ชื่อหนังสือ: สร้างสังคมไทยให้เป็นรัฐสวัสดิการ
ผู้เขียน: ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ
สำนักพิมพ์: เสมสิกขาลัย
ในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) นั้นสร้างสถานการณ์ให้สังคมไทยมีความตระหนักเกี่ยวกับรัฐสวัสดิการมากขึ้น และทำให้เกิดการตั้งคำถามเกี่ยวการมีรัฐสวัสดิการของประเทศไทย ในระหว่างหนทางสู่รัฐสวัสดิการยังห่างไกลอยู่ในขณะนี้และสังคมไทยกำลังอยู่ในระหว่างการต่อสู้เพื่อให้เกิดรัฐสวัสดิการ สถาบันปรีดี พนมยงค์ จึงอยากชวนทุกท่านมาอ่านหนังสือเพื่อเติมความรู้สู่คลังปัญญาและลับอาวุธทางปัญญาเกี่ยวกับรัฐสวัสดิการ
หนังสือ “สร้างสังคมไทยให้เป็นรัฐสวัสดิการ” เขียนโดย ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ รองศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง และผู้ก่อตั้งหลักสูตรเศรษฐศาสตร์การเมืองของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิมพ์โดยสำนักพิมพ์เสมสิกขาลัย โดยลักษณะของตัวหนังสือประกอบด้วยเนื้อหาที่เรียบเรียงจากการสัมมนา การอภิปราย และบทสัมภาษณ์ของ อ.ณรงค์
“สิ่งที่อาจารย์ปรีดีพูดคือเรื่องของเศรษฐศาสตร์การเมืองเรื่องของการสร้างความมั่นคงและพลังอำนาจของประชาชน เราจำเป็นต้องทำให้ประชาชนทุกคนสามารถต่อสู้เพื่อมีชีวิตรอดได้”
ในภาคแรกของหนังสือเล่มนี้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับรัฐสวัสดิการโดยเริ่มต้นจากแนวคิดเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเมืองและรัฐสวัสดิการของปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเป็นการฉายภาพกว้างๆ และชวนตั้งคำถามเกี่ยวกับการมีชีวิตที่มีความมั่นคงมากขึ้น ไม่ถูกคุกคามจากมนุษย์ด้วยกันหรือธรรมชาติมากเกินไป โดย อ.ณรงค์ ได้ชี้ให้เห็นว่า “สิ่งที่อาจารย์ปรีดีพูดคือเรื่องของเศรษฐศาสตร์การเมืองเรื่องของการสร้างความมั่นคงและพลังอำนาจของประชาชน เราจำเป็นต้องทำให้ประชาชนทุกคนสามารถต่อสู้เพื่อมีชีวิตรอดได้”
“ระบบสังคมนิยมแบบสหกรณ์ (association socialism หรือ cooperative socialism) ที่กำเนิดมาจากโรเบิร์ต โอเวน”
ประเด็นหนึ่ง อ.ณรงค์ ได้อธิบายไว้อย่างน่าสนใจคือ การหยิบนำเอาแนวคิดทางเศรษฐกิจของ อ.ปรีดี มาอธิบายและชี้ให้เห็นว่าเพราะเหตุใด อ.ปรีดี จึงใช้แนวคิดทางเศรษฐกิจในลักษณะดังกล่าว นอกจากนี้ อ.ณรงค์ ยังได้ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างแนวคิดของ อ.ปรีดี กับแนวคิดแบบมาร์กซิสม์ว่ามีลักษณะและความแตกต่างกันอย่างไร สังคมนิยมที่ อ.ปรีดี นำมาใช้ในแนวคิดสังคมนิยมวิทยาศาสตร์ประชาธิปไตยนั้นคือ ระบบสังคมนิยมแบบสหกรณ์ (association socialism หรือ cooperative socialism) ที่กำเนิดมาจากโรเบิร์ต โอเวน ซึ่งมีความแตกต่างจากระบบคอมมูนที่เน้นการสั่งการจากรัฐบาลเป็นหลัก ซึ่งแตกต่างจากระบบสังคมนิยมแบบสหกรณ์ที่ให้ความสำคัญกับสิทธิและเสียงของสมาชิกที่สอดคล้องกับหลักการแบบประชาธิปไตย โดยจะเห็นได้จากเค้าโครงการเศรษฐกิจที่กำหนดให้แผนการใหญ่ (master plan) มาจากรัฐบาลที่ส่วนกลาง แต่การตัดสินใจในเชิงรายละเอียดของแผนการนั้นมาจากการตัดสินใจของสมาชิกสหกรณ์
