ชื่อบทความ: การปรับเปลี่ยนนโยบายทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย
เผยแพร่ใน: วารสารกฎหมาย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่ 40 ฉบับที่ 2 (2565)
บทคัดย่อ
ในปัจจุบันธุรกิจการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถูกจำกัดไว้กับผู้ประกอบกิจการรายใหญ่ สภาพดังกล่าวเกิดจากกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมารัฐให้ความสำคัญกับการควบคุมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยมีปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ ในฐานะแหล่งรายได้ทางภาษี และในฐานะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยเหตุผลที่สองนั้นเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้รัฐเข้ามาควบคุมในเรื่องคุณภาพการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างไรก็ตาม วิธีการควบคุมเดิมที่รัฐใช้เพื่อควบคุมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กลับกลายมาเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้อุตสาหกรรมดังกล่าวจำกัดอยู่เฉพาะผู้ผลิตรายใหญ่เพียงไม่กี่ราย ในขณะที่ผู้ประกอบกิจการรายย่อยไม่สามารถเข้าสู่ตลาดการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเมื่อเปรียบเทียบนโยบายทางกฎหมายของประเทศไทยกับประเทศในภูมิภาคอาเซียนอย่างเช่นสิงคโปร์และเวียดนามแล้วจะเห็นได้ว่านโยบายทางกฎหมายของต่างประเทศนั้นมีการผ่อนคลายและให้ความสำคัญกับการควบคุมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเชิงของการควบคุมคุณภาพการผลิตมากกว่าการขอใบอนุญาต ปัญหาดังกล่าวจึงนำมาสู่การเสนอให้มีการทบทวนนโยบายเกี่ยวกับการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยเสียใหม่ โดยอาจกำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้ได้รับใบอนุญาตให้มีความเหมาะสมและไม่สร้างอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดของผู้ประกอบธุรกิจรายใหม่ ซึ่งรวมถึงผู้ประกอบธุรกิจจากต่างประเทศ
บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง
การปรับเปลี่ยนนโยบายทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย
ชื่อบทความ: การปรับเปลี่ยนนโยบายทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย
เผยแพร่ใน: วารสารกฎหมาย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่ 40 ฉบับที่ 2 (2565)
บทคัดย่อ
ในปัจจุบันธุรกิจการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถูกจำกัดไว้กับผู้ประกอบกิจการรายใหญ่ สภาพดังกล่าวเกิดจากกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมารัฐให้ความสำคัญกับการควบคุมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยมีปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ ในฐานะแหล่งรายได้ทางภาษี และในฐานะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยเหตุผลที่สองนั้นเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้รัฐเข้ามาควบคุมในเรื่องคุณภาพการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างไรก็ตาม วิธีการควบคุมเดิมที่รัฐใช้เพื่อควบคุมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กลับกลายมาเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้อุตสาหกรรมดังกล่าวจำกัดอยู่เฉพาะผู้ผลิตรายใหญ่เพียงไม่กี่ราย ในขณะที่ผู้ประกอบกิจการรายย่อยไม่สามารถเข้าสู่ตลาดการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเมื่อเปรียบเทียบนโยบายทางกฎหมายของประเทศไทยกับประเทศในภูมิภาคอาเซียนอย่างเช่นสิงคโปร์และเวียดนามแล้วจะเห็นได้ว่านโยบายทางกฎหมายของต่างประเทศนั้นมีการผ่อนคลายและให้ความสำคัญกับการควบคุมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเชิงของการควบคุมคุณภาพการผลิตมากกว่าการขอใบอนุญาต ปัญหาดังกล่าวจึงนำมาสู่การเสนอให้มีการทบทวนนโยบายเกี่ยวกับการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยเสียใหม่ โดยอาจกำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้ได้รับใบอนุญาตให้มีความเหมาะสมและไม่สร้างอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดของผู้ประกอบธุรกิจรายใหม่ ซึ่งรวมถึงผู้ประกอบธุรกิจจากต่างประเทศ
บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง