สถานะของการเป็นแม่ไม่เพียงแต่เกิดจากการประกอบสร้างทางวัฒนธรรมของสังคมเท่านนั้น แต่มีการรับรองสถานะดังกล่าวไว้ในกฎหมายให้ผู้หญิงที่ให้กําเนิดเด็กต้องรับบทบาทของการเป็นแม่ ผลของการที่กฎหมายกําหนดสถานะความเป็นแม่ให้กับผู้หญิงทําให้ผู้หญิงกับเด็กมีภาระพิเศษที่เกิดจากความผูกพันของกฎหมาย ซึ่งอาจจะนํามาสู่ความไม่เสมอภาคในบทบาทหญิงชายภายใต้กฎหมายอาญาไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างภาพแทนของผ้หูญิงในมมุมองของศาลในระบบกฎหมายไทย โดยบทความนี้ตั้งสมมติฐานว่า ในมุมมองของกฎหมายและนักกฎหมายมีภาพแสดงของแม่อย่างไร งานศึกษานี้จะใช้วิธีการศึกษาแบบวงศาวิทยา (genealogy) สืบสาวลักษณะคดีที่เกี่ยวข้องกับการกระทําความผิดของแม่เกี่ยวกับการทําแท้งและการฆ่าทารกตามกฎหมายลักษณะอาญาและประมวลกฎหมายอาญาโดยนําเสนอข้อสรุปเกี่ยวกับแนวคิดของศาลต่อสถานะของความเป็นแม่ในระบบกฎหมายไทย
หมวดหมู่: Conference and Proceedings
ความอีหลักอีเหลื่อของระบบเศรษฐกิจภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญไทย
ชื่อบทความ: ความอีหลักอีเหลื่อ. – Read more –
แม่คือใครในชุดความรู้ของนักนิติศาสตร์ไทย: ศึกษากรณีกฎหมายอาญาว่าด้วยการทำแท้ง
สถานะของการเป็นแม่ไม่เพียงแต่เกิดจากการประกอบสร้างทางวัฒนธรรมของสังคมเท่านนั้น แต่มีการรับรองสถานะดังกล่าวไว้ในกฎหมายให้ผู้หญิงที่ให้กําเนิดเด็กต้องรับบทบาทของการเป็นแม่ ผลของการที่กฎหมายกําหนดสถานะความเป็นแม่ให้กับผู้หญิงทําให้ผู้หญิงกับเด็กมีภาระพิเศษที่เกิดจากความผูกพันของกฎหมาย ซึ่งอาจจะนํามาสู่ความไม่เสมอภาคในบทบาทหญิงชายภายใต้กฎหมายอาญาไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างภาพแทนของผ้หูญิงในมมุมองของศาลในระบบกฎหมายไทย โดยบทความนี้ตั้งสมมติฐานว่า ในมุมมองของกฎหมายและนักกฎหมายมีภาพแสดงของแม่อย่างไร งานศึกษานี้จะใช้วิธีการศึกษาแบบวงศาวิทยา (genealogy) สืบสาวลักษณะคดีที่เกี่ยวข้องกับการกระทําความผิดของแม่เกี่ยวกับการทําแท้งและการฆ่าทารกตามกฎหมายลักษณะอาญาและประมวลกฎหมายอาญาโดยนําเสนอข้อสรุปเกี่ยวกับแนวคิดของศาลต่อสถานะของความเป็นแม่ในระบบกฎหมายไทย
การศึกษาความแตกต่างด้านสภาพบังคับของวินัยทางการคลังและวินัยทางงบประมาณและการคลัง
วินัยทางการคลังและวินัยทางงบประมาณและการคลังเป็นมโนทัศน์ในทางการคลังว่าด้วยการควบคุมการดำเนินการทางการคลังของรัฐ แม้โดยถ้อยคำแล้วมโนทัศน์ทั้งสองเหมือนจะเป็นเรื่องเดียวกัน ทว่า เมื่อพิจารณาลงไปในรายละเอียดจะพบว่า มโนทัศน์ทั้งสองมีความแตกต่างกันในเชิงความหมาย วัตถุประสงค์ ขอบเขตการบังคับใช้ และสภาพบังคับทางกฎหมาย ซึ่งทำให้เป้าหมายในการนำมโนทัศน์ทั้งมาใช้แตกต่างกันโดยประเทศไทยได้รับเอามโนทัศน์ทั้งสองเรื่องมาบัญญัติไว้เป็นกฎเกณฑ์ของกฎหมายการคลัง ทว่า ภายใต้มาตรา 62 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้กำหนดให้รัฐต้องรักษาวินัยทางการคลังตามกฎหมายวินัยการเงินการคลังของรัฐคือ พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีอำนาจสั่งลงโทษทางปกครองเมื่อมีการฝ่าฝืนวินัยการเงินการคลังของรัฐ โดยสภาพบังคับดังกล่าวนั้นปรากฏในบทบัญญัติมาตรา 240 วรรคหนึ่ง (5) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และมาตรา 80 ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ผลของการบัญญัติหลักการดังกล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เป็นการนำมโนทัศน์ทั้งสองเรื่องที่แตกต่างกันมากำหนดไว้ในกฎหมายฉบับเดียวกัน ทำให้เกิดปัญหาว่า การกำหนดสภาพบังคับในลักษณะดังกล่าวนั้นอาจจะไม่เหมาะสมและสอดคล้องกับมโนทัศน์ทั้งสองเรื่อง และนำมาซึ่งปัญหาในการบังคับใช้มโนทัศน์ทั้งสองเรื่อง