เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมามีโอกาสได้ให้สัมภาษณ์กับ เพจ สวัสดีนี่อาจารย์ “แป้ง” เอง-It’s me “Pang” ซึ่งเป็นเพจที่ให้ข้อมูลและแนะนำเกี่ยวกับการศึกษานิติศาสตร์ โดยในบทสัมภาษณ์นี้เจ้า อ.แป้ง เจ้าของเพจอยากให้ช่วยแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับการทำงานในอาชีพนักวิจัย เนื่องจากเป็นอาชีพที่นักกฎหมายส่วนใหญ่อาจจะยังไม่ค่อยรู้จัก และไม่แน่ใจว่าอาชีพนี้เป็นอย่างไร แตกต่างกับการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยอย่างไร และเส้นทางของอาชีพนี้เป็นอย่างไร
สวัสดีค่ะ รอบนี้พามาพบกับอีกอาชีพที่จบนิติศาสตร์มาก็ทำได้ คือนักวิจัย รอบนี้เราขอสัมภาษณ์ พี่เต้ย นักวิจัย (อาวุโส) จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) อยากรู้ว่าอาชีพนี้คืออะไร พบกันด้านล่างค่ะ
ชื่อ เขมภัทร ทฤษฎิคุณ (เต้ย) เกิดและใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ จบปริญญาตรีและปริญญาโทด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีความสนใจเป็นพิเศษด้านกฎหมายการคลังและกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจ ปัจจุบันกำลังศึกษาปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองอีกใบหนึ่งจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปิยากร: เราชื่นชมและแอบติดตามพี่เต้ยอยู่เสมอ มีไม่กี่คนที่แบบเรียนสายกฎหมาย แล้วข้ามไปเรียนสาขาอื่น ๆ ซึ่งเราเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้เรียนเอง รวมทั้งสังคมด้วย)
ปัจจุบันทำงานเป็นนักวิจัย (อาวุโส) อยู่สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยหรือ TDRI คนส่วนใหญ่อาจจะเข้าใจว่า TDRI มีแต่นักเศรษฐศาสตร์ แต่จริง ๆ แล้วงานของเราคือ การวิจัยนโยบายสาธารณะ (นโยบายเกี่ยวกับประโยชน์ของคนส่วนใหญ่) ซึ่งตัวนโยบายหนึ่ง ๆ ต้องอาศัยความรู้หลายด้านมาประกอบกันเพื่อจัดทำนโยบาย ความรู้ด้านกฎหมายก็เป็นสาขาหนึ่งที่ต้องใช้
สาเหตุที่จบด้านกฎหมายแล้วมาทำงานเป็นนักวิจัย เพราะส่วนหนึ่งเคยลองทำงานทั้งในบริษัทด้านทนายความและหน่วยงานของรัฐมาแล้ว พบว่าตัวเองไม่ชอบงานด้านเอกสารหรืองานด้านคดีกับตัวเองมีความสนใจงานทางด้านวิชาการเลยลองมาทำงานเป็นนักวิจัย (ปิยากร: ดีใจด้วยนะคะ ที่หาตัวเองเจอ อยากส่งต่อแนวคิดนี้ ว่าแบบโอกาสมีมาเสมอ ๆ รวมทั้งสิ่งที่ใช่อาจจะต้องใช้เวลาในการค้นหา)
หลายคนอาจจะสงสัยว่านักวิจัยคืออะไร เมื่อคิดถึงภาพคำว่าวิจัยหลายคนอาจจะนึกงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์หรือคนสวมเสื้อกาวสีขาวในห้องทดลอง แต่จริง ๆ นักวิจัยมีทั้งในงานด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์
นักวิจัยเป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการค้นคว้าความรู้เพื่อตอบคำถามอะไรบางอย่าง ในกรณีของเราเป็นนักวิจัยด้านกฎหมายและนโยบายสาธารณะประเด็นที่เราต้องหาคำตอบคือ เราจะแปลงนโยบายสาธารณะไปเป็นกฎหมายอย่างไร จะเขียนกฎหมายให้มีหลักการอย่างไรเพื่อตอบสนองต่อนโยบายสาธารณะที่อยู่เบื้องหลังกฎหมายนั้น
สิ่งที่แตกต่างระหว่างงานวิจัยกับการค้นคว้าข้อมูลทางกฎหมายปกติคือ การทำงานวิจัยมีเป้าหมายเพื่อตอบคำถามโดยอาศัยวิธีการค้นคว้าที่เป็นระบบ โดยเริ่มตั้งแต่การตั้งคำถาม วางสมมติฐาน กำหนดหลักเกณฑ์ในการศึกษา ฯลฯ งานวิจัยจึงไม่ใช่เพียงก้าวลงไปหาข้อมูล แต่เรามีระบบและวิธีการที่เราต้องใช้เพื่อนำไปสู่คำตอบอยู่
ลักษณะการทำงานวิจัยเชิงนโยบายเป็นงานที่สนุก เพราะบางครั้งการทำงานวิจัยไม่ใช่แค่การค้นคว้าหาข้อมูล แต่เป็นเจอกับเรื่องใหม่ ๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยเฉพาะในบริบทของประเทศไทยที่มีความเฉพาะตัวเพราะปัจจัยทางการเมืองต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเป็นสถานการณ์ที่เราจะไม่พบที่ไหนในโลก
นอกจากองค์ความรู้ต่าง ๆ ในทางทฤษฎีแล้ว งานวิจัยเชิงนโยบายสาธารณะยังมีความสำคัญกับความคิดเห็นของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งเป็นเป้าหมายของการนำนโยบายนั้น ๆ ไปบังคับใช้ เพราะแม้ว่าในทางหลักการและทฤษฎีจะออกแบบมาดี แต่หากไม่เข้ากับบริบทของสังคมนโยบายดังกล่าวอาจจะล้มเหลว สิ่งที่จะต้องทำคือพยายามปรับนโยบายให้เข้ากับบริบทของสังคมไทยให้ได้ (เราทำบนพื้นฐานของหลักการ ไม่ใช่บริบทแบบไทย ๆ แน่นอน) ด้วยลักษณะงานที่ต้องให้ความสำคัญกับความคิดเห็น เวลาเราทำวิจัยจึงมีโอกาสได้พบเจอและพูดคุยกับผู้คนจำนวนมาก และได้เรียนรู้จากการทำงานร่วมกับคนหลากหลายกลุ่ม ส่วนตัวชอบและพยายามผลักดันวาระการทำงานร่วมกับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมหรือสร้างปัญหาให้กับประชาชน ตัวอย่างเช่น การช่วยแก้ปัญหาใบอนุญาตสุราที่ทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยไม่สามารถเข้าสู่ตลาดได้
งานอีกอย่างหนึ่งที่เราคิดว่ามีความสำคัญในฐานะนักวิจัยเชิงนโยบายสาธารณะคือ การออกไปขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะต่าง ๆ ที่เราทำขึ้นผ่านการพูดคุยให้สัมภาษณ์กับสื่อต่าง ๆ การเขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ การเขียนบทความวิชาการ และการออกไปขับเคลื่อนร่วมกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ ส่วนตัวแล้วเราเคยมีโอกาสได้ไปช่วยให้ความเห็นที่เกี่ยวกับกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพหลายครั้ง เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลปรับเปลี่ยนกฎหมายหรือยกเลิกกฎหมายที่กีดกันผู้ประกอบการรายย่อย
