กฎหมายเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐในการบริหารประเทศให้เป็นไปโดยสงบเรียบร้อยของคนในสังคม โดยในบางกรณีกฎหมายจำเป็นต้องเข้าไปจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน แม้การจำกัดสิทธิและเสรีภาพจะไม่ถึงขั้นทำลายหรือห้ามไม่ให้ใช้สิทธิและเสรีภาพดังกล่าวโดยเด็ดขาด แต่ก็อาจทำให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้สิทธิและเสรีภาพ เนื่องมาจากแนวโน้มที่จะจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมากกว่าที่จำเป็นและใช้มาตรการครอบคลุมเกินกว่ากรณีอันเนื่องมาจากการออกแบบกฎหมายให้มีระดับการควบคุมที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทำได้ยาก สภาพดังกล่าวทำให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งกำหนดให้รัฐจะดำเนินการตรากฎหมายและกำหนดนโยบายในการบริการราชการแผ่นดินจะต้องมีกฎหมายเพียงเท่าที่จำเป็น และต้องยกเลิกปรับปรุงกฎหมายที่หมดความจำเป็น ไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ หรือที่เป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตหรือการประกอบอาชีพเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชน และกำหนดแนวทางให้หน่วยงานของรัฐต้องคำนึงถึงภาระของประชาชนผู้ปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนั้น ซึ่งจุดมุ่งหมายของบทบัญญัติดังกล่าวคือ การส่งเสริมให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพของตนอย่างเต็มที่โดยมีภาระของกฎหมายเท่าที่จำเป็น
ในบทความนี้ ผู้เขียนตั้งใจอธิบายให้เห็นถึงแนวคิดสำคัญเบื้องหลังการลดภาระของประชาชนจากการปฏิบัติตามกฎหมายกับลักษณะของกฎหมายที่เป็นการสร้างภาระให้กับประชาชนก่อนจะนำไปสู่การทำความเข้าใจเรื่องการประเมินภาระของประชาชนจากการปฏิบัติตามกฎหมาย และท้ายที่สุดคือ แนวทางการลดภาระของประชาชนจากการปฏิบัติตามกฎหมาย
ป้ายกำกับ: กฎหมายกับสังคม
แนวคิดเกี่ยวกับการลดภาระทางกฎหมายของประชาชนจากการปฏิบัติตามกฎหมาย
กฎหมายเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐในการบริหารประเทศให้เป็นไปโดยสงบเรียบร้อยของคนในสังคม โดยในบางกรณีกฎหมายจำเป็นต้องเข้าไปจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน แม้การจำกัดสิทธิและเสรีภาพจะไม่ถึงขั้นทำลายหรือห้ามไม่ให้ใช้สิทธิและเสรีภาพดังกล่าวโดยเด็ดขาด แต่ก็อาจทำให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้สิทธิและเสรีภาพ เนื่องมาจากแนวโน้มที่จะจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมากกว่าที่จำเป็นและใช้มาตรการครอบคลุมเกินกว่ากรณีอันเนื่องมาจากการออกแบบกฎหมายให้มีระดับการควบคุมที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทำได้ยาก สภาพดังกล่าวทำให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งกำหนดให้รัฐจะดำเนินการตรากฎหมายและกำหนดนโยบายในการบริการราชการแผ่นดินจะต้องมีกฎหมายเพียงเท่าที่จำเป็น และต้องยกเลิกปรับปรุงกฎหมายที่หมดความจำเป็น ไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ หรือที่เป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตหรือการประกอบอาชีพเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชน และกำหนดแนวทางให้หน่วยงานของรัฐต้องคำนึงถึงภาระของประชาชนผู้ปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนั้น ซึ่งจุดมุ่งหมายของบทบัญญัติดังกล่าวคือ การส่งเสริมให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพของตนอย่างเต็มที่โดยมีภาระของกฎหมายเท่าที่จำเป็น
ในบทความนี้ ผู้เขียนตั้งใจอธิบายให้เห็นถึงแนวคิดสำคัญเบื้องหลังการลดภาระของประชาชนจากการปฏิบัติตามกฎหมายกับลักษณะของกฎหมายที่เป็นการสร้างภาระให้กับประชาชนก่อนจะนำไปสู่การทำความเข้าใจเรื่องการประเมินภาระของประชาชนจากการปฏิบัติตามกฎหมาย และท้ายที่สุดคือ แนวทางการลดภาระของประชาชนจากการปฏิบัติตามกฎหมาย