ป้ายกำกับ: Fiscal Discipline Law

วิทยานิพนธ์ เรื่อง สภาพบังคับของกฎหมายวินัยทางการคลังของไทย

ในทางเศรษฐศาสตร์และทางการเมืองจะอธิบายว่า “วินัยทางการคลัง” (fiscal discipline) คือ พฤติกรรมของรัฐบาลที่มีการดำเนินนโยบายทางการคลังโดยรักษาดุลยภาพระหว่างรายได้และรายจ่าย และไม่ก่อหนี้สาธารณะโดยไม่จำเป็นเกินความสามารถ นัยดังกล่าวสะท้อนภาพของวินัยทางการคลังในอดีต  อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันขอบเขตของวินัยทางการคลังได้ขยายออกไปสู่การพิจารณาภาพของการใช้จ่ายงบประมาณระยะยาว และการใช้กลไกต่าง ๆ เพื่อรักษาเสถียรภาพและความยั่งยืนทางการคลังตามวัฏจักรเศรษฐกิจ  ดังนั้น “วินัยทางการคลัง” ในปัจจุบันเป็นหลักการกำหนดแนวทางการบริหารการคลัง เพื่อรักษาดุลยภาพระหว่างรายได้และรายจ่ายของรัฐบาล และควบคุมการก่อหนี้สาธารณะให้อยู่ในระดับเหมาะสมกับขีดความสามารถของรัฐบาล โดยไม่ก่อให้เกิดภาระทางการคลังในอนาคต รวมถึงการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมายการคลังต่าง ๆ โดยการกำหนดกรอบวินัยทางการคลังสามารถทำได้ในหลายลักษณะ ซึ่งวิธีการหนึ่งก็คือ การใช้กฎหมายวินัยทางการคลัง (fiscal discipline law) หรือกฎหมายว่าด้วยความรับผิดชอบทางการคลัง (fiscal responsibility law) ซึ่งเป็นกลไกในเชิงสถาบันที่กำหนดกรอบกฎหมายเกี่ยวกับข้อบังคับ กระบวนการ หรือข้อตกลงระหว่างสถาบันที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางการคลังและงบประมาณ เพื่อยกระดับผลการดำเนินนโยบายทางการคลัง ความโปร่งใสทางการคลัง และความรับผิดชอบทางการคลังตามกลไกที่กฎหมายกำหนดไว้

Fixing fiscal laws to have fair elections

As election campaigns are heating up, political parties are fiercely competing to win votes by offering generous cash handouts, raising concerns about their impacts on the country’s fiscal discipline for the incoming administration. It is a legitimate concern. Yet the focus on the post-election financial burden should not overshadow the outgoing administration’s last-minute budget spending for political gains, which also endangers fiscal discipline.