ในปัจจุบันธุรกิจการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถูกจำกัดไว้กับผู้ประกอบกิจการรายใหญ่ สภาพดังกล่าวเกิดจากกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมารัฐให้ความสำคัญกับการควบคุมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยมีปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ ในฐานะแหล่งรายได้ทางภาษี และในฐานะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยเหตุผลที่สองนั้นเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้รัฐเข้ามาควบคุมในเรื่องคุณภาพการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างไรก็ตาม วิธีการควบคุมเดิมที่รัฐใช้เพื่อควบคุมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กลับกลายมาเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้อุตสาหกรรมดังกล่าวจำกัดอยู่เฉพาะผู้ผลิตรายใหญ่เพียงไม่กี่ราย ในขณะที่ผู้ประกอบกิจการรายย่อยไม่สามารถเข้าสู่ตลาดการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเมื่อเปรียบเทียบนโยบายทางกฎหมายของประเทศไทยกับประเทศในภูมิภาคอาเซียนอย่างเช่นสิงคโปร์และเวียดนามแล้วจะเห็นได้ว่านโยบายทางกฎหมายของต่างประเทศนั้นมีการผ่อนคลายและให้ความสำคัญกับการควบคุมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเชิงของการควบคุมคุณภาพการผลิตมากกว่าการขอใบอนุญาต ปัญหาดังกล่าวจึงนำมาสู่การเสนอให้มีการทบทวนนโยบายเกี่ยวกับการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยเสียใหม่ โดยอาจกำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้ได้รับใบอนุญาตให้มีความเหมาะสมและไม่สร้างอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดของผู้ประกอบธุรกิจรายใหม่ ซึ่งรวมถึงผู้ประกอบธุรกิจจากต่างประเทศ
ป้ายกำกับ: มาตรา 77
การปรับเปลี่ยนนโยบายทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย
ในปัจจุบันธุรกิจการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถูกจำกัดไว้กับผู้ประกอบกิจการรายใหญ่ สภาพดังกล่าวเกิดจากกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมารัฐให้ความสำคัญกับการควบคุมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยมีปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ ในฐานะแหล่งรายได้ทางภาษี และในฐานะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยเหตุผลที่สองนั้นเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้รัฐเข้ามาควบคุมในเรื่องคุณภาพการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างไรก็ตาม วิธีการควบคุมเดิมที่รัฐใช้เพื่อควบคุมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กลับกลายมาเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้อุตสาหกรรมดังกล่าวจำกัดอยู่เฉพาะผู้ผลิตรายใหญ่เพียงไม่กี่ราย ในขณะที่ผู้ประกอบกิจการรายย่อยไม่สามารถเข้าสู่ตลาดการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเมื่อเปรียบเทียบนโยบายทางกฎหมายของประเทศไทยกับประเทศในภูมิภาคอาเซียนอย่างเช่นสิงคโปร์และเวียดนามแล้วจะเห็นได้ว่านโยบายทางกฎหมายของต่างประเทศนั้นมีการผ่อนคลายและให้ความสำคัญกับการควบคุมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเชิงของการควบคุมคุณภาพการผลิตมากกว่าการขอใบอนุญาต ปัญหาดังกล่าวจึงนำมาสู่การเสนอให้มีการทบทวนนโยบายเกี่ยวกับการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยเสียใหม่ โดยอาจกำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้ได้รับใบอนุญาตให้มีความเหมาะสมและไม่สร้างอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดของผู้ประกอบธุรกิจรายใหม่ ซึ่งรวมถึงผู้ประกอบธุรกิจจากต่างประเทศ
โรงแรมเล็กล้มหายเพราะกฎหมายอ้างอิงโรงแรมใหญ่
เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2565 ที่. – Read more –
ยกเครื่องกฎหมาย ต่อลมหายใจโรงแรมเล็ก
โควิด-19 ไม่ใช่สาเหตุหลักสาเหตุเดียวที่ทำให้ผู้ประกอบการโรงแรมขนาดเล็กเผชิญความลำบาก แต่การบังคับใช้กฎหมายและใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมภายใต้กฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับสภาพการประกอบธุรกิจในปัจจุบัน และการบังคับใช้อยู่ตั้งอยู่บนมาตรฐานของโรงแรมขนาดใหญ่ ไม่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจของ โรงแรมขนาดเล็ก สร้างภาระปัญหาให้กับทั้งผู้ประกอบการเดิมและรายใหม่ในอนาคต
เสวนาชุดคำสั่งมีปัญหาประชาชนจะดีบักอย่างไร
บทความนี้เป็นการสรุปจากงานเสวนาชุดคำสั่งมีปัญหาประชาชนจะดีบักอย่างไร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในงานสัมมนาสาธารณะทีดีอาร์ไอ ประจำปี 2563 เรื่อง “แฮกระบบราชการ เปลี่ยนระบบปฏิบัติการประเทศ” เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2563 ในรูปแบบ Virtual Conference งานเสวนาครั้งนี้เป็นการแลกเปลี่ยนมุมมองระหว่างผู้รู้ทางกฎหมาย 3 ท่าน คือ คุณปกรณ์ นิลประพันธ์ รศ.สมชาย ปรีชาศิลปากุล และคุณยิ่งชีพ อัชฌานันท์ มาร่วมกันแลกเปลี่ยนพูดคุยเก่ียวกับปัญหาของระบบกฎหมายไทย
การร่างกฎหมายอย่างเป็นหลักวิชาการยังห่างไกล
การร่างกฎหมายไทยยังห่างไกลการเป็นหลักวิชาอีกมาก เพราะยังขาดองค์ความรู้และข้อมูล
พูดออกอากาศครั้งแรก
วันนี้ได้มีโอกาสไปออกรายการ BizValues Live บน Facebook Live ครั้งแรก โดยเข้าไปเล่าประสบการณ์ในการทำงานวิจัยในโครงการทบทวนการอนุญาตของทางราชการ โดยได้เข้าไปร่วมแชร์ประสบการณ์กับทางรายการ
โครงการศึกษาวิเคราะห์ทบทวนกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับและกระบวนงานที่เกี่ยวกับการอนุญาต เพื่อลดขั้นตอนการดำเนินการและการอนุญาตที่ไม่จำเป็นหรือเป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพและการดำเนินธุรกิจของประชาชน
การศึกษาวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาแนวทางในการปรับปรุงหรือยกเลิกกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพและการดำเนินธุรกิจของประชาชน อันเป็นการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย เป้าหมายหรือผลอันพึงประสงค์ที่ 2