ป้ายกำกับ: การลดผลกระทบของกฎหมาย

การปรับเปลี่ยนนโยบายทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย

ในปัจจุบันธุรกิจการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถูกจำกัดไว้กับผู้ประกอบกิจการรายใหญ่ สภาพดังกล่าวเกิดจากกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมารัฐให้ความสำคัญกับการควบคุมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยมีปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ ในฐานะแหล่งรายได้ทางภาษี และในฐานะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยเหตุผลที่สองนั้นเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้รัฐเข้ามาควบคุมในเรื่องคุณภาพการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  อย่างไรก็ตาม วิธีการควบคุมเดิมที่รัฐใช้เพื่อควบคุมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กลับกลายมาเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้อุตสาหกรรมดังกล่าวจำกัดอยู่เฉพาะผู้ผลิตรายใหญ่เพียงไม่กี่ราย ในขณะที่ผู้ประกอบกิจการรายย่อยไม่สามารถเข้าสู่ตลาดการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเมื่อเปรียบเทียบนโยบายทางกฎหมายของประเทศไทยกับประเทศในภูมิภาคอาเซียนอย่างเช่นสิงคโปร์และเวียดนามแล้วจะเห็นได้ว่านโยบายทางกฎหมายของต่างประเทศนั้นมีการผ่อนคลายและให้ความสำคัญกับการควบคุมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเชิงของการควบคุมคุณภาพการผลิตมากกว่าการขอใบอนุญาต ปัญหาดังกล่าวจึงนำมาสู่การเสนอให้มีการทบทวนนโยบายเกี่ยวกับการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยเสียใหม่ โดยอาจกำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้ได้รับใบอนุญาตให้มีความเหมาะสมและไม่สร้างอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดของผู้ประกอบธุรกิจรายใหม่ ซึ่งรวมถึงผู้ประกอบธุรกิจจากต่างประเทศ

ถอดบทเรียน: Russell Crowe กับ อุตสาหกรรม Soft Power และพื้นที่ถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทย

แม้รัฐบาลจะมีนโยบายสนับสนุนนอุตสาหกรรม Soft Power แต่ประเทศไทยจะหาประโยชน์จากการเป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ได้อย่างไร ในเมื่อกฎระเบียบยังเป็นอุปสรรค

เมื่อบริษัทจำกัดอยากออกหุ้นกู้

ในปัจจุบันกฎหมายบริษัทจำกัดของประเทศไทยยังไม่เปิดให้บริษัทจำกัดสามารถเสนอขายหุ้นกู้เป็นการทั่วไปแก่ประชาชนได้ ลักษณะดังกล่าวนี้ขัดขวางการประกอบธุรกิจของเอกชนในปัจจุบัน

แนวคิดเกี่ยวกับการลดภาระทางกฎหมายของประชาชนจากการปฏิบัติตามกฎหมาย

กฎหมายเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐในการบริหารประเทศให้เป็นไปโดยสงบเรียบร้อยของคนในสังคม โดยในบางกรณีกฎหมายจำเป็นต้องเข้าไปจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน แม้การจำกัดสิทธิและเสรีภาพจะไม่ถึงขั้นทำลายหรือห้ามไม่ให้ใช้สิทธิและเสรีภาพดังกล่าวโดยเด็ดขาด แต่ก็อาจทำให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้สิทธิและเสรีภาพ เนื่องมาจากแนวโน้มที่จะจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมากกว่าที่จำเป็นและใช้มาตรการครอบคลุมเกินกว่ากรณีอันเนื่องมาจากการออกแบบกฎหมายให้มีระดับการควบคุมที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทำได้ยาก สภาพดังกล่าวทำให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งกำหนดให้รัฐจะดำเนินการตรากฎหมายและกำหนดนโยบายในการบริการราชการแผ่นดินจะต้องมีกฎหมายเพียงเท่าที่จำเป็น และต้องยกเลิกปรับปรุงกฎหมายที่หมดความจำเป็น ไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ หรือที่เป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตหรือการประกอบอาชีพเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชน และกำหนดแนวทางให้หน่วยงานของรัฐต้องคำนึงถึงภาระของประชาชนผู้ปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนั้น ซึ่งจุดมุ่งหมายของบทบัญญัติดังกล่าวคือ การส่งเสริมให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพของตนอย่างเต็มที่โดยมีภาระของกฎหมายเท่าที่จำเป็น

ในบทความนี้ ผู้เขียนตั้งใจอธิบายให้เห็นถึงแนวคิดสำคัญเบื้องหลังการลดภาระของประชาชนจากการปฏิบัติตามกฎหมายกับลักษณะของกฎหมายที่เป็นการสร้างภาระให้กับประชาชนก่อนจะนำไปสู่การทำความเข้าใจเรื่องการประเมินภาระของประชาชนจากการปฏิบัติตามกฎหมาย และท้ายที่สุดคือ แนวทางการลดภาระของประชาชนจากการปฏิบัติตามกฎหมาย