งานวิจัยเชิงนโยบายเลยทำให้นักวิจัยแบบเราเข้าไปเป็นคนกลางระหว่างรัฐกับประชาชน เชื่อมโยงและทัดทานรัฐในกรณีที่ดำเนินการไม่เหมาะสมและควรปรับปรุง และส่งเสริมเสียงของประชาชนผ่านงานทางวิชาการ
ส่วนในด้านสาขาของงานวิจัยนั้นค่อนข้างจะหลากหลาย ส่วนตัวนับตั้งแต่เริ่มทำงานเป็นนักวิจัยได้ทำโจทย์วิจัยในฟิลด์ที่แตกต่างกันมาตลอด อาทิ สิทธิมนุษยชน ทรัพยากรธรรมชาติ ตลาดทุน การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ดิจิทัลแพลตฟอร์ม ปัญหาการประกอบธุรกิจโรงแรม และปัญหาการผลิตสุรา
เนื่องจากเราทำงานเป็นนักวิจัยด้านกฎหมาย การศึกษานิติศาสตร์เป็นพื้นฐานความรู้สำคัญที่เราต้องใช้ในการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาขากฎหมายมหาชนที่ทำให้เราเข้าใจบริบทของระบบราชการและโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน แต่ไม่ใช่สาขากฎหมายอื่นจะไม่สำคัญนะ ส่วนตัวเราคิดว่าการมีความเข้าใจภาพรวมของระบบกฎหมายจะทำให้เราสามารถทำงานด้านนโยบายสาธารณะได้ดี
นอกเหนือจากองค์ความรู้ด้านกฎหมายแล้ว ส่วนตัวเราคิดว่านักกฎหมายควรมีความรู้ในด้านอื่น ๆ ทั้งเศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคมวิทยา บัญชี ฯลฯ โดยเฉพาะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ต่าง ๆ เพราะองค์ความรู้พวกนี้มีความสำคัญต่อการขยายมุมมองของนักกฎหมายไม่ให้แข็งกระด้าง และขาดความสัมพันธ์กับสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันที่สังคมมีความท้าทายใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย ทั้งความเปลี่ยนแปลงในสังคมและการพัฒนาของเทคโนโลยี การมีเฉพาะความรู้ด้านกฎหมายอาจจะไม่สามารถตอบโจทย์ของสังคมได้
ได้สิ จริง ๆ อย่างที่บอกไปช่วงต้นว่า นักวิจัยมีหลายสาขา และแม้แต่นักวิจัยด้านกฎหมายก็อาจจะไม่จำเป็นต้องเป็นนักกฎหมายเสมอไป (ปิยากร: เห็นด้วยมาก ๆ การศึกษา วิเคราะห์กฎหมาย ไม่จำต้องเป็นนักกฎหมายเท่านั้น) เพราะองค์ความรู้ต่าง ๆ สามารถที่จะเรียนรู้ได้ตลอดถ้าเรามีใจที่จะทำ แต่ในงานวิจัยด้านกฎหมายการมีภาพและความเข้าใจความสัมพันธ์ของกฎหมายต่าง ๆ อาจจะช่วยให้เราสามารถทำงานได้ง่ายขึ้น
การจบปริญญาตรีเพียงพอที่จะทำงานในระดับหนึ่ง ส่วนตัวแล้วตอนเราเริ่มทำงานใหม่ ๆ เราก็ยังเป็นคนจบปริญญาตรี แต่หากต้องการที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านเฉพาะการเรียนต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกก็อาจจะเป็นตัวช่วยและเป็นวิถีทางที่ตอบโจทย์การพัฒนาของตนเอง รวมถึงเป็นการเพิ่มพูนทักษะทางการวิจัยและทฤษฎีเพิ่มขึ้น