นอกจากในส่วนของทฤษฎีและการอธิบายความคิดของ อ.ปรีดี แล้ว หนังสือเล่มนี้ได้อธิบายเนื้อหาต่อไปเกี่ยวกับการนำแนวคิดเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเมืองและรัฐสวัสดิการของ อ.ปรีดี มาใช้พิจารณาบริบทของสังคมในประเด็นต่างๆ ตัวอย่างเช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ โดย อ.ณรงค์ ได้ฉายภาพให้เห็นว่า แนวคิดเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาตินั้นมีรากฐานมาจากที่มาเดียวกันกับเค้าโครงการเศรษฐกิจของ อ.ปรีดี และการนำแนวคิดทางเศรษฐกิจของ อ.ปรีดี ไปวิเคราะห์เรื่องตลาดภายใน (internal market) ที่มุ่งหมายจำกัดบทบาทของระบบทุนนิยม โดยต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม
ในภาคที่สองของหนังสือ อ.ณรงค์ ได้นำเสนอประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับรัฐสวัสดิการที่มีความน่าสนใจ ซึ่งสะท้อนความท้าทายของโลกสมัยใหม่ที่มีความต้องการรัฐสวัสดิการมากขึ้น โดยในเนื้อหาส่วนนี้ได้นำเสนอเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การก่อให้เกิดรัฐสวัสดิการ ซึ่งเป็นการฉายภาพการต่อสู้และการเกิดขึ้นของรัฐสวัสดิการ ลักษณะของรัฐสวัสดิการ รัฐสวัสดิการกับสังคมสวัสดิการ ก่อนจะกลับมาที่แนวความคิดของ อ.ปรีดี กับรัฐสวัสดิการ และจบลงด้วยเรื่องรัฐสวัสดิการกับอุดมการณ์การเมืองสีเขียว
หนังสือเล่มนี้มีความหนาไม่มากเพียง 200 หน้า ผ่านการอธิบายด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายกระชับ ทว่า หนังสือได้ชวนให้ขบคิดหลายรอบเกี่ยวกับเนื้อหาที่ได้เรียบเรียงและนำเสนอผ่านสายตาของผู้อ่าน หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่มีคุณค่าและเหมาะสมกับผู้ที่มีความสนใจเกี่ยวกับรัฐสวัสดิการ และประวัติศาสตร์ความคิดเกี่ยวกับรัฐสวัสดิการ
ไม่มีคำจำกัดความใดจะเหมาะสมกับหนังสือเล่มนี้ไปกว่าสิ่งที่ อ.วิทยากร เชียงกูล ได้ให้ไว้คำนำ ซึ่งเปรียบเสมือนคำนิยมของหนังสือฉบับนี้ว่า
“ในสภาพที่เรายังขาดความคิดดี หนังสือดี ด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองที่พูดถึงความจริงและความเป็นธรรมแบบวิเคราะห์เจาะลึก หนังสือเล่มนี้จึงเป็นประโยชน์ที่ผมอยากชักชวนให้ผู้สนใจอ่านและค้นคว้าอภิปรายกันต่อไป”
บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง
รีวิวหนังสือ: สร้างสังคมไทยให้เป็นรัฐสวัสดิการ
ชื่อหนังสือ: สร้างสังคมไทยให้เป็นรัฐสวัสดิการ
ผู้เขียน: ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ
สำนักพิมพ์: เสมสิกขาลัย
ในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) นั้นสร้างสถานการณ์ให้สังคมไทยมีความตระหนักเกี่ยวกับรัฐสวัสดิการมากขึ้น และทำให้เกิดการตั้งคำถามเกี่ยวการมีรัฐสวัสดิการของประเทศไทย ในระหว่างหนทางสู่รัฐสวัสดิการยังห่างไกลอยู่ในขณะนี้และสังคมไทยกำลังอยู่ในระหว่างการต่อสู้เพื่อให้เกิดรัฐสวัสดิการ สถาบันปรีดี พนมยงค์ จึงอยากชวนทุกท่านมาอ่านหนังสือเพื่อเติมความรู้สู่คลังปัญญาและลับอาวุธทางปัญญาเกี่ยวกับรัฐสวัสดิการ
หนังสือ “สร้างสังคมไทยให้เป็นรัฐสวัสดิการ” เขียนโดย ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ รองศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง และผู้ก่อตั้งหลักสูตรเศรษฐศาสตร์การเมืองของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิมพ์โดยสำนักพิมพ์เสมสิกขาลัย โดยลักษณะของตัวหนังสือประกอบด้วยเนื้อหาที่เรียบเรียงจากการสัมมนา การอภิปราย และบทสัมภาษณ์ของ อ.ณรงค์
“สิ่งที่อาจารย์ปรีดีพูดคือเรื่องของเศรษฐศาสตร์การเมืองเรื่องของการสร้างความมั่นคงและพลังอำนาจของประชาชน เราจำเป็นต้องทำให้ประชาชนทุกคนสามารถต่อสู้เพื่อมีชีวิตรอดได้”
ในภาคแรกของหนังสือเล่มนี้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับรัฐสวัสดิการโดยเริ่มต้นจากแนวคิดเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเมืองและรัฐสวัสดิการของปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเป็นการฉายภาพกว้างๆ และชวนตั้งคำถามเกี่ยวกับการมีชีวิตที่มีความมั่นคงมากขึ้น ไม่ถูกคุกคามจากมนุษย์ด้วยกันหรือธรรมชาติมากเกินไป โดย อ.ณรงค์ ได้ชี้ให้เห็นว่า “สิ่งที่อาจารย์ปรีดีพูดคือเรื่องของเศรษฐศาสตร์การเมืองเรื่องของการสร้างความมั่นคงและพลังอำนาจของประชาชน เราจำเป็นต้องทำให้ประชาชนทุกคนสามารถต่อสู้เพื่อมีชีวิตรอดได้”
“ระบบสังคมนิยมแบบสหกรณ์ (association socialism หรือ cooperative socialism) ที่กำเนิดมาจากโรเบิร์ต โอเวน”
ประเด็นหนึ่ง อ.ณรงค์ ได้อธิบายไว้อย่างน่าสนใจคือ การหยิบนำเอาแนวคิดทางเศรษฐกิจของ อ.ปรีดี มาอธิบายและชี้ให้เห็นว่าเพราะเหตุใด อ.ปรีดี จึงใช้แนวคิดทางเศรษฐกิจในลักษณะดังกล่าว นอกจากนี้ อ.ณรงค์ ยังได้ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างแนวคิดของ อ.ปรีดี กับแนวคิดแบบมาร์กซิสม์ว่ามีลักษณะและความแตกต่างกันอย่างไร สังคมนิยมที่ อ.ปรีดี นำมาใช้ในแนวคิดสังคมนิยมวิทยาศาสตร์ประชาธิปไตยนั้นคือ ระบบสังคมนิยมแบบสหกรณ์ (association socialism หรือ cooperative socialism) ที่กำเนิดมาจากโรเบิร์ต โอเวน ซึ่งมีความแตกต่างจากระบบคอมมูนที่เน้นการสั่งการจากรัฐบาลเป็นหลัก ซึ่งแตกต่างจากระบบสังคมนิยมแบบสหกรณ์ที่ให้ความสำคัญกับสิทธิและเสียงของสมาชิกที่สอดคล้องกับหลักการแบบประชาธิปไตย โดยจะเห็นได้จากเค้าโครงการเศรษฐกิจที่กำหนดให้แผนการใหญ่ (master plan) มาจากรัฐบาลที่ส่วนกลาง แต่การตัดสินใจในเชิงรายละเอียดของแผนการนั้นมาจากการตัดสินใจของสมาชิกสหกรณ์
นอกจากในส่วนของทฤษฎีและการอธิบายความคิดของ อ.ปรีดี แล้ว หนังสือเล่มนี้ได้อธิบายเนื้อหาต่อไปเกี่ยวกับการนำแนวคิดเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเมืองและรัฐสวัสดิการของ อ.ปรีดี มาใช้พิจารณาบริบทของสังคมในประเด็นต่างๆ ตัวอย่างเช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ โดย อ.ณรงค์ ได้ฉายภาพให้เห็นว่า แนวคิดเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาตินั้นมีรากฐานมาจากที่มาเดียวกันกับเค้าโครงการเศรษฐกิจของ อ.ปรีดี และการนำแนวคิดทางเศรษฐกิจของ อ.ปรีดี ไปวิเคราะห์เรื่องตลาดภายใน (internal market) ที่มุ่งหมายจำกัดบทบาทของระบบทุนนิยม โดยต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม
ในภาคที่สองของหนังสือ อ.ณรงค์ ได้นำเสนอประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับรัฐสวัสดิการที่มีความน่าสนใจ ซึ่งสะท้อนความท้าทายของโลกสมัยใหม่ที่มีความต้องการรัฐสวัสดิการมากขึ้น โดยในเนื้อหาส่วนนี้ได้นำเสนอเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การก่อให้เกิดรัฐสวัสดิการ ซึ่งเป็นการฉายภาพการต่อสู้และการเกิดขึ้นของรัฐสวัสดิการ ลักษณะของรัฐสวัสดิการ รัฐสวัสดิการกับสังคมสวัสดิการ ก่อนจะกลับมาที่แนวความคิดของ อ.ปรีดี กับรัฐสวัสดิการ และจบลงด้วยเรื่องรัฐสวัสดิการกับอุดมการณ์การเมืองสีเขียว
หนังสือเล่มนี้มีความหนาไม่มากเพียง 200 หน้า ผ่านการอธิบายด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายกระชับ ทว่า หนังสือได้ชวนให้ขบคิดหลายรอบเกี่ยวกับเนื้อหาที่ได้เรียบเรียงและนำเสนอผ่านสายตาของผู้อ่าน หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่มีคุณค่าและเหมาะสมกับผู้ที่มีความสนใจเกี่ยวกับรัฐสวัสดิการ และประวัติศาสตร์ความคิดเกี่ยวกับรัฐสวัสดิการ
ไม่มีคำจำกัดความใดจะเหมาะสมกับหนังสือเล่มนี้ไปกว่าสิ่งที่ อ.วิทยากร เชียงกูล ได้ให้ไว้คำนำ ซึ่งเปรียบเสมือนคำนิยมของหนังสือฉบับนี้ว่า
“ในสภาพที่เรายังขาดความคิดดี หนังสือดี ด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองที่พูดถึงความจริงและความเป็นธรรมแบบวิเคราะห์เจาะลึก หนังสือเล่มนี้จึงเป็นประโยชน์ที่ผมอยากชักชวนให้ผู้สนใจอ่านและค้นคว้าอภิปรายกันต่อไป”
บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง