ป้ายกำกับ: กฎหมาย

วิทยานิพนธ์ เรื่อง สภาพบังคับของกฎหมายวินัยทางการคลังของไทย

ในทางเศรษฐศาสตร์และทางการเมืองจะอธิบายว่า “วินัยทางการคลัง” (fiscal discipline) คือ พฤติกรรมของรัฐบาลที่มีการดำเนินนโยบายทางการคลังโดยรักษาดุลยภาพระหว่างรายได้และรายจ่าย และไม่ก่อหนี้สาธารณะโดยไม่จำเป็นเกินความสามารถ นัยดังกล่าวสะท้อนภาพของวินัยทางการคลังในอดีต  อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันขอบเขตของวินัยทางการคลังได้ขยายออกไปสู่การพิจารณาภาพของการใช้จ่ายงบประมาณระยะยาว และการใช้กลไกต่าง ๆ เพื่อรักษาเสถียรภาพและความยั่งยืนทางการคลังตามวัฏจักรเศรษฐกิจ  ดังนั้น “วินัยทางการคลัง” ในปัจจุบันเป็นหลักการกำหนดแนวทางการบริหารการคลัง เพื่อรักษาดุลยภาพระหว่างรายได้และรายจ่ายของรัฐบาล และควบคุมการก่อหนี้สาธารณะให้อยู่ในระดับเหมาะสมกับขีดความสามารถของรัฐบาล โดยไม่ก่อให้เกิดภาระทางการคลังในอนาคต รวมถึงการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมายการคลังต่าง ๆ โดยการกำหนดกรอบวินัยทางการคลังสามารถทำได้ในหลายลักษณะ ซึ่งวิธีการหนึ่งก็คือ การใช้กฎหมายวินัยทางการคลัง (fiscal discipline law) หรือกฎหมายว่าด้วยความรับผิดชอบทางการคลัง (fiscal responsibility law) ซึ่งเป็นกลไกในเชิงสถาบันที่กำหนดกรอบกฎหมายเกี่ยวกับข้อบังคับ กระบวนการ หรือข้อตกลงระหว่างสถาบันที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางการคลังและงบประมาณ เพื่อยกระดับผลการดำเนินนโยบายทางการคลัง ความโปร่งใสทางการคลัง และความรับผิดชอบทางการคลังตามกลไกที่กฎหมายกำหนดไว้

นักวิจัยด้านกฎหมายคืออะไร

เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมามีโอกาสได้ให้สัมภาษณ์กับ เพจ สวัสดีนี่อาจารย์ “แป้ง” เอง-It’s me “Pang” ซึ่งเป็นเพจที่ให้ข้อมูลและแนะนำเกี่ยวกับการศึกษานิติศาสตร์ โดยในบทสัมภาษณ์นี้เจ้า อ.แป้ง เจ้าของเพจอยากให้ช่วยแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับการทำงานในอาชีพนักวิจัย เนื่องจากเป็นอาชีพที่นักกฎหมายส่วนใหญ่อาจจะยังไม่ค่อยรู้จัก และไม่แน่ใจว่าอาชีพนี้เป็นอย่างไร แตกต่างกับการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยอย่างไร และเส้นทางของอาชีพนี้เป็นอย่างไร

สิทธิในกฎหมาย PDPA

มายฉบับนี้ว่า กฎหมายนี้คืออะไร ใช้อย่างไร และมีประโยชน์หรือไม่ จนหลายคนอาจจะเข้าใจว่า PDPA คือ“ กฎหมายการห้ามถ่ายรูปและห้ามนำรูปไปโพสต์ในโซเชียลมีเดียโดยไม่ยินยอม” รู้เท่ารู้ทันชวนมาเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย PDPA และการเรียนรู้สิทธิในการใช้ กฏหมายฉบับนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การบรรยายวิชา น.160 การเขียนในเชิงกฎหมาย 1

เอกสารประกอบการบรรยายวิชา น.160 การเขียนในเชิงกฎหมาย 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โดยการบรรยายวิชานี้จะเป็นการให้องค์ความรู้เกี่ยวกับการเขียนในเชิงกฎหมายที่เน้นไปในเรื่องการให้เหตุผลทางกฎหมาย การเขียนเรียงความ และการตอบข้อสอบบรรยาย

PDPA กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: ทำความเข้าใจบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

การบรรยาย PDPA กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในครั้งนี้เป็นการบรรยายภายใต้โครงการอบรมแนวทางการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งจัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง Privacy Thailand และ depa (สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล) โดยการบรรยายครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างสิงหาคม – กันยายน 2565

ยกเว้น กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กับผลที่อาจตามมา

ฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีความสำคัญทั้งในด้านของการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และในด้านของการกำกับดูแลการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งปัจจุบันมีความสำคัญทั้งกับภาคธุรกิจและการดำเนินภารกิจของหน่วยงานของรัฐ แต่เมื่อไม่นานมานี้หลังจาก พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ใช้บังคับมาได้เพียง 1 เดือน คณะรัฐมนตรีได้มีมติและเห็นชอบหลักการของพระราชกฤษฎีกายกเว้นการบังคับใช้ พ.ร.บ. ให้กับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีความน่ากังวลในเรื่องของผลที่ตามมาจากการยกเว้น

กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเบื้องต้น: กรณีศึกษาส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

สไลด์นี้เป็นเอกสารประกอบการบรรยายกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเบื้องต้น: กรณีศึกษาส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเป็นส่วนหนึ่งของการบรรยายวิชา CL 107 201 การแปรเปลี่ยนทางกฎหมายเพื่อกิจการสาธารณะในยุคดิจิทัล ณ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น

กฎหมายห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา: ความเป็นธรรม และผลกระทบของกฎหมาย

เมื่อคณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วออกกฎหมายห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราเพื่อคุ้มครองประชาชน ปัจจุบันกฎหมายฉบับนี้ยังเหมาะสมหรือไม่