ส่วนที่เห็นชัดจากระยะไกลของเจดีย์ก็คือ ตัวเจดีย์ที่มีลักษณะเป็นทรงระฆังคว่ำ ซึ่งสามารถมองเห็นได้จากทิศต่างๆ รอบเมืองย่างกุ้ง โดยในช่วงหัวค่ำคนจะเริ่มไปจุดประทีปเรียงรอบๆ เจดีย์ไล่ไปเรื่อยๆ จนครบวงรอบเจดีย์
ช่วงกลางคืนหลังพระอาทิตย์ตกภาพของเจดีย์ชเวดากองก็จะเปลี่ยนไป คนพม่าจะเริ่มจุดประทีปรอบๆ ฐานเจดีย์ และแม้ว่าจะเกือบ 1 ทุ่มแล้วคนพม่าก็ยังคงมาที่เจดีย์กันอยู่เรื่อยๆ เพื่อนั่งคุยกัน โดยวัดจะปิดประมาณ 2 ทุ่ม พวกเขาจะค่อยๆ ทยอยกันลงมาจากวัดแยกย้ายกันกลับบ้าน
เจดีย์สำคัญอีกที่หนึ่งในเมียนมาร์ที่มีโอกาสได้ไปก็คือ เจดีย์ชเวมอดอหรือคนไทยรู้จักว่า พระธาตุมุเตา ตามภาษามอญ โดยเป็นหนึ่งในเจดีย์สำคัญของเมียนมาร์ เจดีย์ชเวมอดอตั้งอยู่ในเมืองพะโคหรือหงสาวดี มีความสูง 114 เมตรจากฐาน โดยสูงกว่าเจดีย์ชเวดากองที่ย่างกุ้ง ความสูงดังกล่าวทำให้เจดีย์ได้ชื่อว่า มุเตา ในภาษามอญที่แปลว่าจมูกร้อน เนื่องจากต้องแหงนหน้ามองเจดีย์จนต้องกับแสงแดด
เจดีย์ชเวมอดอตั้งอยู่ในพะโค ซึ่งก่อนจะกลายเป็นของพม่านั้นเป็นเมืองที่อยู่ในเขตอิทธิพลของชาวมอญโดยเชื่อว่าพ่อค้าชาวมอญสองคนได้รับพระเกษาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาสามเส้น จึงนำมาบรรจุไว้เจดีย์ เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ที่มีพื้นหลังของเป็นเจดีย์ชเวมอดอคือ การเป็นสถานที่ใช้ในการเจาะพระกรรณของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ (เทียบได้กับพิธีโสกันต์โกนจุก) โดยเล่ากันว่าการเจาะพระกรรณของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้นี้ทำกลางวงล้อมของทหารมอญ ก่อนที่จะทำการพิชิตเมืองพะโคและตั้งเป็นศูนย์กลางการปกครองของราชวงศ์ตองอูในเวลาต่อมา ชื่อมุเตาสัมพันธ์กับคนไทยเชื้อสายมอญในบริเวณเกาะเกร็ด ซึ่งเป็นอดีตชุมชนมอญขนาดใหญ่ที่ถูกเทครัวมาอยู่ในพื้นที่นี้
คล้ายๆ กับวัดอื่นๆ ในเมียนมาร์คือ การต้องถอดรองเท้าเดินเข้าเขตวัด และการเป็นศูนย์กลางของชุมชนและพื้นที่สาธารณะ เมื่อเทียบกับวัดอื่นๆ ที่มีขนาดเล็กกว่าวัดที่เป็นเจดีย์สำคัญดูจะเป็นพื้นที่หลักที่ได้รับความนิยมในการเป็นพื้นที่ทำกิจกรรม อีกความเชื่อหนึ่งที่มีเกี่ยวกับเจดีย์ชเวมอดอคือ การถล่มลงมาของยอดเจดีย์ทำให้มิ้นชิ้นส่วนที่ตกลงมา และไม่ได้หล่นลงตรงพื้น คนพม่ามีความเชื่อว่าการเอาก้านธูปไปปักจะช่วยให้ชิ้นส่วนดังกล่าวไม่ตกลงมา และความเชื่อนี้ก็แพร่หลายในคนไทยพร้อมๆ กับการเอาก้านธูปไปปักแล้วจะทำให้ชีวิตดีไม่ล่วงหล่น
ครั้งแรกในเมียนมาร์ #Myanmar First Time (1): เรื่องทั่วไปที่พบเจอระหว่างทาง
วันแรกที่มาถึงย่างกุ้งที่สนามบินคนเยอะมาก ส่วนใหญ่เป็นคนไทยมาเป็นหมู่คณะ ตอนนี้รัฐบาลพม่าให้ฟรีวีซ่า แต่ต้องทำประกันของรัฐบาลตอนลงเครื่องมาจะมีการตรวจประกันที่สนามบินด้วย การมาเมียน์มาร์ครั้งนี้ที่บ้านจ้างคนขับรถพาไปที่ต่างๆ โดยสถานที่แรกที่คนขับรถพาไปก็คือ ไปดูพระพุทธไสยาสน์ เจาทัตยี (Chauk Hatat Gyi) หรือที่คนไทยเรียกพระนอนตาหวาน มีขนาดยาว 65 เมตร หลังจากนั้นคนขับรถก็พาไปวัดงาทัตจี เพื่อไปดูพระพุทธรูปงาทัตจี (Nga Htat Gyi) หรือพระพุทธเจ้า 5 ชั้น โดยเป็นพระพุทธรูปปรางค์สมาธิ แบบศิลปะพม่า สูงประมาณตึก 14 เมตร สวมเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ในปรางค์มารวิชัย นอกจากองค์พระแล้วสิ่งที่น่าประทับใจของวัดนี้คือ ข้างหลังองค์พระมีฉากไม้แกะสลักที่สูงประมาณ 16 เมตร เป็นอีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจของการมาวัดในเมียนมาร์คือ วัดเป็นหนึ่งในพื้นที่สาธารณะของคนเมียนมาร์ จะเห็นว่าคนใช้วัดเป็นพื้นที่สำหรับพักผ่อน ท่องเที่ยว ออกเดท และนอนพักผ่อน
การมาย่างกุ้งครั้งนี้ได้มีโอกาสไปดูนัต ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่คนไทยส่วนใหญ่ชอบไปดู โดยเฉพาะในเรื่องความเชื่อเรื่องโชคลาภ หนึ่งในความเชื่อเรื่องโชคลาภสำคัญที่คนไทยให้ความสำคัญและไปขอพรเรื่องโชคลาภมากที่สุดคือ นัต
คำว่า นัต (Nat) มาจากคำว่านาถะ (ในภาษาบาลี) แปลว่าที่พึ่ง นัตเป็นชุดความเชื่อการนับถือผีของคนพม่าที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน คนไทยส่วนใหญ่จะจัดให้นัตเป็นกลุ่มเดียวกับจิตวิญญาณศักดิ์สิทธิ์แบบเทพเจ้า แต่พื้นฐานของนัตเป็นเรื่องของผี ซึ่งบางตนเป็นผีบรรพชน อาจเทียบได้กับเทพารักษ์ ตัวอย่างของนัตที่เป็นผีบรรพชนคือ นัตของพระเจ้าตะเบงชเวตี้
ความเชื่อเรื่องนัตมีความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ในช่วงราวพุทธศตวรรษ 18 ความเชื่อเรื่องนัตถูกจัดระเบียบใหม่พร้อมๆ กับขยายอิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่เข้ามาทำให้เกิดการต่อรองเชิงอำนาจระหว่างพระพุทธศาสนากับการบูชานัต ซึ่งในการนี้กษัตริย์อโนรธาได้มีการประกาศนัตหลวงจำนวน 37 ตน ซึ่งเป็นตัวแทนของนัตสำคัญๆ ในแต่ละชุมชน และตั้งศาลนัตหลวงที่เขาโปปา โดยมีนัตสำคัญเป็นประธานคือ พระอินทร์ลองลงมาจะมีนัตอื่นๆ ที่มีการจัดลำดับและผนวกเข้ากับความเชื่อพื้นเมือง
ในสายตาของคนพม่าเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ถูกเชื่อมโยงเข้ากับนัต ดังจะเห็นได้ในบางพื้นที่นัตมาพร้อมกับการขอพรเรื่องโชคลาภและความมั่งคั่ง รวมถึงในบางพื้นที่มีการเข้าทรงนัตเพื่อขอพรหรือให้นัตช่วยปัดเป่าสิ่งร้ายๆ ออกไปจากชีวิต ในขณะที่พระพุทธศาสนาเป็นเรื่องของความศรัทธาและเรื่องของแบบแผนวิถีชีวิตทางศาสนา ซึ่งมีความบริสุทธิ์มากกว่าในสายตาของคนพม่
รูปเคารพของนัตแต่ละตนอาจจะแตกต่างกันตามความเชื่อรวมถึงพื้นที่ และน่าจะมีการผนวกนัตท้องถิ่นเข้ากับนัตที่ได้รับความนิยมในสังคม รูปแรกคือ โบโบยี ที่คนไทยเรียกว่าเทพทันใจ ส่วนในรูปที่สามคนขับรถก็บอกว่าทางขวาเป็นโบโบญีเหมือนกัน โดยรูปที่สามถ่ายที่หงส์สาวดี
นัตยังคงมีบทบาทสำคัญต่อความเชื่อในบางชุมชน ในบางสารคดีจะมีการถ่ายทอดการเข้าทรงนัต และที่สำคัญคือ นัตในฐานะของเศรษฐกิจความเชื่อที่เปลี่ยนเงินบาทไทยให้เป็นเงินจ๊าดเมียนมาร์
ในเรื่องศาสนานั้นประชากรส่วนใหญ่ของย่างกุ้งน่าจะเป็นคนพุทธ แต่ในย่างกุ้งก็มีศาสนสถานของศาสนาอื่นๆ ทั้งโบสถ์คริสต์ มัสยิด วัดซิก และเทวสถานของศาสนาฮินดู คนขับรถเล่าให้ฟังว่าคนนับถือศาสนาคริสต์ในปัจจุบันมีน้อยลง ในภาพแรกถ่ายที่เจดีย์ชเวดากองเป็นพระภิกษุชาวพม่ากำลังสวดมนต์ พื้นอัตลักษณ์ทางศาสนาของคนพม่าในย่างกุ้งนั้นแสดงออกอย่างชัดเจนว่าคนๆ นี้นับถือศาสนาอะไร เพราะย่านแต่ละย่านนั้นสะท้อนพื้นที่ของคนในศาสนานั้นๆ ในขณะเดียวกันจะเห็นพระสงฆ์เดินไปเดินมาเยอะมาก รวมถึงเณร และแม่ชีทั้งเด็กและผู้ใหญ่
นอกจากวัดพุทธแล้วในย่างกุ้งมีโบสถ์คริสต์พอสมควร ภาพที่ 2 เป็นโบสถ์คริสต์นิกายแองกลิกัน (นิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์) ชื่อว่า Holy Trinity Anglican Church ส่วนภาพที่ 3 เป็น St. Mary Cathedral ครั้งนี้น่าเสียดายไม่ค่อยได้ไปดูศาสนสถานอื่นๆ เท่าไร แต่ระหว่างทางนั่งบนรถก็ได้เห็นศาสนสถานอื่นๆ พอสมควร
เจดีย์ชเวดากองตั้งอยู่บนเนินเขาในพื้นที่ๆ อาจเรียกว่ากลางเมืองก็ได้ ตัวเจดีย์เป็นทรงระฆังขนาดใหญ่ และรอบๆ ทางขึ้นเนินเขามีบันไดประจำ 4 ทิศ โดยมีสิงฆ์ขนาดใหญ่ 2 คู่ อยู่ที่บันได คนย่างกุ้งนิยมไปเจดีย์ชเวดากองช่วงเช้าและช่วงเย็นๆ อย่างที่ได้เคยเล่าในโพสต์ก่อนว่า วัดเป็นพื้นที่สาธารณะอีกพื้นที่หนึ่งที่คนพม่าชอบไป ตอนขึ้นไปข้างบนจะเห็นคนพม่ามานั่งกินข้าวอยู่ในวัดเหมือนมานั่งปิคนิค หรือคนหนุ่มสาวจะมาออกเดทกันที่วัด
ฐานเจดีย์เป็นทรงสี่เหลี่ยมจตุรัสและพื้นที่รอบๆ ฐานจะมีพระพุทธรูปประจำวันเกิดให้คนสามารถมาสรงน้ำได้ ส่วนที่เห็นชัดจากระยะไกลของเจดีย์ก็คือ ตัวเจดีย์ที่มีลักษณะเป็นทรงระฆังคว่ำ ซึ่งสามารถมองเห็นได้จากทิศต่างๆ รอบเมืองย่างกุ้ง โดยในช่วงหัวค่ำคนจะเริ่มไปจุดประทีปเรียงรอบๆ เจดีย์ไล่ไปเรื่อยๆ จนครบวงรอบเจดีย์
ช่วงกลางคืนหลังพระอาทิตย์ตกภาพของเจดีย์ชเวดากองก็จะเปลี่ยนไป คนพม่าจะเริ่มจุดประทีปรอบๆ ฐานเจดีย์ และแม้ว่าจะเกือบ 1 ทุ่มแล้วคนพม่าก็ยังคงมาที่เจดีย์กันอยู่เรื่อยๆ เพื่อนั่งคุยกัน โดยวัดจะปิดประมาณ 2 ทุ่ม พวกเขาจะค่อยๆ ทยอยกันลงมาจากวัดแยกย้ายกันกลับบ้าน
เจดีย์สำคัญอีกที่หนึ่งในเมียนมาร์ที่มีโอกาสได้ไปก็คือ เจดีย์ชเวมอดอหรือคนไทยรู้จักว่า พระธาตุมุเตา ตามภาษามอญ โดยเป็นหนึ่งในเจดีย์สำคัญของเมียนมาร์ เจดีย์ชเวมอดอตั้งอยู่ในเมืองพะโคหรือหงสาวดี มีความสูง 114 เมตรจากฐาน โดยสูงกว่าเจดีย์ชเวดากองที่ย่างกุ้ง ความสูงดังกล่าวทำให้เจดีย์ได้ชื่อว่า มุเตา ในภาษามอญที่แปลว่าจมูกร้อน เนื่องจากต้องแหงนหน้ามองเจดีย์จนต้องกับแสงแดด
เจดีย์ชเวมอดอตั้งอยู่ในพะโค ซึ่งก่อนจะกลายเป็นของพม่านั้นเป็นเมืองที่อยู่ในเขตอิทธิพลของชาวมอญโดยเชื่อว่าพ่อค้าชาวมอญสองคนได้รับพระเกษาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาสามเส้น จึงนำมาบรรจุไว้เจดีย์ เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ที่มีพื้นหลังของเป็นเจดีย์ชเวมอดอคือ การเป็นสถานที่ใช้ในการเจาะพระกรรณของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ (เทียบได้กับพิธีโสกันต์โกนจุก) โดยเล่ากันว่าการเจาะพระกรรณของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้นี้ทำกลางวงล้อมของทหารมอญ ก่อนที่จะทำการพิชิตเมืองพะโคและตั้งเป็นศูนย์กลางการปกครองของราชวงศ์ตองอูในเวลาต่อมา ชื่อมุเตาสัมพันธ์กับคนไทยเชื้อสายมอญในบริเวณเกาะเกร็ด ซึ่งเป็นอดีตชุมชนมอญขนาดใหญ่ที่ถูกเทครัวมาอยู่ในพื้นที่นี้
คล้ายๆ กับวัดอื่นๆ ในเมียนมาร์คือ การต้องถอดรองเท้าเดินเข้าเขตวัด และการเป็นศูนย์กลางของชุมชนและพื้นที่สาธารณะ เมื่อเทียบกับวัดอื่นๆ ที่มีขนาดเล็กกว่าวัดที่เป็นเจดีย์สำคัญดูจะเป็นพื้นที่หลักที่ได้รับความนิยมในการเป็นพื้นที่ทำกิจกรรม อีกความเชื่อหนึ่งที่มีเกี่ยวกับเจดีย์ชเวมอดอคือ การถล่มลงมาของยอดเจดีย์ทำให้มิ้นชิ้นส่วนที่ตกลงมา และไม่ได้หล่นลงตรงพื้น คนพม่ามีความเชื่อว่าการเอาก้านธูปไปปักจะช่วยให้ชิ้นส่วนดังกล่าวไม่ตกลงมา และความเชื่อนี้ก็แพร่หลายในคนไทยพร้อมๆ กับการเอาก้านธูปไปปักแล้วจะทำให้ชีวิตดีไม่ล่วงหล่น
บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง