ในทางเศรษฐศาสตร์และทางการเมืองจะอธิบายว่า “วินัยทางการคลัง” (fiscal discipline) คือ พฤติกรรมของรัฐบาลที่มีการดำเนินนโยบายทางการคลังโดยรักษาดุลยภาพระหว่างรายได้และรายจ่าย และไม่ก่อหนี้สาธารณะโดยไม่จำเป็นเกินความสามารถ นัยดังกล่าวสะท้อนภาพของวินัยทางการคลังในอดีต อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันขอบเขตของวินัยทางการคลังได้ขยายออกไปสู่การพิจารณาภาพของการใช้จ่ายงบประมาณระยะยาว และการใช้กลไกต่าง ๆ เพื่อรักษาเสถียรภาพและความยั่งยืนทางการคลังตามวัฏจักรเศรษฐกิจ ดังนั้น “วินัยทางการคลัง” ในปัจจุบันเป็นหลักการกำหนดแนวทางการบริหารการคลัง เพื่อรักษาดุลยภาพระหว่างรายได้และรายจ่ายของรัฐบาล และควบคุมการก่อหนี้สาธารณะให้อยู่ในระดับเหมาะสมกับขีดความสามารถของรัฐบาล โดยไม่ก่อให้เกิดภาระทางการคลังในอนาคต รวมถึงการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมายการคลังต่าง ๆ โดยการกำหนดกรอบวินัยทางการคลังสามารถทำได้ในหลายลักษณะ ซึ่งวิธีการหนึ่งก็คือ การใช้กฎหมายวินัยทางการคลัง (fiscal discipline law) หรือกฎหมายว่าด้วยความรับผิดชอบทางการคลัง (fiscal responsibility law) ซึ่งเป็นกลไกในเชิงสถาบันที่กำหนดกรอบกฎหมายเกี่ยวกับข้อบังคับ กระบวนการ หรือข้อตกลงระหว่างสถาบันที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางการคลังและงบประมาณ เพื่อยกระดับผลการดำเนินนโยบายทางการคลัง ความโปร่งใสทางการคลัง และความรับผิดชอบทางการคลังตามกลไกที่กฎหมายกำหนดไว้
หมวดหมู่: Publication
วิทยานิพนธ์ เรื่อง สภาพบังคับของกฎหมายวินัยทางการคลังของไทย
ในทางเศรษฐศาสตร์และทางการเมืองจะอธิบายว่า “วินัยทางการคลัง” (fiscal discipline) คือ พฤติกรรมของรัฐบาลที่มีการดำเนินนโยบายทางการคลังโดยรักษาดุลยภาพระหว่างรายได้และรายจ่าย และไม่ก่อหนี้สาธารณะโดยไม่จำเป็นเกินความสามารถ นัยดังกล่าวสะท้อนภาพของวินัยทางการคลังในอดีต อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันขอบเขตของวินัยทางการคลังได้ขยายออกไปสู่การพิจารณาภาพของการใช้จ่ายงบประมาณระยะยาว และการใช้กลไกต่าง ๆ เพื่อรักษาเสถียรภาพและความยั่งยืนทางการคลังตามวัฏจักรเศรษฐกิจ ดังนั้น “วินัยทางการคลัง” ในปัจจุบันเป็นหลักการกำหนดแนวทางการบริหารการคลัง เพื่อรักษาดุลยภาพระหว่างรายได้และรายจ่ายของรัฐบาล และควบคุมการก่อหนี้สาธารณะให้อยู่ในระดับเหมาะสมกับขีดความสามารถของรัฐบาล โดยไม่ก่อให้เกิดภาระทางการคลังในอนาคต รวมถึงการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมายการคลังต่าง ๆ โดยการกำหนดกรอบวินัยทางการคลังสามารถทำได้ในหลายลักษณะ ซึ่งวิธีการหนึ่งก็คือ การใช้กฎหมายวินัยทางการคลัง (fiscal discipline law) หรือกฎหมายว่าด้วยความรับผิดชอบทางการคลัง (fiscal responsibility law) ซึ่งเป็นกลไกในเชิงสถาบันที่กำหนดกรอบกฎหมายเกี่ยวกับข้อบังคับ กระบวนการ หรือข้อตกลงระหว่างสถาบันที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางการคลังและงบประมาณ เพื่อยกระดับผลการดำเนินนโยบายทางการคลัง ความโปร่งใสทางการคลัง และความรับผิดชอบทางการคลังตามกลไกที่กฎหมายกำหนดไว้
ความอีหลักอีเหลื่อของระบบเศรษฐกิจภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญไทย
ชื่อบทความ: ความอีหลักอีเหลื่อ. – Read more –
การบรรยายกฎหมายการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์
เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2566 ได้. – Read more –
การบรรยายความรู้ หัวข้อ ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
เมื่อวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ. – Read more –
สไลด์การนำเสนอบทควาในงานประชุมวิชาการนิติสังคมศาสตร์ระดับชาติ 2566
สไลด์การนำเสนอนี้ใช้ในการนำเสน. – Read more –
กฎกระทรวงใหม่ช่วยปลดล็อก ‘คราฟต์เบียร์’ ได้จริง ๆ หรือไม่
ชื่อบทความ: กฎกระทรวงใหม่. – Read more –
แม่คือใครในชุดความรู้ของนักนิติศาสตร์ไทย: ศึกษากรณีกฎหมายอาญาว่าด้วยการทำแท้ง
สถานะของการเป็นแม่ไม่เพียงแต่เกิดจากการประกอบสร้างทางวัฒนธรรมของสังคมเท่านนั้น แต่มีการรับรองสถานะดังกล่าวไว้ในกฎหมายให้ผู้หญิงที่ให้กําเนิดเด็กต้องรับบทบาทของการเป็นแม่ ผลของการที่กฎหมายกําหนดสถานะความเป็นแม่ให้กับผู้หญิงทําให้ผู้หญิงกับเด็กมีภาระพิเศษที่เกิดจากความผูกพันของกฎหมาย ซึ่งอาจจะนํามาสู่ความไม่เสมอภาคในบทบาทหญิงชายภายใต้กฎหมายอาญาไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างภาพแทนของผ้หูญิงในมมุมองของศาลในระบบกฎหมายไทย โดยบทความนี้ตั้งสมมติฐานว่า ในมุมมองของกฎหมายและนักกฎหมายมีภาพแสดงของแม่อย่างไร งานศึกษานี้จะใช้วิธีการศึกษาแบบวงศาวิทยา (genealogy) สืบสาวลักษณะคดีที่เกี่ยวข้องกับการกระทําความผิดของแม่เกี่ยวกับการทําแท้งและการฆ่าทารกตามกฎหมายลักษณะอาญาและประมวลกฎหมายอาญาโดยนําเสนอข้อสรุปเกี่ยวกับแนวคิดของศาลต่อสถานะของความเป็นแม่ในระบบกฎหมายไทย
การศึกษาความแตกต่างด้านสภาพบังคับของวินัยทางการคลังและวินัยทางงบประมาณและการคลัง
วินัยทางการคลังและวินัยทางงบประมาณและการคลังเป็นมโนทัศน์ในทางการคลังว่าด้วยการควบคุมการดำเนินการทางการคลังของรัฐ แม้โดยถ้อยคำแล้วมโนทัศน์ทั้งสองเหมือนจะเป็นเรื่องเดียวกัน ทว่า เมื่อพิจารณาลงไปในรายละเอียดจะพบว่า มโนทัศน์ทั้งสองมีความแตกต่างกันในเชิงความหมาย วัตถุประสงค์ ขอบเขตการบังคับใช้ และสภาพบังคับทางกฎหมาย ซึ่งทำให้เป้าหมายในการนำมโนทัศน์ทั้งมาใช้แตกต่างกันโดยประเทศไทยได้รับเอามโนทัศน์ทั้งสองเรื่องมาบัญญัติไว้เป็นกฎเกณฑ์ของกฎหมายการคลัง ทว่า ภายใต้มาตรา 62 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้กำหนดให้รัฐต้องรักษาวินัยทางการคลังตามกฎหมายวินัยการเงินการคลังของรัฐคือ พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีอำนาจสั่งลงโทษทางปกครองเมื่อมีการฝ่าฝืนวินัยการเงินการคลังของรัฐ โดยสภาพบังคับดังกล่าวนั้นปรากฏในบทบัญญัติมาตรา 240 วรรคหนึ่ง (5) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และมาตรา 80 ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ผลของการบัญญัติหลักการดังกล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เป็นการนำมโนทัศน์ทั้งสองเรื่องที่แตกต่างกันมากำหนดไว้ในกฎหมายฉบับเดียวกัน ทำให้เกิดปัญหาว่า การกำหนดสภาพบังคับในลักษณะดังกล่าวนั้นอาจจะไม่เหมาะสมและสอดคล้องกับมโนทัศน์ทั้งสองเรื่อง และนำมาซึ่งปัญหาในการบังคับใช้มโนทัศน์ทั้งสองเรื่อง
โครงการจ้างที่ปรึกษาดำเนินงานและพัฒนางานกองทุนยุติธรรม
กระบวนการยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ซึ่งสิทธินี้ได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย งานวิจัยฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษากลไกและแนวทางในการพัฒนาการดำเนินงานของกองทุนยุติธรรมให้ดีขึ้น เพื่อให้ตอบโจทย์ในการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม รวมถึงปรับลดความเหลื่อมล้ำที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเข้าไม่ถึงโอกาสในการได้รับสิทธิในกระบวนการยุติธรรม โดยการศึกษาครั้งนี้ใช้จะศึกษาวิธีการดำเนินงานของกองทุนยุติธรรมไทยในปัจจุบันและประเมินการทำงานทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ รวมถึงสำรวจวิธีการปรับปรุงกองทุนยุติธรรมให้ทันสมัยและเพิ่มประสิทธิภาพในฐานะองค์ประกอบหลักสำหรับระบบยุติธรรม
การบรรยายวิชา น.160 การเขียนในเชิงกฎหมาย 1
เอกสารประกอบการบรรยายวิชา น.160 การเขียนในเชิงกฎหมาย 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โดยการบรรยายวิชานี้จะเป็นการให้องค์ความรู้เกี่ยวกับการเขียนในเชิงกฎหมายที่เน้นไปในเรื่องการให้เหตุผลทางกฎหมาย การเขียนเรียงความ และการตอบข้อสอบบรรยาย