อาชีพอาจารย์มีงานหลักเป็นการสอน และการทำวิจัยบางครั้งจะเน้นทำวิจัยที่เราเรียกกันว่า งานวิจัยแนวผลักดันองค์ความรู้ หรือก็คือการทำงานวิจัยเพื่อขยายขอบเขตความรู้ของเราออกไปทั้งในเชิงประเด็นและในเชิงทฤษฎี แต่การทำงานเป็นนักวิจัยเชิงนโยบายสาธารณะเป้าหมายของงานวิจัยจริง ๆ การทำค้นคว้าและใช้องค์ความรู้ทางวิชาการมาประยุกต์เพื่อตอบคำถามในเชิงนโยบายและนำเสนอนโยบายที่แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จุดนี้เลยอาจจะเป็นความแตกต่างระหว่างการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยกับนักวิจัย
แต่ก็ไม่ใช่ว่าเราจะทำงานวิจัยในเชิงผลักดันองค์ความรู้ไม่ได้นะ เพราะจริง ๆ ในบางครั้งงานวิจัยที่เรากำลังทำก็เป็นปัญหาใหม่ ๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เราก็ต้องค่อย ๆ เริ่มทำงานวิจัยที่เป็นการผลักดันองค์ความรู้เช่นกัน
สิ่งที่อยากจะทิ้งท้ายไว้ให้กับทุกคนก็คือ อยากชวนนักศึกษาที่กำลังจบการศึกษานิติศาสตร์ลองก้าวเข้ามาสู่โลกของนโยบายสาธารณะ พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ ๆ มีความสนใจและยังเป็นพื้นที่ ๆ นักกฎหมายยังรู้จักน้อยอยู่ หากมีโอกาสก็หวังว่าจะได้ทำงานร่วมกัน
เราเชื่อว่าถ้าได้ลองเข้ามาสู่โลกทางวิจัยนโยบายสาธารณะแล้วทุกคนจะรู้สึกสนุกและรู้สึกท้าทายกับเรื่องต่าง ๆ
ขอบคุณพี่เต้ยมากนะคะ ที่ให้เกียรติเพจน้อย ๆ ของ ปิยากร หวังว่าจะเป็นจุดเล็กๆ ที่ได้จุดประกายในนักศึกษาและลูกเพจรู้จักอาชีพนักวิจัยมากขึ้น และแน่นอนว่าถ้าอ่านแล้วรู้สึกว่าใช่ทางของตัวเอง ก็สู้เต็มที่นะคะ รอติดตามการเติบโตของทุกคนค่ะ
ป.ล. รูปพี่เต้ยส่งมา ส่วนใหญ่เป็นรูปตอนออกทีวี ใครอยากอยู่หน้ากล้องบ้าง รีบไปสมัครเป็นนักวิจัยโลด
นักวิจัยด้านกฎหมายคืออะไร
เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมามีโอกาสได้ให้สัมภาษณ์กับ เพจ สวัสดีนี่อาจารย์ “แป้ง” เอง-It’s me “Pang” ซึ่งเป็นเพจที่ให้ข้อมูลและแนะนำเกี่ยวกับการศึกษานิติศาสตร์ โดยในบทสัมภาษณ์นี้เจ้า อ.แป้ง เจ้าของเพจอยากให้ช่วยแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับการทำงานในอาชีพนักวิจัย เนื่องจากเป็นอาชีพที่นักกฎหมายส่วนใหญ่อาจจะยังไม่ค่อยรู้จัก และไม่แน่ใจว่าอาชีพนี้เป็นอย่างไร แตกต่างกับการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยอย่างไร และเส้นทางของอาชีพนี้เป็นอย่างไร
ชื่อ เขมภัทร ทฤษฎิคุณ (เต้ย) เกิดและใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ จบปริญญาตรีและปริญญาโทด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีความสนใจเป็นพิเศษด้านกฎหมายการคลังและกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจ ปัจจุบันกำลังศึกษาปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองอีกใบหนึ่งจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปิยากร: เราชื่นชมและแอบติดตามพี่เต้ยอยู่เสมอ มีไม่กี่คนที่แบบเรียนสายกฎหมาย แล้วข้ามไปเรียนสาขาอื่น ๆ ซึ่งเราเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้เรียนเอง รวมทั้งสังคมด้วย)
