ความอีหลักอีเหลื่อของระบบเศรษฐกิจภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญไทย
Publication • Conference and Proceedings
รัฐธรรมนูญเป็นเอกสารสำคัญทั้งในทางการเมือง ทางกฎหมาย และทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ ในแง่หนึ่งรัฐธรรมนูญมีสถานะเป็นตราสารทางการเมืองที่กำหนดรูปของรัฐ ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐและความสัมพันธ์ทางสิทธิหน้าที่ระหว่างรัฐกับประชาชน ในอีกแง่หนึ่งรัฐธรรมนูญก็ทำหน้าที่เป็นสถาบันกำหนดกติกาสังคม โดยไม่ได้มีสถานะเป็นเพียงสถาบันธรรมดา ทว่า รัฐธรรมนูญทำหน้าที่เป็นอภิมหาสถาบันที่กำหนดสถาบันอื่นๆ และเป็นบรรทัดฐานในการตีความและกำหนดกรอบของสถาบันอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางเศรษฐกิจ รัฐธรรมนูญมีส่วนในการกำหนดกติกาทางเศรษฐกิจภายในของรัฐผ่านอุดมการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ
ในอดีตรัฐธรรมนูญของประเทศไทยจะตราบทบัญญัติที่กำหนดเจตนารมณ์ที่สะท้อนอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจของรัฐ โดยกำหนดให้รัฐต้องสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมและเป็นธรรมโดยกลไกตลาดซึ่งสะท้อนนัยของอุดมการณ์เศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ทว่า ภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้มีการเปลี่ยนอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจของรัฐใหม่ โดยเปลี่ยนมาให้ความสำคัญกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปัญหาตามมาคือหลักการเศรษฐกิจพอเพียงนั้นขาดความชัดเจนในเชิงความหมายและรายละเอียด รวมถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้นไม่อาจระบุได้ว่า รัฐควรจะมีการดำเนินการทางเศรษฐกิจไปในทิศทางใด สภาพดังกล่าวทำให้การดำเนินนโยบายของรัฐในทางเศรษฐกิจขาดทิศทางที่ชัดเจนว่ารัฐจะดำเนินนโยบายไปในทิศทางใด
บทความนี้มุ่งศึกษาบทบัญญัติเกี่ยวกับอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันในมุมมองทางกฎหมายและเศรษฐศาสตร์สถาบัน เพื่ออธิบายปัญหาความไม่ชัดเจนดังกล่าวของรัฐธรรมนูญจะส่งผลต่อการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจอย่างไร
May 1, 2023
Tagged นโยบายเศรษฐกิจ รัฐธรรมนูญ การแข่งขันทางการค้า นโยบายเศรษฐกิจของรัฐ นโยบายเศรษฐกิจในรัฐธรรมนูญ ระบบเศรษฐกิจเสรีและเป็นธรรม เศรษฐกิจพอเพียง
การประชุมวิชาการและรายงานสืบเนื่อง
ความอีหลักอีเหลื่อของระบบเศรษฐกิจภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญไทย
Publication • Conference and Proceedings
รัฐธรรมนูญเป็นเอกสารสำคัญทั้งในทางการเมือง ทางกฎหมาย และทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ ในแง่หนึ่งรัฐธรรมนูญมีสถานะเป็นตราสารทางการเมืองที่กำหนดรูปของรัฐ ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐและความสัมพันธ์ทางสิทธิหน้าที่ระหว่างรัฐกับประชาชน ในอีกแง่หนึ่งรัฐธรรมนูญก็ทำหน้าที่เป็นสถาบันกำหนดกติกาสังคม โดยไม่ได้มีสถานะเป็นเพียงสถาบันธรรมดา ทว่า รัฐธรรมนูญทำหน้าที่เป็นอภิมหาสถาบันที่กำหนดสถาบันอื่นๆ และเป็นบรรทัดฐานในการตีความและกำหนดกรอบของสถาบันอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางเศรษฐกิจ รัฐธรรมนูญมีส่วนในการกำหนดกติกาทางเศรษฐกิจภายในของรัฐผ่านอุดมการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ
ในอดีตรัฐธรรมนูญของประเทศไทยจะตราบทบัญญัติที่กำหนดเจตนารมณ์ที่สะท้อนอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจของรัฐ โดยกำหนดให้รัฐต้องสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมและเป็นธรรมโดยกลไกตลาดซึ่งสะท้อนนัยของอุดมการณ์เศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ทว่า ภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้มีการเปลี่ยนอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจของรัฐใหม่ โดยเปลี่ยนมาให้ความสำคัญกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปัญหาตามมาคือหลักการเศรษฐกิจพอเพียงนั้นขาดความชัดเจนในเชิงความหมายและรายละเอียด รวมถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้นไม่อาจระบุได้ว่า รัฐควรจะมีการดำเนินการทางเศรษฐกิจไปในทิศทางใด สภาพดังกล่าวทำให้การดำเนินนโยบายของรัฐในทางเศรษฐกิจขาดทิศทางที่ชัดเจนว่ารัฐจะดำเนินนโยบายไปในทิศทางใด
บทความนี้มุ่งศึกษาบทบัญญัติเกี่ยวกับอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันในมุมมองทางกฎหมายและเศรษฐศาสตร์สถาบัน เพื่ออธิบายปัญหาความไม่ชัดเจนดังกล่าวของรัฐธรรมนูญจะส่งผลต่อการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจอย่างไร
May 1, 2023
Tagged นโยบายเศรษฐกิจ รัฐธรรมนูญ การแข่งขันทางการค้า นโยบายเศรษฐกิจของรัฐ นโยบายเศรษฐกิจในรัฐธรรมนูญ ระบบเศรษฐกิจเสรีและเป็นธรรม เศรษฐกิจพอเพียง
แม่คือใครในชุดความรู้ของนักนิติศาสตร์ไทย: ศึกษากรณีกฎหมายอาญาว่าด้วยการทำแท้ง
Publication • Conference and Proceedings
สถานะของการเป็นแม่ไม่เพียงแต่เกิดจากการประกอบสร้างทางวัฒนธรรมของสังคมเท่านนั้น แต่มีการรับรองสถานะดังกล่าวไว้ในกฎหมายให้ผู้หญิงที่ให้กําเนิดเด็กต้องรับบทบาทของการเป็นแม่ ผลของการที่กฎหมายกําหนดสถานะความเป็นแม่ให้กับผู้หญิงทําให้ผู้หญิงกับเด็กมีภาระพิเศษที่เกิดจากความผูกพันของกฎหมาย ซึ่งอาจจะนํามาสู่ความไม่เสมอภาคในบทบาทหญิงชายภายใต้กฎหมายอาญาไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างภาพแทนของผ้หูญิงในมมุมองของศาลในระบบกฎหมายไทย โดยบทความนี้ตั้งสมมติฐานว่า ในมุมมองของกฎหมายและนักกฎหมายมีภาพแสดงของแม่อย่างไร งานศึกษานี้จะใช้วิธีการศึกษาแบบวงศาวิทยา (genealogy) สืบสาวลักษณะคดีที่เกี่ยวข้องกับการกระทําความผิดของแม่เกี่ยวกับการทําแท้งและการฆ่าทารกตามกฎหมายลักษณะอาญาและประมวลกฎหมายอาญาโดยนําเสนอข้อสรุปเกี่ยวกับแนวคิดของศาลต่อสถานะของความเป็นแม่ในระบบกฎหมายไทย
January 1, 2023
Tagged สตรีนิยม กฎหมายลักษณะอาญา กฎหมายอาญา ความรู้นิติศาสตร์ แม่
การศึกษาความแตกต่างด้านสภาพบังคับของวินัยทางการคลังและวินัยทางงบประมาณและการคลัง
Publication • Conference and Proceedings
วินัยทางการคลังและวินัยทางงบประมาณและการคลังเป็นมโนทัศน์ในทางการคลังว่าด้วยการควบคุมการดำเนินการทางการคลังของรัฐ แม้โดยถ้อยคำแล้วมโนทัศน์ทั้งสองเหมือนจะเป็นเรื่องเดียวกัน ทว่า เมื่อพิจารณาลงไปในรายละเอียดจะพบว่า มโนทัศน์ทั้งสองมีความแตกต่างกันในเชิงความหมาย วัตถุประสงค์ ขอบเขตการบังคับใช้ และสภาพบังคับทางกฎหมาย ซึ่งทำให้เป้าหมายในการนำมโนทัศน์ทั้งมาใช้แตกต่างกันโดยประเทศไทยได้รับเอามโนทัศน์ทั้งสองเรื่องมาบัญญัติไว้เป็นกฎเกณฑ์ของกฎหมายการคลัง ทว่า ภายใต้มาตรา 62 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้กำหนดให้รัฐต้องรักษาวินัยทางการคลังตามกฎหมายวินัยการเงินการคลังของรัฐคือ พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีอำนาจสั่งลงโทษทางปกครองเมื่อมีการฝ่าฝืนวินัยการเงินการคลังของรัฐ โดยสภาพบังคับดังกล่าวนั้นปรากฏในบทบัญญัติมาตรา 240 วรรคหนึ่ง (5) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และมาตรา 80 ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ผลของการบัญญัติหลักการดังกล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เป็นการนำมโนทัศน์ทั้งสองเรื่องที่แตกต่างกันมากำหนดไว้ในกฎหมายฉบับเดียวกัน ทำให้เกิดปัญหาว่า การกำหนดสภาพบังคับในลักษณะดังกล่าวนั้นอาจจะไม่เหมาะสมและสอดคล้องกับมโนทัศน์ทั้งสองเรื่อง และนำมาซึ่งปัญหาในการบังคับใช้มโนทัศน์ทั้งสองเรื่อง
บทความนี้เป็นการสรุปเนื้อหามาจากวิทยานิพนธ์ชื่อว่า “สภาพบังคับของกฎหมายวินัยทางการคลังของประเทศไทย” โดยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร ตำรา หนังสือ วิทยานิพนธ์ และบทความทางวิชาการต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจมโนทัศน์ของวินัยทางการคลังเปรียบเทียบมโนทัศน์ของวินัยทางงบประมาณและการคลัง เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์สภาพปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ซึ่งเป็นกฎหมายวินัยทางการคลังของประเทศไทย รวมถึงบทบัญญัติของกฎหมายวินัยทางการคลังของต่างประเทศเพื่อเป็นแนวทางการศึกษาประเด็นเรื่องสภาพบังคับของกฎหมายวินัยทางการคลังที่เหมาะสมDecember 29, 2022
Tagged วินัยทางการคลัง กฎหมายวินัยทางการคลัง กรอบวินัยทางการคลัง พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 วินัยการเงินการคลังของรัฐ วินัยทางงบประมาณและการคลัง