ปัจจุบันทำงานเป็นนักวิจัย (อาวุโส) อยู่สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยหรือ TDRI คนส่วนใหญ่อาจจะเข้าใจว่า TDRI มีแต่นักเศรษฐศาสตร์ แต่จริง ๆ แล้วงานของเราคือ การวิจัยนโยบายสาธารณะ (นโยบายเกี่ยวกับประโยชน์ของคนส่วนใหญ่) ซึ่งตัวนโยบายหนึ่ง ๆ ต้องอาศัยความรู้หลายด้านมาประกอบกันเพื่อจัดทำนโยบาย ความรู้ด้านกฎหมายก็เป็นสาขาหนึ่งที่ต้องใช้
สาเหตุที่จบด้านกฎหมายแล้วมาทำงานเป็นนักวิจัย เพราะส่วนหนึ่งเคยลองทำงานทั้งในบริษัทด้านทนายความและหน่วยงานของรัฐมาแล้ว พบว่าตัวเองไม่ชอบงานด้านเอกสารหรืองานด้านคดีกับตัวเองมีความสนใจงานทางด้านวิชาการเลยลองมาทำงานเป็นนักวิจัย (ปิยากร: ดีใจด้วยนะคะ ที่หาตัวเองเจอ อยากส่งต่อแนวคิดนี้ ว่าแบบโอกาสมีมาเสมอ ๆ รวมทั้งสิ่งที่ใช่อาจจะต้องใช้เวลาในการค้นหา)
หลายคนอาจจะสงสัยว่านักวิจัยคืออะไร เมื่อคิดถึงภาพคำว่าวิจัยหลายคนอาจจะนึกงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์หรือคนสวมเสื้อกาวสีขาวในห้องทดลอง แต่จริง ๆ นักวิจัยมีทั้งในงานด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์
นักวิจัยเป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการค้นคว้าความรู้เพื่อตอบคำถามอะไรบางอย่าง ในกรณีของเราเป็นนักวิจัยด้านกฎหมายและนโยบายสาธารณะประเด็นที่เราต้องหาคำตอบคือ เราจะแปลงนโยบายสาธารณะไปเป็นกฎหมายอย่างไร จะเขียนกฎหมายให้มีหลักการอย่างไรเพื่อตอบสนองต่อนโยบายสาธารณะที่อยู่เบื้องหลังกฎหมายนั้น
สิ่งที่แตกต่างระหว่างงานวิจัยกับการค้นคว้าข้อมูลทางกฎหมายปกติคือ การทำงานวิจัยมีเป้าหมายเพื่อตอบคำถามโดยอาศัยวิธีการค้นคว้าที่เป็นระบบ โดยเริ่มตั้งแต่การตั้งคำถาม วางสมมติฐาน กำหนดหลักเกณฑ์ในการศึกษา ฯลฯ งานวิจัยจึงไม่ใช่เพียงก้าวลงไปหาข้อมูล แต่เรามีระบบและวิธีการที่เราต้องใช้เพื่อนำไปสู่คำตอบอยู่
ลักษณะการทำงานวิจัยเชิงนโยบายเป็นงานที่สนุก เพราะบางครั้งการทำงานวิจัยไม่ใช่แค่การค้นคว้าหาข้อมูล แต่เป็นเจอกับเรื่องใหม่ ๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยเฉพาะในบริบทของประเทศไทยที่มีความเฉพาะตัวเพราะปัจจัยทางการเมืองต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเป็นสถานการณ์ที่เราจะไม่พบที่ไหนในโลก
นอกจากองค์ความรู้ต่าง ๆ ในทางทฤษฎีแล้ว งานวิจัยเชิงนโยบายสาธารณะยังมีความสำคัญกับความคิดเห็นของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งเป็นเป้าหมายของการนำนโยบายนั้น ๆ ไปบังคับใช้ เพราะแม้ว่าในทางหลักการและทฤษฎีจะออกแบบมาดี แต่หากไม่เข้ากับบริบทของสังคมนโยบายดังกล่าวอาจจะล้มเหลว สิ่งที่จะต้องทำคือพยายามปรับนโยบายให้เข้ากับบริบทของสังคมไทยให้ได้ (เราทำบนพื้นฐานของหลักการ ไม่ใช่บริบทแบบไทย ๆ แน่นอน) ด้วยลักษณะงานที่ต้องให้ความสำคัญกับความคิดเห็น เวลาเราทำวิจัยจึงมีโอกาสได้พบเจอและพูดคุยกับผู้คนจำนวนมาก และได้เรียนรู้จากการทำงานร่วมกับคนหลากหลายกลุ่ม ส่วนตัวชอบและพยายามผลักดันวาระการทำงานร่วมกับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมหรือสร้างปัญหาให้กับประชาชน ตัวอย่างเช่น การช่วยแก้ปัญหาใบอนุญาตสุราที่ทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยไม่สามารถเข้าสู่ตลาดได้
งานอีกอย่างหนึ่งที่เราคิดว่ามีความสำคัญในฐานะนักวิจัยเชิงนโยบายสาธารณะคือ การออกไปขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะต่าง ๆ ที่เราทำขึ้นผ่านการพูดคุยให้สัมภาษณ์กับสื่อต่าง ๆ การเขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ การเขียนบทความวิชาการ และการออกไปขับเคลื่อนร่วมกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ ส่วนตัวแล้วเราเคยมีโอกาสได้ไปช่วยให้ความเห็นที่เกี่ยวกับกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพหลายครั้ง เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลปรับเปลี่ยนกฎหมายหรือยกเลิกกฎหมายที่กีดกันผู้ประกอบการรายย่อย
งานวิจัยเชิงนโยบายเลยทำให้นักวิจัยแบบเราเข้าไปเป็นคนกลางระหว่างรัฐกับประชาชน เชื่อมโยงและทัดทานรัฐในกรณีที่ดำเนินการไม่เหมาะสมและควรปรับปรุง และส่งเสริมเสียงของประชาชนผ่านงานทางวิชาการ
ส่วนในด้านสาขาของงานวิจัยนั้นค่อนข้างจะหลากหลาย ส่วนตัวนับตั้งแต่เริ่มทำงานเป็นนักวิจัยได้ทำโจทย์วิจัยในฟิลด์ที่แตกต่างกันมาตลอด อาทิ สิทธิมนุษยชน ทรัพยากรธรรมชาติ ตลาดทุน การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ดิจิทัลแพลตฟอร์ม ปัญหาการประกอบธุรกิจโรงแรม และปัญหาการผลิตสุรา
เนื่องจากเราทำงานเป็นนักวิจัยด้านกฎหมาย การศึกษานิติศาสตร์เป็นพื้นฐานความรู้สำคัญที่เราต้องใช้ในการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาขากฎหมายมหาชนที่ทำให้เราเข้าใจบริบทของระบบราชการและโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน แต่ไม่ใช่สาขากฎหมายอื่นจะไม่สำคัญนะ ส่วนตัวเราคิดว่าการมีความเข้าใจภาพรวมของระบบกฎหมายจะทำให้เราสามารถทำงานด้านนโยบายสาธารณะได้ดี
นอกเหนือจากองค์ความรู้ด้านกฎหมายแล้ว ส่วนตัวเราคิดว่านักกฎหมายควรมีความรู้ในด้านอื่น ๆ ทั้งเศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคมวิทยา บัญชี ฯลฯ โดยเฉพาะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ต่าง ๆ เพราะองค์ความรู้พวกนี้มีความสำคัญต่อการขยายมุมมองของนักกฎหมายไม่ให้แข็งกระด้าง และขาดความสัมพันธ์กับสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันที่สังคมมีความท้าทายใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย ทั้งความเปลี่ยนแปลงในสังคมและการพัฒนาของเทคโนโลยี การมีเฉพาะความรู้ด้านกฎหมายอาจจะไม่สามารถตอบโจทย์ของสังคมได้
ได้สิ จริง ๆ อย่างที่บอกไปช่วงต้นว่า นักวิจัยมีหลายสาขา และแม้แต่นักวิจัยด้านกฎหมายก็อาจจะไม่จำเป็นต้องเป็นนักกฎหมายเสมอไป (ปิยากร: เห็นด้วยมาก ๆ การศึกษา วิเคราะห์กฎหมาย ไม่จำต้องเป็นนักกฎหมายเท่านั้น) เพราะองค์ความรู้ต่าง ๆ สามารถที่จะเรียนรู้ได้ตลอดถ้าเรามีใจที่จะทำ แต่ในงานวิจัยด้านกฎหมายการมีภาพและความเข้าใจความสัมพันธ์ของกฎหมายต่าง ๆ อาจจะช่วยให้เราสามารถทำงานได้ง่ายขึ้น
การจบปริญญาตรีเพียงพอที่จะทำงานในระดับหนึ่ง ส่วนตัวแล้วตอนเราเริ่มทำงานใหม่ ๆ เราก็ยังเป็นคนจบปริญญาตรี แต่หากต้องการที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านเฉพาะการเรียนต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกก็อาจจะเป็นตัวช่วยและเป็นวิถีทางที่ตอบโจทย์การพัฒนาของตนเอง รวมถึงเป็นการเพิ่มพูนทักษะทางการวิจัยและทฤษฎีเพิ่มขึ้น
อาชีพอาจารย์มีงานหลักเป็นการสอน และการทำวิจัยบางครั้งจะเน้นทำวิจัยที่เราเรียกกันว่า งานวิจัยแนวผลักดันองค์ความรู้ หรือก็คือการทำงานวิจัยเพื่อขยายขอบเขตความรู้ของเราออกไปทั้งในเชิงประเด็นและในเชิงทฤษฎี แต่การทำงานเป็นนักวิจัยเชิงนโยบายสาธารณะเป้าหมายของงานวิจัยจริง ๆ การทำค้นคว้าและใช้องค์ความรู้ทางวิชาการมาประยุกต์เพื่อตอบคำถามในเชิงนโยบายและนำเสนอนโยบายที่แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จุดนี้เลยอาจจะเป็นความแตกต่างระหว่างการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยกับนักวิจัย
แต่ก็ไม่ใช่ว่าเราจะทำงานวิจัยในเชิงผลักดันองค์ความรู้ไม่ได้นะ เพราะจริง ๆ ในบางครั้งงานวิจัยที่เรากำลังทำก็เป็นปัญหาใหม่ ๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เราก็ต้องค่อย ๆ เริ่มทำงานวิจัยที่เป็นการผลักดันองค์ความรู้เช่นกัน
สิ่งที่อยากจะทิ้งท้ายไว้ให้กับทุกคนก็คือ อยากชวนนักศึกษาที่กำลังจบการศึกษานิติศาสตร์ลองก้าวเข้ามาสู่โลกของนโยบายสาธารณะ พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ ๆ มีความสนใจและยังเป็นพื้นที่ ๆ นักกฎหมายยังรู้จักน้อยอยู่ หากมีโอกาสก็หวังว่าจะได้ทำงานร่วมกัน
เราเชื่อว่าถ้าได้ลองเข้ามาสู่โลกทางวิจัยนโยบายสาธารณะแล้วทุกคนจะรู้สึกสนุกและรู้สึกท้าทายกับเรื่องต่าง ๆ
ขอบคุณพี่เต้ยมากนะคะ ที่ให้เกียรติเพจน้อย ๆ ของ ปิยากร หวังว่าจะเป็นจุดเล็กๆ ที่ได้จุดประกายในนักศึกษาและลูกเพจรู้จักอาชีพนักวิจัยมากขึ้น และแน่นอนว่าถ้าอ่านแล้วรู้สึกว่าใช่ทางของตัวเอง ก็สู้เต็มที่นะคะ รอติดตามการเติบโตของทุกคนค่ะ

ป.ล. รูปพี่เต้ยส่งมา ส่วนใหญ่เป็นรูปตอนออกทีวี ใครอยากอยู่หน้ากล้องบ้าง รีบไปสมัครเป็นนักวิจัยโลด

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง